หลายคนอาจคิดว่ามีแต่คุณผู้ชายเท่านั้นที่มักมีปัญหาผมร่วง ผมบาง หนังศีรษะล้าน แต่ในความเป็นจริงแล้วมีผู้หญิงไม่น้อยที่กำลังเผชิญกับปัญหาผมบางกรรมพันธุ์ผู้หญิง ซึ่งส่วนใหญ่แล้วผมจะบางบริเวณกลางศีรษะแตกต่างกับผู้ชายที่มักมีปัญหาผมบางที่บริเวณหน้าหน้า หรือกลางศีรษะ ทำให้คุณผู้หญิงหมดความมั่นใจได้ เพราะบางท่านอายุยังไม่มากแต่กลับมีปัญหาผมร่วง ผมบางก่อนวัย
วันนี้เราจะพาคุณผู้หญิงไปทำความรู้จักกับภาวะผู้หญิงผมบางกรรมพันธุ์, สาเหตุของผมร่วง ผู้หญิง, อาการผมร่วง ผู้หญิง, รวมไปถึงวิธีการรักษาผมร่วง ผู้หญิง เพื่อคืนความมั่นใจให้คุณกลับมามีสุขภาพเส้นผมที่แข็งแรง ผมดกหนาขึ้น หมดกังวลเรื่องผมร่วงกรรมพันธุ์ ผู้หญิง
ผมบางกรรมพันธุ์ในผู้หญิง
โรคผู้หญิงผมบางกรรมพันธุ์ (Androgenetic Alopecia) เป็นโรคผมบางที่เกิดในผู้หญิงโดยมีสาเหตุจากยีนศีรษะล้าน สามารถถ่ายทอดได้จากคนในครอบครัว ซึ่งยังไม่มีรายงานแน่ชัดว่าเกิดจากยีนตัวใด หรือเกิดจากโครโมโซมคู่ใด ในความเป็นจริงส่วนมากโรคผมบางกรรมพันธุ์นี้มักจะเกิดในผู้ชาย แต่ก็สามารถพบได้ในผู้หญิงเช่นกัน
ตามอย่างในข้างต้นที่กล่าวไปแล้วว่า ผมร่วงเกิดจากอะไร ผู้หญิงนั้นอาจมีอาการที่ไม่รุนแรงเท่าในผู้ชาย และเนื่องจากยังไม่มีการค้นพบว่าผมร่วง ผมบางกรรมพันธุ์ ผู้หญิง เกิดจากยีนชนิดใด หรือจากโครโมโซมคู่ใด จึงยังไม่สามารถรักษาให้หายขาดจากสาเหตุได้ จึงทำได้เพียงรักษาผมร่วงตามอาการที่เป็นอยู่เท่านั้น รวมไปถึงการปรับพฤติกรรมเสี่ยงที่อาจทำให้ผมบางได้
โรคผมบางจากรรมพันธุ์ (Androgenetic Alopecia) คืออะไร
โรคผมบางกรรมพันธุ์ คือ โรคผมร่วง ผมบางที่สามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้ ซึ่งได้รับยีนมาจากบรรพบุรุษ โดยสามารถเกิดได้ทั้งในผู้ชายและผู้หญิง แต่ทั้งนี้จะมีอาการหรือลักษณะของผมบางที่แตกต่างกันออกไป
โรคผมบางจากรรมพันธุ์ อาจพบเจอได้บ่อยในเพศชายมากกว่าเนื่องจากมีฮอร์โมนผมร่วงอยู่แล้ว แต่ก็สามารถพบได้บ้างในผู้หญิง หรือเรียกว่าโรคผมบางจากกรรมพันธุ์ในผู้หญิง (Androgenetic Alopecia) ที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนเพศชายเทสโทสเตอโรน ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่มีทั้งในผู้หญิงและผู้ชาย กลายไปเป็นฮอร์โมน DHT หรือฮอร์โมนผมร่วง
นอกจากนี้ ยังมีสาเหตุอื่น ๆ ของโรคผมบางกรรมพันธุ์ในผู้หญิง ดังนี้
