ปัญหาสายตายาวตามอายุ สายตาสั้นข้าง ยาวข้าง สามารถรักษาได้

สายตายาว

เมื่ออายุของคุณย่างก้าวเข้าสู่เลขสี่ ร่างกายของคุณจะเกิดสภาวะการเปลี่ยนแปลงมากขึ้น รวมไปถึงการเสื่อมสภาพด้านการมองเห็น คุณจะพบว่าระยะการมองเห็นและการโฟกัสเปลี่ยนไป มีค่าสายตายาวขึ้น ทำให้สามารถมองเห็นระยะไกลชัดกว่าเดิม แต่เมื่อมองบางสิ่งในระยะใกล้จะพบว่า สิ่ง ๆ นั้นกลับเบลอ


สายตายาว 

สายตายาว (Hyperopia) คือ ความบกพร่องทางสายตาที่สามารถพบได้ทั่วไป  เป็นภาวะการหักเหแสงของตามีความผิดปกติ โดยลักษณะตาของผู้ที่มีความเสี่ยงจะเป็ยสายตายาว มักจะมีลักษณะลูกตาเล็ก หรือกระจกตาแบนเกินไป ทำให้เกิดภาวะที่ไม่สามารถเพ่ง หรือมองวัตถุได้ชัดเจนในระยะใกล้ๆ แต่สามารถมองเห็นได้ในระยะไกลที่ชัดเจน หรืออาจจะเห็นทั้งไม่ชัดทั้งระยะใกล้ และไกลเลยก็ได้ ขึ้นอยู่กับสายตาของแต่ละบุคคล


สายตายาวเกิดจากอะไร

จากที่เคยได้ยินกันมาว่า อาการ สายตายาวจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่ออายุของคุณเข้าสู่เลขสี่ หรือเริ่มเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ แต่จริง ๆ แล้วอาการสายตายาวสามารถเกิดขึ้นกับใครก็ได้ ซึ่งเราจะมาดูสาเหตุกันว่าสายตายาว เกิดจากอะไรได้บ้าง

สายตายาวตั้งแต่กำเนิด

อาการสายตายาวตั้งแต่กำเนิด (HYPEROPIA) เกิดจากความโค้งผิดปกติของกระจกตา กระจกตาแบน กระบอกตาหรือขนาดของลูกตาสั้นกว่าปกติ ดวงตาจึงไม่มีกำลังมากพอที่จะหักเหแสงที่เข้ามากระทบหลังจอประสาทตา ทำให้แสงรวมกันเป็นจุดเดียวจนเกิดภาพมัว

สายตายาวตามวัย 

อาการสายตายาวตามวัย (PRESBYOPIA) เกิดจากเมื่อคุณอายุมากขึ้น เลนส์ตาของคุณก็จะแข็งขึ้นตามไปด้วย ดวงตาไม่มีกำลังมากพอที่จะเพ่งเล็ง ทำให้แสงตกกระทบที่จอประสาทตาได้ไม่ดีนักและไม่สามารถปรับโฟกัสได้


สังเกตอาการสายตายาว

จากที่กล่าวไว้ข้างต้นอาการของภาวะสายตายาว หลักๆก็คือ ไม่สามารถมองเห็นภาพชัดในระยะใกล้ได้ แต่ในระยะไกลไม่มีปัญหา โดยนอกจากอาการนี้แล้ว อาการอื่นๆก็ภาวะสายตายาวสามารถสรุปออกมาได้เป็นข้อๆ ดังนี้

  • มีปัญหาในการอ่าน เนื่องจากเห็นตัวหนังสือไม่ชัด
  • ต้องทำการหรี่ตาเพื่อเพ่งมองให้เห็นรายละเอียดของวัตถุในระยะใกล้ๆ
  • รู้สึกปวดหรือร้อนผ่าวบริเวณรอบๆ ดวงตา
  • มีอาการปวดศีรษะ เมื่อต้องมีการทำกิจกรรมที่ต้องใช้สายตาเพ่งระยะใกล้เเป็นเวลานานๆ เช่น การอ่านหนังสือ เย็บผ้า ถักนิตติ้ง วาดรูป และกิจกรรมอื่นๆ

