การรับมือกับโรคแพนิค อาการทางจิตที่ไม่ควรมองข้าม

โรคแพนิค

หลายครั้งที่ผู้มีอาการแพนิค มักจะไม่รู้ตัว และรับมือกับตัวเองได้ยาก แน่นอนว่าโรคแพนิค  แตกต่างจากอาการทั่วไป เพราะไม่ใช่แค่ตัวเราอยู่ในสถานะกดดัน หรือเผชิญกับอันตราย แต่ Panic attack คืออาการที่มักเกิดขึ้นแบบไม่มีสาเหตุ ไม่ว่าเราจะอยู่ในพื้นที่ปลอดภัย หรือจุดที่เสี่ยงต่อการเกิดวิตกกังวล โรคแพนิค จึงเป็นอีกโรคที่มีความยากต่อการใช้ชีวิต และส่งผลต่อสภาพร่างกาย รวมไปถึงสภาพจิตใจในระยะยาว

โดยเราจะมาทำความเข้าใจเกี่ยวกับ อาการโรคแพนิค ว่ามีสาเหตุ หรือรายละเอียดอย่างไร แน่นอนว่าการแก้ไขและวิธีรับมือเกี่ยวกับโรคแพนิค จะต้องปฏิบัติยังไง การเยียวยาในระยะสั้น และระยะยาวต่ออาการถือเป็นเรื่องสำคัญ เพราะผลจากการมีอาการแพนิค มักจะสร้างปัญหาด้านการใช้ชีวิตแน่นอน



รู้ได้อย่างไร ว่าเรามีอาการโรคแพนิค 

เริ่มต้นโรคแพนิค คือ อาการที่ทำให้ผู้ป่วยเกิดการวิตก ตื่นตระหนก หรือกลัวอย่างรุนแรง ส่งผลให้ใจสั่น, หัวใจเต้นผิดปกติ, หายใจไม่ออก, คลื่นไส้ รู้สึกระบบร่างกายทำงานอย่างผิดปกติ ยิ่งผู้ป่วยที่มีอาการป่วยแทรกซ้อนก็จะเป็นรุนแรงขึ้น โรคแพนิคหรือ Panic Disorder มักจะเกิดโดยไร้สิ่งกระตุ้น หรือสิ่งปลุกเร้า สามารถเกิดได้ทุกสถานการณ์ ไม่ว่าเราจะอยู่ในพื้นที่ปลอดภัย หรืออยู่ในจุดที่ทำให้เกิดความเครียด อาการนี้ไม่เลือกที่เกิด

ลักษณะของโรคแพนิค และอาการแพนิคที่เกิดขึ้น

  • โรคแพนิค คือโรคตื่นตระหนก ผู้มีอาการ จะรู้สึกหวาดระแวง หรือหวาดกลัวโดยไม่ทราบสาเหตุ และไม่มีปัจจัยในการกระตุ้นการเกิดอาการแต่อย่างใด
  • ใจสั่น ใจเต้นแรง ส่งผลให้รู้สึกอึดอัด กระอักกระอ่วน ยิ่งผู้มีอาการแพนิคกับโรคหัวใจ จะส่งผลชัดเจนและอันตราย
  • เกิดอาการอึดอัดอย่างรุ่นแรง เนื่องจากหายใจไม่ออก หายใจติดขัด โรคแพนิคยังทำให้ผู้ที่หายใจไม่ออก มีโอกาสเป็นลมได้
  • อาการแพนิค ส่งผลให้เกิดความปั่นป่วนในท้อง มีอาการคลื่นไส้อาเจียน เกิดการสำลักเหมือนมีอะไรจุกที่บริเวณลำคอ แน่นหน้าอก
  • โรคแพนิคเมื่อเกิดอาการ จะมีอาการหนาวสั่น เหงื่อออก ชามือชาเท้าในแต่ละส่วน หรือบางครั้งก็รู้สึกร้อนวูบวาบ 

ซึ่งอาการเกี่ยวกับโรคแพนิค ลักษณะเหล่านี้ที่เกิดขึ้น เมื่ออาการกำเริบตามลักษณะ จะเกิดขึ้นราว ๆ 10 นาที และอาการจะค่อย ๆ ทุเลาลง จนเป็นปกติ แต่ผลข้างเคียงหลักของโรคตื่นตระหนก หรืออาการแพนิค คือการที่ทำให้สภาพจิตใจของผู้เป็นในระยะยาว เกิดความกังวล กลัวตาย สร้างความเครียดให้กับตัวเอง ประสิทธิภาพในการใช้ชีวิต และการทำงานลดน้อยลง จากความหวาดระแวงในโรคแพนิค กลัวอาการกำเริบ


