ในปัจจุบันเราปฏิเสธไม่ได้เลยว่าเทคโนโลยีต่าง ๆ ถูกพัฒนาไปอย่างต่อเนื่อง และรวดเร็ว ทำให้เกิดสิ่งต่าง ๆ เกิดขึ้นตามมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งอินเทอร์เน็ต ซึ่งสามารถใช้ประโยชน์ได้อย่างมากมาย ไม่ว่าเป็นหาความรู้ ดูสารคดี สื่อบรรเทิง ไปจนถึงการใช้โซเชียลมีเดียลต่าง ๆ ซึ่งจากที่กล่าวมา จะเห็นได้ว่า คนในปัจจุบันใช้ดวงตาเพื่อเพ่งมองสิ่งต่าง ๆ มากขึ้น จนอาจเกิดปัญหาขึ้นกับดวงตาได้
ซึ่งปัญหาที่เกิดกับดวงตาส่วนใหญ่มีด้วยกันไม่กี่แบบ ได้แก่ สายตาสั้น สายตายาว และสายตาเอียง เป็นต้น ซึ่งการแก้ไขปัญหาเหล่านี้ก็มีได้หลากหลายทางเลือก ไม่ว่าจะเป็นตัดแว่นตา ใส่คอนแทคเลนส์ หรือจะเป็นวิธีการรักษาทางการแพทย์อย่างการทำ prk เป็นต้น
PRK หรือ Photorefractive Keratectomy เป็นวิธีการผ่าตัดที่ใช้สำหรับผู้ที่มีปัญหาด้านการมองเห็น ไม่ว่าจะสายตาสั้น สายตายาว หรือจะเป็นสายตาเอียง ที่ไม่อยากที่จะสวมใส่แว่นตา หรือคอนแทคเลนส์เพื่อให้การมองเห็นนั้น PRK ถือเป็นอีกหนึ่งตัวเลือกที่น่าสนใจ
ในบทความนี้ เราจะพูดถึงข้อมูลต่าง ๆ ของการทำ PRK ไม่ว่าจะเป็นประโยชน์ ข้อจำกัด การเตรียมตัว ขั้นตอนการทำ การดูแลหลังทำจากการรักษา รวมไปถึงคำถามที่มักจะพบเจอบ่อย ๆ สำหรับกลุ่มที่กำลังศึกษาหาข้อมูลเกี่ยวกับ PRK เพื่อพิจารณาว่าวิธีการนี้ เหมาะกับตัวเองหรือไม่ ไปเริ่มกันเลย
PRK คือ
PRK เป็นวิธีการการผ่าตัดแก้ไขสายตาที่มีความผิดปกติ เพื่อใช้ในการแก้ปัญหาในด้านการมองเห็นต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นสายตาสั้น สายตายาว ไปจนถึงสายตาเอียงด้วยเช่นกัน โดยการทำ PRK นั้นจะทำการปรับรูปร่างของกระจกตา ที่เป็นส่วนแรกที่รับแสงของดวงตา ซึ่งจะเป็นตัวปรับโฟกัสของแสง ก่อนที่จะส่งไปยังเรตินา ซึ่งหลังการทำ PRK แล้ว จะสามารถลด หรือเลิกใช้แว่นตา หรือคอนแทคเลนส์ได้เป็นอย่างดี
การทำ PRK เหมาะกับใคร
เนื่องจากการทำ PRK เป็นการรักษาเกี่ยวกับผู้ที่มีปัญหาในด้านการมองเห็น เช่น สายตาสั้น สายตายาว และสายตาเอียง ซึ่งการรักษาวิธีนี้ จะเป็นการรักษาเพื่อแก้ปัญหาในระยะยาว ปรับปรุงการมองเห็น ซึ่งสะดวกสบายกว่าการใช้แว่นตา หรือคอนแทคเลนส์
สำหรับผู้ที่เหมาะสมสำหรับการทำ PRK มีปัญหาเรื่องสายตา พร้อมทั้งมีร่างกายที่มีสุขภาพดี ที่คาดหวังอยากจะมีสายตาที่ดี โดยไม่ต้องสวมใส่แว่นตา หรือคอนแทคเลนส์ จึงต้องปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางด้านดวงตา เพื่อดูว่าผู้ที่จะเข้ารับการรักษาเหมาะสมกับการ ทำ PRK หรือไม่ ต่อไป
ข้อดีและข้อจำกัดของการทำ PRK