อย่างไรก็ตาม ผู้มีภาวะสายตายาวก็ไม่ได้มีอาการที่บ่งบอกชัดเจนทุกคน บางคนอาจจะมีอาการออกเห็นได้ชัด แต่ก็มีบางกรณีที่มีอาการเล็กน้อย แต่ถึงอย่างนั้นก็ตาม เพียงแค่มีอาการหรี่ตา และรู้สึกอ่อนเพลีย ก็ไม่ควรที่จะชะล่าใจ ควรรีบหาวิธีรักษาแต่เนิ่นๆ เพื่อป้องกันผลข้างเคียงอื่นๆที่จะตามมา จะภาวะสายตายาว


สายตายาว มีภาวะแทรกซ้อนอย่างไร

ใครก็ตามที่กำลังประสบปัญหาสายตายาวและรู้สึกระตายเคืองที่ตา คุณอาจจะตกอยู่ในภาวะแทรกซ้อนอยู่ก็ได้ แต่ถ้าหากคุณยังไม่แน่ใจว่าอาการที่คุณเป็นเกิดจากภาวะแทรกซ้อนหรือเปล่า งั้นลองมาเช็คอาการตามลิสต์ดังต่อไปนี้

  • เมื่อคุณมองไม่ชัดเจนทำให้ในหลาย ๆ ครั้งคุณจะต้องใช้วิธีหรี่ตาเพื่อเพ่งเล็ง จะทำให้คุณจะรู้สึกปวดเบ้าตา ตาล้า จนลามไปถึงปวดศีรษะ 
  • สำหรับผู้ที่สายตายาวแต่ยังไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกวิธี เมื่อปล่อยไว้นาน ๆ สายตาของคุณจะแย่ลงไปเรื่อย ๆ จนทำให้ประสิทธิภาพในการดำเนินชีวิตของคุณลงลดตามไปด้วย
  • หากเกิดภาวะแทรกซ้อนกับเด็กที่มีสายตายาว หากไม่ได้รับการรักษาอาจทำให้เด็กคนนั้นต้องเจอกับภาวะตาเหล่ (Crossed Eyes) 

วิธีตรวจสายตายาวโดยจักษุแพทย์

Alt: สายตายาว อาการ

การวินิจฉัยสายตายาว หรือแม้กระทั่งสายตาสั้น หรือสายตาเอียง เพื่อให้ประเมินอาการได้อย่างแน่ชัด ควรประเมินกับจักษุแพทย์ หรือผู้เชี่ยวชาญ เพื่อจะได้หาวิธีการรักษา หรือหาอุปกรณ์ได้เหมาะสม แก้ปัญหาได้ตรงจุดที่สุด โดยขั้นตอนการตรวจวินิจฉัยสายตายาว จะมีขั้นตอน ดังนี้

1.สอบถามอาการ : การซักประวัติเบื้องต้น

2.ตรวจการทำงานของตาเบื้องต้น :

  • ตรวจลานสายตาเบื้องต้น (Visual Fields) : ทดสอบพื้นที่การมองเห็นและมุมมองของภาพ
  • ตรวจการเคลื่อนไหวของตา (Visions Test) : ทดสอบความสัมพันธ์ในการเคลื่อนไหวของตาทั้ง 2 ข้างทั้ง 8 ทิศทาง
  • ตรวจตาเข/ ตาเหล่เบื้องต้น (Cover Test) : ทดสอบสภาวะตาเข/ ตาเหล่
  • ตรวจตาบอดสี (Color Test) : ทดสอบความสามารถในการแยกแยะสี เพื่อตรวจสอบภาวะการมองเห็นสีบกพร่อง
  • ตรวจการเพ่งระยะใกล้ (Near point of accommodation) : ทดสอบความสามารถในการเพ่งเมื่อมองในระยะใกล้