โรคแพนิคอันตรายไหม ? ผลข้างเคียงส่งผลต่อการใช้ชีวิตอย่างไร

โรค Panic Disorder หรือการเกิด Panic Attack คืออาการมีส่งผลเสีย และมีอันตรายถึงชีวิตได้ ทั้งในแง่ของคุณภาพในการใช้ชีวิตประจำวัน ที่ผู้เป็นโรคแพนิค ต้องกังวลว่าอาการจะกำเริบเมื่อไหร่ ส่งผลให้ประสิทธิภาพในการทำงาน หรือทำกิจกรรมต่าง ๆ ลดน้อยลง เนื่องจากสภาวะทางจิต ที่มีความหวาดระแวง หรือความไม่สบายใจต่อการทำบางสิ่งบางอย่าง ที่หากมีอาการแพนิคเกิดขึ้น อาจทำให้ตัวเองเสียชีวิตได้ เช่นการขับรถบนถนน เป็นต้น

ในแง่ของการเป็นโรคแพนิค เป็นที่รู้กันว่า อาการจะเกิดขึ้นโดยไม่ทราบสาเหตุ หรือปัจจัย รวมไปถึงสิ่งเร้า แต่ไม่ได้หมายความว่าการที่เราไปอยู่ในจุดที่เสี่ยงต่อการเป็นโรคแพนิค จะไม่เกิดขึ้น ซ้ำร้าย หากเรานำตัวไปอยู่ในสถานที่ ที่ทำให้รู้สึกวิตกกังวล กดดัน หรืออึดอัด อาการก็กำเริบได้โดยง่าย รวมไปถึงสถานการณ์ที่ส่งผลต่อสภาพจิตใจ เช่นการอยู่กับผู้คนจำนวนมาก หรือบางราย การอยู่คนเดียวอาจทำให้เกิดอาการได้ ขึ้นอยู่ที่สภาพจิตใจ

หากใครที่ยังไม่เข้าใจว่าโรคแพนิคอันตรายไหม ปัญหาที่ใหญ่ที่สุดสำหรับผลข้างเคียงที่อันตรายของโรคแพนิคที่มองเห็นได้ชัดที่สุด คงจะเป็นผู้ที่มีโรคแทรกซ้อนอยู่แล้ว และมีอาการแพนิคอยู่ เช่นผู้ที่เป็นโรคเกี่ยวกับความดัน โรคหัวใจ หากเกิดอาการแพนิค จะทำให้มีโอกาสเสียชีวิตได้ อีกทั้งผู้ที่เป็นโรคแทรกซ้อนรูปแบบอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็นเบาหวาน, โรคเกี่ยวกับทางเดินหายใจ, โรคทางจิตอื่น ๆ ผลข้างเคียงเหล่านี้ทำให้เกิดผลลัพธ์ที่ร้ายแรงขึ้นได้


ขั้นตอนการวินิจฉัยโรคแพนิค 

โรคแพนิคแบบทดสอบ

การวินิจฉัยโรคแพนิค เริ่มต้นด้วยตัวเองจากการดูว่าเรามีลักษณะอาการเหล่านี้หรือไม่ จากนั้นเมื่อเราพบแพทย์ จะมีการเข้ารับการให้คำปรึกษา หรือประเมินจากโรคแพนิคแบบทดสอบที่มี เพื่อดูว่าเรามีอาการแพนิคที่เจาะจงจากสาเหตุอะไร ทั้งปัจจัย หรือโรคทางจิตที่เป็นอยู่หรือไม่ เพราะโรคแพนิค เหมือนเป็นโรคที่เกิดขึ้นจากโรคทางจิตที่มีอยู่แล้วเช่น ไบโพล่า, โรคย้ำคิดย้ำทำ รวมไปถึงโรคซึมเศร้าเรื้อรัง และโรคอื่น ๆ ตามมาจากความเครียด

ซึ่งการวินิจฉัยโรคแพนิค จะแบ่งสาเหตุจากการเกิดโรคเป็น 2 ปัจจัย โดยแบ่งเป็นแบบกายภาพ และแบบปัจจัยเกี่ยวกับสุขภาพจิต ที่ทั้งสองสาเหตุ ก่อให้เกิดโรคแพนิคหรืออาการแพนิคในแบบเดียวกัน แน่นอนว่าหากเกิดจากกายภาพ โรคตื่นตระหนก จะไม่ได้เหมือนโรคทั่วไปที่สามารถตรวจสอบแล้วเจอได้อย่างง่ายดาย เพราะมีปัจจัยมากมายที่ยังส่งผลให้อาการไม่กำเริบ หรือสำหรับผู้ที่มีปัจจัยจากสภาพจิตใจบางคนหากไม่ถูกกระตุ้นก็ไม่เกิด