สำหรับผู้กำลังมองหาวิธีในการรักษาดวงตา จำเป็นต้องทราบว่า การรักษาแบบ PRK หรือการรักษาแบบต่าง ๆ นั้นมีข้อดี หรือข้อจำกัดอย่างไร เพื่อเลือกวิธีการรักษาที่ตอบโจทย์ตัวเองมากที่สุด โดยข้อดี และข้อจำกัดของ PRK มีดังต่อไปนี้
ข้อดีของการทำ PRK
PRK มีข้อดีหลากหลายอย่าง สำหรับผู้มีปัญหาด้านสายตา ดังนี้
- สามารถเปลี่ยนการหักเหของแสงได้เป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเป็นสายตาสั้น สายตายาว หรือสายตาเอียง ก็สามารถรักษาด้วยวิธีการนี้ได้
- วิธีการ PRK จะไม่มีการสร้างแผ่นปิดกระจกตา ทำให้ไม่เกิดความเสี่ยงจากภาวะแทรกซ้อนที่เกี่ยวข้องกับกระจกตา แล้วด้วยเหตุนี้เอง วิธีการนี้เองจึงเหมาะสมกับผู้ที่มีกระจกตาบาง ที่ไม่สามารถเข้ารับการผ่าตัดได้
- วิธีการรักษาแบบ PRK นั้น มีระยะเวลาในพักฟื้นที่สั้นกว่าการทำเลสิกเป็นอย่างมาก ถือเป็นทางเลือกที่น่าสนใจ สำหรับผู้ที่ไม่ต้องการพักฟื้นที่นาน วิธีนี้ถือว่าตอบโจทย์เป็นอย่างมาก
ข้อจำกัดการทำ PRK
แม้ว่าการรักษาแบบ PRK จะเป็นตัวเลือกที่ดีสำหรับหลาย ๆ คน แต่วิธีการนี้เอง ก็มีข้อจำกัดอยู่เช่นเดียวกัน นั้นคือ บุคคลนั้นมีระยะสายตาที่ไม่คงที มีอาการตาแห้งรุนแรง กระจกตาผิดปกติ หรือมีภาวะทางตาอื่น ๆ ที่อาจไม่เหมาะกับการรักษา
นอกจากที่กล่าวมาแล้ว ผู้ที่อยู่ในภาวะบางอย่าง ก็ควรหลีกเลี่ยง หรือเลื่อนการทำ PRK ออกไปก่อนทำ ตัวอย่างเช่น สตรีมีครรภ์หรือให้นมบุตร เป็นต้น ซึ่งมีจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเข้ารับการตรวจสุขภาพตาอย่างละเอียด พร้อมทั้งปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญด้านดวงตา ว่าสามารถรักษาด้วยวิธีนี้ได้หรือไม่
ก่อนทำ PRK เตรียมตัวอย่างไร
ก่อนเข้ารับการทำ PRK จำเป็นจะต้องมีการเตรียมการความพร้อมหลาย ๆ อย่าง เพื่อให้แน่ใจว่าผลลัพธ์ที่ได้ออกมาจะดีที่สุด และหลีกเลี่ยงอาการแทรกซ้อนที่อาจจะเกิดขึ้นตาม ซึ่งแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านดวงตาจะเป็นผู้คอยให้คำปรึกษาที่แตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล แต่จะมีการเตรียมการที่เหมือน ๆ กัน นั้นก็คือ
1.หยุดใช้คอนแทคเลนส์ เพื่อให้กระจกตาของคุณกลับมาเป็นปกติ ลดการระคายเคืองของกระจกตา แพทย์จึงแนะนำให้หยุดการใช้คอนแทคเลนส์ แล้วใส่แว่นสายตาแทนไปก่อน เป็นระยะเวลาหนึ่ง ก่อนทำการรักษา
2.จัดเตรียมการเดินทาง ด้วยการรักษาแบบ PRK นั้น จำเป็นที่จะต้องใช้ยาชาเฉพาะที่ ซึ่งอาจทำให้คุณไม่สามารถเดินทางกลับได้ด้วยตนเอง การมีขับรถมาให้ ย่อยหลีกเลี่ยงเหตุการณ์นี้ได้
3.จัดตารางเวลาให้ดี ผู้ที่จะเข้าทำการรักษา ควรวางแผนวันหยุด หรือหลีกเลี่ยงการทำงานที่ใช้แรงมาก เป็นเวลา 2-3 วัน เพราะคุณอาจจะมีอาการมองเห็นภาพที่ไม่ชัดเจน เป็นครั้งคราว หรืออาจมีอาการไม่สบายในช่วงแรกหลังการรักษา