- ความไม่สมดุลของฮอร์โมน เช่น การทานยาเม็ดคุมกำเนิด, หญิงวัยหมดประจำเดือนที่ได้รับฮอร์โมนทดแทน หรือการผ่าตัดมดลูกและรังไข่ ทำให้ฮอร์โมนในร่างกายเกิดการเปลี่ยนแปลง ซึ่งส่งผลให้เส้นผมเข้าสู่ระยะพักตัวได้เร็วกว่าปกติ ทำให้เส้นผมหลุดร่วงได้เร็วขึ้น
- อายุและช่วงวัย เมื่ออายุมากขึ้น รากผมก็จะมีความอ่อนแอลง การเจริญเติบโตของผมก็จะช้าลง ปัจจัยนี้หลีกเลี่ยงไม่ได้ หลีกเลี่ยงสิ่งที่จะกระตุ้นให้ผมหลุดร่วง เช่น เลือกใช้แชมพูที่อ่อนโยน, หลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีต่าง ๆ กับเส้นผม, รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ และออกกำลังกายรักษาสุขภาพให้แข็งแรง
โรคผมร่วง ผมบางกรรมพันธุ์ในผู้หญิง Vs ผู้ชาย
ผมร่วงกรรมพันธุ์ ผู้หญิงมีความแตกต่างทั้งเรื่องของสาเหตุ ลักษณะของเส้นผมที่บาง รวมไปถึงวิธีการรักษา โดยในผู้หญิงผมบางกรรมพันธุ์ก็สามารถเกิดขึ้นได้เหมือนกับในผู้ชาย และคาดว่าน่าจะเกิดจากยีนคนละตัวกันในผู้ชาย ซึ่งในผู้ชายนั้นจะมีอาการผมร่วงกรรมพันธุ์ที่มาจากยีนที่ตอบสนองต่อฮอร์โมนผมร่วง จึงทำให้มีอาการผมร่วงได้มากกว่าผู้หญิง ซึ่งในผู้หญิงมักจะไม่ค่อยพบฮอร์โมนผมร่วง
ปกติแล้วในผู้ชายจะมีฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนซึ่งเป็นฮอร์โมนเพศชายมากกว่าในผู้หญิงอยู่แล้ว ซึ่งฮอร์โมนผมร่วงหรือ DHT นี้สร้างจากฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน จึงทำให้ผู้ชายมีโอกาสที่จะมีฮอร์โมนผมร่วงมากกว่าในผู้หญิง
สำหรับผู้หญิงจะมีเทสโทสเตอโรนน้อย แต่มีเอนไซม์ Cytochrome P450 Aromatase ซึ่งจะเปลี่ยนเทสโทสเตอโรนให้เป็นฮอร์โมน Estrodiole ซึ่งจะออกฤทธิ์ต้านการทำงานของ DHT จึงทำให้มีฮอร์โมน DHT น้อย ทั้งนี้ ในผู้หญิงก็สามารถผมร่วงจากฮอร์โมน DHT ได้จากสาเหตุของภาวะระดับฮอร์โมนไม่สมดุล
ส่วนลักษณะของผมบางก็แตกต่างกันในผู้หญิงและผู้ชาย สำหรับในผู้หญิงผมบางกรรมพันธุ์นั้นจะมีลักษณะผมบางที่กลางศีรษะและค่อย ๆ ขยายออกไป ส่วนในผู้ชายนั้นจะมีลักษณะผมร่วงผมบางที่กลางศีรษะและบริเวณด้านหน้า จึงทำให้ศีรษะล้าน ศีรษะเถิกจนอาจมาบรรจบกัน ซึ่งจะเหลือเพียงผมด้านข้างบริเวณกกหูและท้ายทอย โดยเป็นบริเวณที่มีรากผมแข็งแรงที่สุดและไม่มีผลต่อฮอร์โมนผมร่วง