3.ตรวจหาความผิดปกติของค่าสายตา : โดยเราจะโฟกัสในส่วนของสายตายาว คือ 

  • ตรวจความสามารถในการมองเห็นของตาแต่ละข้าง ทั้งระยะไกลและใกล้ (Visual Acuity) 
  • แยกแยะความผิดปกติของการมองเห็น ว่าเกิดจากปัญหาสายตาหรือสุขภาพตาด้วย Pinhole Test 
  • ตรวจหาค่าสายตาสั้น-สายตายาว-สายตาเอียงเบื้องต้นด้วย Digital phoropter by Topcon และ  Digital phoropter by Essilor
  • ตรวจหาค่าสายตาสั้น-สายตายาว-สายตาเอียงอย่างละเอียด ด้วยกระบวนการ Subjective Refraction 
  • ตรวจหาค่าสายตายาวตามวัยในขณะมองใกล้ด้วย BCC (Addition) 

4.ตรวจสุขภาพตาเบื้องต้น : โดยจักษุแพทย์จะทำการตรวจสุขภาพตาเบื้องต้น ด้วย Ophthalmoscope เพื่อตรวจหาความผิดปกติของจอรับภาพ (Retina) และ ประสาทตา (Optic nerve) เพราะถ้าอวัยวะส่วนดังกล่าวนี้มีความผิดปกติ การมองเห็นของเราก็อาจไม่สมบูรณ์

5.สรุปผล พร้อมให้คำแนะนำในการรักษา : หลังจากการประเมิน และตรวจทั้งสุขภาพตา ค่าสายตาทั้งหมด จักษุแพทย์ก็จะสรุปผล และแนะนำต่อว่าจะรักษาด้วยวิธีไหนได้บ้าง


วิธีรักษาสายตายาว 

การรักษาสายตายาว อย่างแรกเลยคุณควรเข้าพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านสายตา เผื่อให้แพทย์ประเมินอาการและวางแผนการรักษาอย่างถูกวิธี เพราะค่าสายตายาวของแต่ละคนไม่เท่ากัน ดังนั้นวิธีการรักษาก็จะแตกต่างเช่นกัน

เลสิก (Laser-Assisted In Situ Keratomileusis: LASIK)

เลสิก คือ การปรับความโค้งของกระจกตาโดยการใช้เลเซอร์ ทำให้แสงเกิดการหักเหและกระทบเข้ากับจอประสาทตาได้อย่างปกติ เหมาะกับผู้ที่มีกระจกตาหนาและผู้ที่มีปัญหาสายตายาวแต่กำเนิด ซึ่งข้อดีคือ ไม่เจ็บ รักษาไว แผลหายเร็วและเห็นภาพชัดเจนขึ้นทันที ข้อเสียคือ ตาแห้ง

เลเสก (Laser-Assisted Subepithelial Keratectomy: LASEK)

เลเสก คือ การลอกเนื้อเยื้อด้านนอกของกระจกตาออกมาก่อนด้วยแอลกอฮอร์และทำการปรับความโค้งของกระจกตาด้วยเลเซอร์ จากนั้นแพทย์จะแปพเนื้อเยื้อที่ลอกออกมากลับสู่ที่เดิม วิธีนี้เหมาะกับผู้ที่มีกระจกตาบางหรือชัน แต่ข้อดีคือ การเกิดภาวะแทรกซ้อนน้อยมาก ส่วนข้อเสียคือใช้เวลาพักฟื้นนาน

อีพิเลสิก (Epi-LASIK)