4.ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ก่อนการผ่าตัด แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านดวงตาของจะให้คำแนะนำอย่างละเอียดเกี่ยวกับการขั้นตอนการทำ PRK การใช้ยาต่าง ๆ และมาตรการที่จำเป็นอื่นๆ เพื่อให้ร่างกายของผู้รับการรักษามีความพร้อมมากที่สุด
การปฏิบัติตามข้างต้นที่กล่าวมา จะช่วยให้ผู้เข้ารับการรักษา มั่นใจได้ว่าการรักษาครั้งนี้จะสำเร็จลุลวงไปได้ด้วยดี สามารถช่วยลดอาการแทรกซ้อนต่าง ๆ ได้อีกด้วย
วิธีการผ่าตัดทำ PRK
โดยทั่วไปแล้ว การรักษาแบบ PRK จะมีขั้นตอนหลัก ๆ ดังนี้
- หยอดยาชา เพื่อให้ดวงตา และบริเวณรอบ ๆ ดวงตาไม่รู้สึกเจ็บ หรือระคายเคือง
- กำจัดเยื่อบุผิว ทำการนำชั้นนอกของกระจกตาที่มีความบาง ที่เรียกว่าเยื่อบุผิวออก ด้วยความเบามือ ด้วยการใช้เลเซอร์เข้ามาช่วย
- ปรับรูปร่างกระจกตา การใช้เลเซอร์เฉพาะอย่าง excimer เพื่อเปลี่ยนรูปร่างพื้นผิวกระจกตาใหม่ โดยการทำลายเนื้อเยื่อจำนวนเล็กน้อยอย่างแม่นยำ เพื่อเปลี่ยนการหักเหของแสง
- การใส่คอนแทคเลนส์แบบป้องกัน โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะใส่คอนแทคเลนส์แบบอ่อน วางไว้บนกระจกตา เพื่อป้องกันไว้ในช่วงเวลาที่เยื่อบุใหม่ยังไม่งอกออกมา
การรักษาแบบ PRK จะใช้เวลาที่ค่อนข้างเร็ว ซึ่งปกติแล้วจะใช้เวลาประมาณ 15 นาทีต่อดวงตา 1 ข้าง ถึงแม้ว่าการรักษานี้จะไม่ให้ความรู้สึกเจ็บ แต่มันอาจจะทำให้คุณรู้สึกระคายเคือง หรือมองเห็นภาพไม่ชัดในช่วงแรกหลังการรักษา
การดูแลตัวหลังทำ PRK
หลังจากทำการรักษาแบบ PRK เพื่อให้ประสิทธิภาพในการรักษามีประสิทธิภาพมากที่สุด การดูแลหลังการรักษาจึงถือเป็นอีกสิ่งที่สำคัญ จึงจำเป็นที่จะต้องปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญอย่างเคร่งครัด โดยมีวิธีการปฏิบัติตัวดังนี้
1.ยาหยอดต ทานยาปฏิชีวนะ และคอยใช้ยาหยอดตาเพื่อลดการอักเสบ และป้องกันการติดเชื้อ
2.ป้องกันดวงตา ควรสวมแว่นตากันแดด หรือแว่นตากันลม เมื่อต้องการเดินทางออกไปที่ต่าง ๆ เพื่อป้องกันดวงตาของคุณจากแสงแดด หรือเศษผง และหลีกเลี่ยงการขยี้ตา หรือสัมผัสดวงตาเพื่อป้องกันอาการแทรกซ้อนต่าง ๆ
3.การพักฟื้น ต้องวางแผนเพื่อลดการทำงานต่าง ๆ เป็นเวลาอย่างน้อย 2-3 วัน เพื่อพักผ่อนไม่ให้ใช้ดวงตามากเกินไป เพื่อให้ดวงตาของคุณหายดี และรวดเร็วยิ่งขึ้น
4.พบแพทย์ตามนัด ต้องคอยไปพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านดวงตาเป็นประจำ เพื่อตรวจสุขภาพหลังการทำ PRK เพื่อลดความเสี่ยงต่าง ๆ ที่อาจจะเกิดขึ้น
การปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ หลังการรักษา จะช่วยให้คุณฟื้นฟูดวงตาได้อย่างราบรื่น และกลับมามองเห็นได้อย่างสมบูรณ์
คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับ PRK
เนื่องจากการรักษาแบบ PRK อาจจะยังไม่เป็นที่รู้จักมากเท่าการทำเลสิก สำหรับผู้ที่มีปัญหาทางสายตา เมื่อค้นหาข้อมูลที่เกี่ยวข้อง จึงเกิดเป็นคำถามที่พบบ่อยดังนี้
หลังทำ PRK กี่วันถึงจะมองเห็นได้ชัดเจน
ความสามารถในการมองเห็นภาพชัด ๆ หลังการรักษาแบบ PRK นั้น จะแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล แม้ว่าบางคนจะสามารถมองเห็นได้ชัดในเวลาเพียงไม่กี่วัน แต่การที่จะมองเห็นภาพชัดเจนที่สุด ดีที่สุด อาจจะใช้เวลาหลายสัปดาห์ หรือหลายเดือนก็เป็นได้ สิ่งสำคัญคือต้องมีความอดทน ในช่วงพักฟื้นจะต้องปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญอย่างเคร่งครัด
หลังทำ PRK ต้องพักฟื้นกี่วัน
ระยะเวลาฟื้นตัวหลังการทำ PRK ก็จะแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคลเช่นกัน แต่โดยทั่วไป มักจะใช้เวลาประมาณหนึ่งสัปดาห์ เพื่อให้เยื่อบุผิวงอกใหม่ และใช้เวลาอีก 2-3 วัน ไปจนถึง 2-3 สัปดาห์ เพื่อให้ความรู้สึกระคายเคืองต่าง ๆ อาการมองเห็นไม่ชัด รวมไปถึงไวต่อแสงจะลดลง อย่างไรก็ตาม การที่ดวงตาจะกลับมาสมบูรณ์ที่สุด อาจจะใช้เวลาหลายเดือนกันเลยทีเดียว ระหว่างนั้นจะต้องปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านดวงตาอย่างเคร่งครัด รวมถึงไปตามนัดหมายของแพทย์อย่างสม่ำเสมอ
สรุปเรื่อง PRK
การรักษาแบบ PRK หรือ Photorefractive Keratectomy วิธีการรักษาของผู้ที่มีปัญหาในเรื่องสายตา ไม่ว่าจะเป็นสายตาสั้น สายตายาว หรือจะเป็นสายตาเอียงก็รกษาได้เช่นกัน โดยวิธีนี้จะสามารถพักฟื้นตัวได้อย่างรวดเร็วกว่าการรักษาแบบเลสิก ที่เป็นการรักษาสายตาระยะยาวเหมือน ๆ กัน ถือเป็นตัวเลือกที่ดีสำหรับผู้ที่ต้องการรักษาดวงตาให้กลับมาดีดังเดิม
นอกจากนี้ การรักษาแบบ PRK ยังตอบโจทย์ในการรักษาของผู้ที่มีกระจกตาบางอีกด้วย แม้ว่าอาจจะมีข้อจำกัดบางอย่าง แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่า การรักษาแบบ PRK สามารถช่วยให้ผู้ที่ได้รับการรักษามองเห็นได้ขึ้น เป็นการเสริมสร้างสุขภาพจิตรูปแบบหนึ่งอีกด้วย
เมื่อเข้าใจถึงข้อดี ข้อจำกัด การเตรียมตัว วิธีผ่าตัด การดูแลหลังทำ และคำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับ PRK แล้ว หวังผู้อ่านจะสามารถตัดสินใจได้อย่างรอบคอบ โดยการปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านดวงตา ว่าวิธีการนี้เหมาะสมกับตนเองหรือไม่ ต่อไป