สำหรับการรักษาผมร่วงกรรมพันธุ์ ผู้หญิงนั้นจะเน้นที่การฟื้นฟูรากผมให้แข็งแรง เพราะในผู้หญิงไม่มีส่วนรากผมที่แข็งแรงที่ไม่มีผลต่อฮอร์โมนผมร่วงที่บริเวณกกหูและท้ายทายเหมือนในผู้ชาย จึงทำให้การรักษาด้วยการปลูกผมถาวรอาจให้ผลลัพธ์ได้ไม่ดีเท่าที่ควร และเป็นเส้นผมที่ไม่อยู่ถาวร ส่วนในผู้ชายนั้นหากยังเหลือรากผมที่แข็งแรงอยู่ จะเน้นการรักษาที่ฟื้นฟูรากผม หรือการใช้ยาแก้ผมร่วงที่ช่วยทำให้ลดฮอร์โมนผมร่วง หรือ DHT แต่หากไม่เหลือรากผมแล้ว แพทย์อาจพิจารณาแนะนำให้ทำการรักษาด้วยการปลูกผมถาวร
อาการของผมร่วง ผมบางกรรมพันธุ์ในผู้หญิง
อาการผมร่วง ผู้หญิงจะแตกต่างจากผมร่วง ผมบางในผู้ชาย เพราะจะมีลักษณะผมร่วงบริเวณกลางศีรษะ ส่วนบริเวณด้านหน้าจะมีเส้นผมขึ้นตามปกติ ซึ่งจะไม่เหมือนในผู้ชายที่มักมีอาการผมร่วงบริเวณกลางศีรษะและบริเวณด้านหน้าที่ทำให้ศีรษะเถิก โดยอาการผมร่วง ผู้หญิงนั้นจะพบได้ในอายุตั้งแต่ 15-40 ปี
สำหรับอาการผมร่วง ผู้หญิงจะเริ่มจากมีเส้นผมบางเล็กน้อยบริเวณผมแสกตรงกลางศีรษะ และเริ่มมีอาการมากขึ้นตามอายุที่สูงขึ้น รวมถึงจะเห็นได้ชัดเจนขึ้นบริเวณกลางศีรษะจนขยายออกเป็นวงกลม หากปล่อยทิ้งไว้จนอาการรุนแรงก็จะทำให้ศีรษะล้านได้ตามมา โดยอาการผมร่วง ผู้หญิงจะแบ่งออกเป็นรูปแบบผมบางกรรมพันธุ์ผู้หญิง 3 แบบดังนี้
ผมบางเล็กน้อย
ในทางการแพทย์อาการผมร่วง ผู้หญิงชนิดแรกเรียกว่า Type I เป็นลักษณะผมบางเริ่มต้น มีอาการผมบางเล็กน้อย โดยจะเริ่มมีอาการผมบางเห็นหนังศีรษะได้เล็กน้อย และมีอาการผมร่วง ผู้หญิงบริเวณกลางศีรษะ
ผมบางปานกลาง
ชนิดผมบางปานกลาง หรือที่เรียกว่า Type II จะมีอาการผมร่วง ผู้หญิงที่มากขึ้นกว่าชนิดของ Type I จะเห็นผมบางจนเห็นหนังศีรษะได้มากยิ่งขึ้น
ผมบางมาก
ชนิดอาการผมร่วง ผู้หญิงสุดท้ายเรียกว่า Type III เป็นชนิดที่มีอาการผมบางมากจนเห็นหนังศีรษะกว้างมากยิ่งขึ้น
นอกจากนี้ยังมีอาการผมร่วง ผู้หญิงอีกหนึ่งชนิดคือ Advance เป็นลักษณะศีรษะล้านที่กลางศีรษะซึ่งจะเห็นหนังศีรษะได้มากกว่าชนิด Type III รวมไปถึงอาการผมร่วง ผู้หญิงอีกหนึ่งชนิดที่มักพบไม่ได้บ่อยคือ Frontal เป็นลักษณะอาการศีรษะล้านเถิกจากด้านหน้า
สำหรับชนิดอาการของ Frontal มักพบไม่ได้บ่อยในผู้หญิง และเป็นชนิดที่เกิดขึ้นตั้งแต่กำเนิดไม่ได้เกิดจากกรรมพันธุ์ ซึ่งชนิดของ Frontal นี้มักจะพบได้ในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง
เมื่อไหร่ที่ควรพบแพทย์
ส่วนใหญ่ในผู้หญิงจะมีเส้นผมหลุดร่วงได้ปกติวันละ 100-150 เส้น แต่หากพบว่ามีปัญหาผมร่วงง่าย ผมบาง หลุดเป็นกระจุกมากผิดปกติ แนะนำให้ลองสังเกตตามหมอน ตามพื้น หรือในหวี หากดูแล้วว่ามีผมร่วงเป็นจำนวนมากกว่า 150 เส้น อาจบ่งบอกได้ว่าเราอาจมีปัญหาเรื่องรากผมที่อ่อนแอ มีภาวะผมร่วงมากกว่าปกติ
แนะนำให้รีบเข้าพบแพทย์เนื่องจากปัญหาเส้นผมเหล่านี้อาจเกิดได้จากผมบางกรรมพันธุ์ผู้หญิงที่เราอาจไม่รู้ตัวมาก่อน เพราะหากปล่อยทิ้งไว้นานอาจรักษาได้ยากกว่าในรายที่มีปัญหาผมร่วง ผมบาง หนังศีรษะล้านในผู้ชาย
การวินิจฉัยโรคผมร่วง ผมบางกรรมพันธุ์ในผู้หญิง
การวินิจฉัยว่าคนไข้กำลังมีภาวะผมบางกรรมพันธุ์ผู้หญิงหรือไม่ แพทย์อาจทำการซักประวัติว่ามีคนในครอบครัวเคยมีภาวะผมร่วง ผมบางกรรมพันธุ์ผู้หญิงร่วมด้วยหรือไม่ มีอาการผมร่วงอย่างไรที่อาจเกี่ยวข้องกับรูปแบบผมบางกรรมพันธุ์ผู้หญิงหรือไม่ เนื่องจากยังไม่มีการค้นพบสาเหตุของอาการผมบางกรรมพันธุ์ที่แท้จริงว่าเกิดจากอะไร
ทั้งนี้ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญอาจเช็คดูสภาพเส้นผมด้วยเครื่องมือชนิดพิเศษที่ช่วยส่องขยายผิวหนังถึงชั้นผิวหนังแท้ เพื่อดูแนวเส้นผมที่ไม่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่าได้ หรือที่เรียกว่าเครื่องมือ Dermoscope เพื่อให้แน่ใจว่าอาการผมบางที่เกิดขึ้นไม่ได้เกิดจากเส้นผมไม่แข็งแรง เปราะบาง ผมขาดง่าย ผมร่วงเป็นหย่อม มีรอยแดงที่หนังศีรษะ มีกลากเกลื้อน อาการบวมหรือเลือดออก ซึ่งไม่ใช่อาการผมบางกรรมพันธุ์ผู้หญิง
หากท่านไม่แน่ใจว่ากำลังมีภาวะผมบางกรรมพันธุ์ผู้หญิงอยู่หรือไม่ สามารถปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านหนังศีรษะและเส้นผมของ Absolute Hair Clinic ได้ที่ Line : @absolutehairclinic
วิธีรักษาผมร่วง ผมบางกรรมพันธุ์ในผู้หญิง
โรคผมบางกรรมพันธุ์ผู้หญิง เป็นโรคผมบางที่ยังหาสาเหตุที่แน่ชัดไม่ได้ รวมไปถึงเป็นโรคเรื้อรังที่ต้องรักษาอย่างต่อเนื่อง โดยหากหยุดรักษาผมร่วง ผู้หญิงจะทำให้ฮอร์โมนกลับมาทำให้มีอาการผมร่วงได้อีกครั้ง และหากเข้ารับการรักษา ปล่อยทิ้งไว้นาน ๆ อาจทำให้มีอาการผมร่วงบางกรรมพันธุ์ผู้ที่หญิงที่ขยายเป็นวงกว้าง จนทำให้ศีรษะล้านรุนแรงได้