อีพิเลสิกคล้ายกับการทำเลเสก คือ การลอกเนื้อเยื้อส่วนนอกของกระจกตาออกด้วยมีดและแพทย์จะใช้เลเซอร์เพื่อปรับรูปร่างของกระจกตา จากนั้นแพทย์จะแปะเนื้อเยื้อกลับไปที่เดิม เหมาะกับผู้ที่มีกระจกตาบาง ข้อดีคือ ปลอดภัย ไม่ค่อยเจ็บ ข้อเสียคือ พักฟื้นนาน 

พีอาร์เค (Photorefractive Keratectomy: PRK)

พีอาร์เค คือ แพทย์จะใช้เลเซอร์ปรับแต่งกระจกตา จากนั้นรอให้เนื้อเยื้อของกระจกตาสร้างขึ้นใหม่โดยธรรมชาติ และคนไข้จะต้องใส่คอนแทกเลนส์ชนิดพิเศษเพื่อปิดแผลไว้ก่อน เหมาะสำหรับผู้ที่ไม่สามารถเลสิกได้ ข้อดีคือ การรักษาไม่ซับซ้อน ไม่มีแผล ข้อเสียคือ เกิดการระคายเคืองและปวดตา

Alt:รักษาสายตายาว


คำถามที่พบบ่อย

เราได้คัดเลือก 2 คำถามยอดฮิตที่หลายคนสงสัยเกี่ยวกับการรักษาสายตายาวว่า สามารถรักษาอาการสายตายาวด้วยวิธีธรรมชาติได้ไหมโดยไม่ต้องพึ่งการผ่าตัด และอีกคำถามคือ หากเกิดภาวะค่าสายตา 2 ข้างไม่เท่ากันมีวิธีรักษาอย่างไรได้บ้าง คำตอบอยู่ตรงนี้แล้ว

วิธีรักษาสายตายาวแบบธรรมชาติ ทำได้ไหม

คุณสามารถรักษาอาการสายตายาวได้ด้วยวิธีธรรมชาติ คือ การวัดค่าสายตาและตัดแว่นตามค่าสายตาที่ถูกต้อง เพราะการใส่แว่นหรือคอนแทคเลนส์จะสามารถปรับรูปร่างของดวงตาให้โฟกัสได้ชัดเจนขึ้น และที่สำคัญอย่าลืมตรวจเช็คค่าสายตาทุก ๆ 1 – 2 ปี

สายตาสั้นข้าง ยาวข้าง รักษาอย่างไร

ผู้ที่มีอาการสายตาสั้นข้าง ยาวข้าง แต่ไม่ต้องการผ่าตัดปรับค่าสายตา เลนส์โปรเกรสซีฟ (Progressive lens) เป็นอีกหนึ่งทางเลือก เพราะเป็นเลนส์ที่มีหลายค่าสายตาได้ในชิ้นเดียว ทำให้เมื่อคุณใส่แว่นจะสามารถมองเห็นระยะไกลและใกล้ได้ในเวลาเดียวกัน แต่มีอีกหนึ่งวิธีการรักษาคือ การทำเลสิกโดยการใช้เลเซอร์ปรับกระจกตา เพื่อให้ค่าสายตากลับมาเป็นปกติทั้งสองข้าง


สรุป

ภาวาะสายตายาว จากที่ได้กล่าวมาแล้ว จะเห็นได้ว่ามันเป็นภาวะที่หนีไม่พ้น เพราะเมื่ออายุมากขึ้น สภาพร่างกายที่ทรุดโทรมลง จะส่งผลให้สายตาของเรายาวขึ้น สิ่งที่ทำได้มีเพียงการป้องกัน และคอยสังเกตอาการผิดปกติ หากมีการบำรุงสายตาที่ดี และเมื่อรู้ตัวว่าสายตาของตัวเองมีความเปลี่ยนแปลง และรีบพบแพทย์เพื่อรักษาแต่เนิ่นๆ การมีสายตาที่ดี มองภาพได้ชัด ก็จะอยู่กับเราไปอีกนาน

Thank you for your Vote Rating
[Total: 0 Average: 0]