สาเหตุของโรคแพนิคในปัจจัยด้านสุขภาพจิต

ปัจจัยของการเกิดอาการแพนิคมักจะเป็นเหตุการณ์ที่ฝังใจ ไม่ว่าจะเป็นการถูกทำร้ายจากตัวเอง หรือมีประสบการณ์ร่วมที่กระทบกับจิตใจโดยตรง ไม่ว่าเป็นการสูญเสียสิ่งสำคัญ การเกิดอุบัติเหตุร้ายแรง หรือการถูกกระทำชำเรา และการเกิดโรคแพนิคด้วยปัจจัยด้านนี้ ไม่สามารถตัดสินได้จากความเล็กใหญ่ของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น แต่เกิดจากประสบการณ์การใช้ชีวิต และความกลัว บางครั้งเหตุการณ์เหล่านี้เกิดอยู่บ่อยครั้งจนรับไม่ไหว

สาเหตุของโรคแพนิคในปัจจัยด้านกายภาพ

โรคแพนิคที่มีปัจจัยในด้านกายภาพแบ่งออกแยกย่อยได้หลายรูปแบบ อย่างแรกคือผู้ที่ใช้สารเสพติด หรือใช้ยา, คาเฟอีน, บุหรี่ รวมไปถึงแอลกอฮอล์ ต่อมาคือผู้ที่มีอาการโรคแพนิคที่เกิดจากการถ่ายทอดทางพันธุกรรม จะเสี่ยงในการป่วยเป็นโรคแพนิค มีเงื่อนไขของสายสัมพันธ์ทางสายเลือด อาการจะกำเริบได้หากถูกกระตุ้นโดยเฉพาะปัจจัยด้านสุขภาพจิต และปัจจัยด้านสารเคมี หรือสารสื่อประสาทที่ก่อให้เกิดอาการแพนิค หรือซึมเศร้า


ต้องรักษาโรคแพนิคได้อย่างถูกต้องที่ไหนดี

การรักษาโรคแพนิคจำเป็นต้องพบแพทย์เฉพาะทางแผนกจิตเวชศาสตร์ เพื่อเข้าไปวินิจฉัยอาการได้อย่างตรงจุดที่สุด โดยเบื้องต้น การรักษาอาการแพนิค จะมีการจ่ายยารักษาแพนิค ที่จะช่วยปรับเคมีในสมองของผู้ป่วยโรคแพนิค และจะต้องมีการปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิต รวมไปถึงทัศนคติ เพราะแพนิครักษาหายขาดไม่ได้ในทันที แต่ต้องมีการประเมินผลลัพธ์ในแต่ละครั้ง เพื่อให้แน่ใจว่า โรคนี้จะไม่กำเริบ หรือสร้างอันตรายให้กับการใช้ชีวิตอีก


 วิธีการดูแลตนเองสำหรับผู้ป่วยโรคแพนิคเบื้องต้น

  • อย่างแรกของการดูแลตนเองสำหรับโรคแพนิค คือการปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ที่เราเข้ารับการรรักษาอย่างเคร่งครัด รวมไปถึงการกินยาอย่างสม่ำเสมอ ทั้งตัวยาที่จำแนกการออกฤทธิ์เร็ว และช้า
  • เรียนรู้เกี่ยวกับอาการแพนิคผ่านแพทย์ และจดจำไว้ว่า โรคแพนิคไม่ก่อให้เกิดอันตรายถึงแก่ชีวิต หากเรารับมือกับมันได้อย่างถูกวิธี
  • ปรับพฤติกรรมบำบัดความคิด หรือทัศนคติในการใช้ชีวิต และแนวคิดของผู้ที่ป่วยโรคแพนิค ให้ดูปกติเหมือนคนทั่วไปมากขึ้น ไม่ได้มองโลกในแง่ร้าย จะช่วยลดการกำเริบของอาการได้
  • เริ่มต้นฝึกหายใจ Breathing Exercise อย่างสม่ำเสมอ เพื่อช่วยรับมือ และลดการเกิดอาการแพนิคได้ อีกทั้งยังช่วยฝึกสมาธิ ทำให้การปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิตทั่วไป เป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
  • ดูแลตัวเองในด้านสุขภาพ กินอาหาร และดื่มอย่างเหมาะสม หลีกเลี่ยงอาหาร หรือสิ่งเสพติดที่กระตุ้นให้เกิดโรคแพนิค

สรุปโรคแพนิค โรควิตกกังวลที่ไม่ควรมองข้าม

โรคแพนิค เป็นโรคที่ค่อนข้างส่งผลกับการใช้ชีวิตประจำวันในระยะยาว ดังนั้น หากเรารู้ตัวว่ามีอาการแพนิค ควรเข้ารับการปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง เพื่อหาสาเหตุ และรักษาให้หาย อย่าลืมว่าหากยังไม่แน่ใจว่าเราเป็นโรคแพนิคจริงหรือไม่ ให้หาข้อมูล และลองหาข้อประเมินโรคแพนิคซึมเศร้าแบบทดสอบ เพื่อให้เรารู้ว่าต้องเริ่มต้นรักษาจากตรงไหนดี และดูว่าอาการแพนิคของเรา มีความร้ายแรงมากน้อยแค่ไหน จะได้รับมือถูก


Thank you for your Vote Rating
[Total: 0 Average: 0]