สำหรับวิธีรักษาผมร่วง ผู้หญิงจะเน้นไปที่การฟื้นฟูบำรุงรากผมให้แข็งแรง ลดการหลุดร่วงของเส้นผม รวมถึงกระตุ้นให้รากผมกลับมาทำงานได้อย่างเป็นปกติ โดยการรักษาผมร่วง ผู้หญิงมีหลากหลายวิธี ดังนี้
1. การใช้ยารักษาผมร่วง ผู้หญิง
การใช้ยารักษาผมร่วง ผู้หญิงมักจะใช้ตัวยาไมนอกซิดิวล์ (Minoxidil) ซึ่งเป็นตัวยาที่ใช้รักษาผมร่วง ผมบางกรรมพันธุ์ผู้หญิง โดยตัวยาจะไปออกฤทธิ์ขยายหลอดเลือดทำให้เลือดไปเลี้ยงที่รากผมมากขึ้น ส่งผลให้รากผมมีความแข็งแรงมากยิ่งขึ้น ผมร่วง ผมบางน้อยลง และยังช่วยกระตุ้นให้รากผมกลับมาทำงานได้อย่างปกติมากขึ้นอีกด้วย
สำหรับตัวยารักษาผมร่วง ผู้หญิงนี้มีทั้งชนิดเม็ดรับประทานและชนิดทาภายนอก ซึ่งยารับประทานนี้อาจทำให้มีอาการข้างเคียง เช่น ใบหน้า แขน ขามีอาการบวม มีอาการเวียนศีรษะ และหัวใจเต้นเร็ว รวมถึงอาจทำให้มีเส้นขนขึ้นที่ใบหูได้ สำหรับยาทาภายนอกอาจทำให้มีอาการข้างเคียง คือ หนังศีรษะแห้งลอกเนื่องจากมีแอลกอฮอล์ผสมอยู่ในตัวยารักษาผมร่วง ผู้หญิงชนิดทา
โดยการรักษาผมร่วง ผู้หญิงด้วยตัวยาไมนอกซิดิวล์นี้จำเป็นต้องใช้ต่อเนื่องอย่างน้อย 6 เดือน หากหยุดใช้ยาก็จะทำให้เส้นผมกลับมาเหมือนเดิม มีเส้นผมบาง เส้นเล็ก ผมไม่ค่อยงอกขึ้น และผมร่วงง่าย
2. การฟื้นฟูรากผมด้วยวิธีต่าง ๆ
อีกหนึ่งวิธีรักษาผมร่วง ผู้หญิงคือการกระตุ้นรากผมให้กลับมาแข็งแรง ซึ่งจะส่งผลให้เส้นผมหลุดร่วงได้ยาก ผมแข็งแรงขึ้น โดยในปัจจุบันมีวิธีการรักษาผมร่วง ผู้หญิงโดยการกระตุ้นรากผมหลากหลายวิธี อาทิ
- การฉีด PRP ผม เป็นการใช้เกล็ดเลือดเข้มข้นจากคนไข้เอง เพื่อฉีดเข้าไปกระตุ้นให้มีการสร้างเส้นเลือดฝอย ทำให้มีเลือดมาเลี้ยงที่รากผมมากขึ้น
- การฉีดสเต็มเซลล์ผม เป็นการสกัดสเต็มเซลล์จากรากผมบริเวณท้ายทอย และนำมาฉีดลงบนหนังศีรษะ ซึ่งเป็นการช่วยฟื้นฟูรากผมให้แข็งแรง
- เลเซอร์ LLLT เป็นการกระตุ้นรากผมให้กลับมาทำงานได้อย่างปกติ ช่วยให้การหมุนเวียนเลือดดีขึ้น ทำให้รากผมกลับมาแข็งแรงอีกครั้ง
- Fotona Laser กระตุ้นเส้นเลือดให้เลือดไปเลี้ยงรากผมและหนังศีรษะ ทำให้รากผมแข็งแรงขึ้น
สำหรับการรักษาด้วยการปลูกผมถาวรนั้น แพทย์ผู้เชี่ยวชาญมักไม่แนะนำให้รักษาในรายที่มีอาการผมบางกรรมพันธุ์ผู้หญิง เนื่อจากในผู้หญิงจะไม่มีรากผมที่เป็นผมถาวรเหมือนในผู้ชาย
โดยในรายที่มีปัญหาผมร่วง ผมบางกรรมพันธุ์ ผู้หญิงที่มีอาการไม่รุนแรงนั้น จะมีผมร่วง ผมบางในบริเวณท้ายทอยด้วยเช่นเดียวกัน หากทำการปลูกผมถาวรก็จะไม่ให้ผลลัพธ์เหมือนในผู้ชาย หากไม่มีการฟื้นฟูรากผมหรือการใช้ยาแก้ผมร่วงควบคู่ไปด้วย เส้นผมก็จะบางลง ผมร่วงได้หลังปลูกผมเช่นเดิม
ดังนั้น ผมบางกรรมพันธุ์ผู้หญิงจึงไม่เหมาะกับการปลูกผมถาวร และอาจทำให้ในบริเวณใกล้เคียงเกิดความช้ำไปด้วย ซึ่งจะทำให้ผมบางมากขึ้นกว่าเดิม โดยการปลูกผมถาวรในผู้หญิง แพทย์จะแนะนำให้ทำในกรณีที่มีผมร่ว ผมบางในบริเวณด้านหน้า หรือบริเวณศีรษะเถิก ที่มาจากสาเหตุของภาวะผมบาง ศีรษะเถิกโดยกำเนิด ไม่นิยมนำมาใช้รักษาผมบางกรรมพันธุ์ผู้หญิง
3. การปลูกผม
ส่วนในกรณีที่มีอาการผมร่วง ผมบางที่รุนแรงจริง ๆ แพทย์อาจพิจารณาการปลูกผม ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็น 3 เทคนิค ดังนี้
- ปลูกผม FUT คือ การปลูกผมโดยนำกอรากผมออกมา เป็นการตัดนำผิวหนังศีรษะบางส่วนที่มาพร้อมกับรากผม จากนั้นนำมาตัดแบ่งกอผมภายใต้การใช้กล้องจุลทรรศน์กำลังขยายสูง สุดท้ายนำรากผมที่ได้มาปลูกยังบริเวณที่ต้องการ
- ปลูกผม FUE คือ การปลูกผมโดยย้ายกอรากผม โดยการใช้เครื่องมือพิเศษเจาะส่วนเฉพาะรากผมส่วนที่แข็งแรงออกมา จากนั้นนำมาปลูกผมบริเวณที่ต้องการ
- ปลูกผม Long Hair FUE คือ การปลูกผมด้วยวิธีการเดียวกับ FUE เพียงแต่ไม่ต้องมีการโกนผมหรือตัดผมให้สั้นก่อนปลูก ช่วยให้ไม่ต้องรอให้เส้นผมยาวเท่ากับเส้นข้างเคียง ซึ่งเป็นวิธีปลูกผมผู้หญิงที่นิยมมากที่สุด
ข้อสรุป ‘โรคผมร่วง ผมบางกรรมพันธุ์ในผู้หญิง’
ถึงแม้ว่า โรคผมบางกรรมพันธุ์ผู้หญิงจะไม่สามารถรักษาที่ต้นเหตุได้ แต่สามารถรักษาฟื้นฟูรากผมให้แข็งแรงขึ้นได้ ด้วยการดูแลตัวเองรวมไปถึงรักษาทางการแพทย์ อย่างการใช้ยาและการฟื้นฟูรากผมด้วยวิธีต่าง ๆ ทั้งนี้แนะนำให้สังเกตตัวเองและรักษาตั้งแต่เนิ่น ๆ เพื่อหลีกเลี่ยงที่อาการผมร่วง ผู้หญิงจะรุกลามกลายเป็นปัญหาผมร่วง ผมบาง หนังศีรษะล้านที่เป็นวงกว้าง
หากสังเกตแล้วว่าตนเองกำลังเผชิญกับปัญหาผมบางกรรมพันธุ์ผู้หญิง ควรรีบปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านหนังศีรษะและเส้นผม เพื่อวิเคราะห์สาเหตุรวมไปถึงวางแนวทางการรักษาที่เหมาะสมกับปัญหาที่เกิดขึ้น
สำหรับท่านที่มีปัญหาผมร่วง ผู้หญิงผมบางกรรมพันธุ์ สามารถส่งรูปเข้ามาปรึกษากับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านหนังศีรษะและเส้นผมของ Absolute Hair Clinic ได้ที่ Line : @absolutehairclinic