ซึมเศร้าเรื้อรัง โรคที่เกิดจากภาวะทางจิต เศร้าสะสมเป็นเวลานาน

ซึมเศร้าเรื้อรัง

หากเราสังเกตเริ่มสังเกตตัวเอง หรือคนรอบข้างเริ่มมีภาวะของความสิ้นหวัง และพฤติกรรมที่แปลกไป ไม่ว่าจะมากหรือเล็กน้อย เราควรนำเช็กลิสต์เกี่ยวกับผู้ที่เป็นโรคซึมเศร้า หรือซึมเศร้าเรื้อรัง มาตรวจสอบอาการเหล่านี้ ว่าเข้าข่ายหรือไม่ ซึ่งโรคซึมเศร้าเรื้อรัง เข้าข่ายโรคซึมเศร้าที่แสดงออกในรูปแบบที่ไม่ได้ร้ายแรงเข้าขั้นวิกฤต แต่เกิดขึ้นกับแนวคิดและพฤติกรรม ทำให้ส่งผลกับการใช้ชีวิต และบุคลิกที่ใคร ๆ อาจจะมองว่าเป็นปกติของเราไปแล้ว

โรคซึมเศร้าเรื้อรัง คืออะไร แตกต่างจากโรคซึมเศร้าอย่างไร

โรคซึมเศร้าเรื้อรัง เรียกทางการแพทย์ว่า Persistent Depressive Disorder หรือเรียกอีกชื่อนั่นก็คือ Dysthymia ภาวะซึมเศร้าเรื้อรัง สามารถอธิบายอาการเบื้องต้นได้ง่าย ๆ ว่า เป็นภาวะของคนที่ Low Energy หรือบุคคลที่มีพลังงานน้อย ไม่อยากพบปะหรือออกไปทำกิจกรรม เหนื่อยง่าย กินมากจนเกินไปหรือกินน้อยจนเกินไป บางรายมีอารมณ์ค่อนข้างแปรปรวน ชอบรำคาญ โดยซึมเศร้าเรื้อรัง ก็ยังคงเสี่ยงกับการทำร้ายตัวเองเหมือนโรคซึมเศร้า

โรคซึมเศร้าเรื้อรัง Dysthymia มีความแตกต่างจากโรคซึมเศร้า (Major Depressive Disorder) ตรงที่ความรุนแรงของอาการไม่ได้ชัดเจน และไม่ได้รุนแรง แต่ด้วยความที่อาการไม่ได้รุนแรง และเป็นอาการเรื้อรัง ทำให้คนรอบตัวมองเห็นได้ยาก เพราะปัจจัยของซึมเศร้าเรื้อรัง คืออาการที่กินเวลานาน อย่างน้อย 2 ปี แน่นอนว่า ทั้งแนวความคิดของการใช้ชีวิต อารมณ์ของผู้เป็น คุณภาพการกิน หรือการนอน ก็เปลี่ยนไปจนกลายเป็นเรื่องปกติไปเสียแล้ว


ซึมเศร้าเรื้อรัง เกิดขึ้นจากสาเหตุใด

สาเหตุของอาการซึมเศร้าเรื้อรัง มีหลากหลายสาเหตุ โดยแบ่งเป็นแบบใหญ่ ๆ ได้ 2 ส่วน ซึ่งส่วนแรกคือสาเหตุทางชีววิทยา แน่นอนว่ามีสาเหตุเหมือนโรคซึมเศร้า ที่สารเคมีในสมองทำงานผิดปกติ หรือทางพันธุกรรม และการใช้ยาหรือสารเสพติดที่ส่งผลกับสภาวะทางอารมณ์ ในส่วนของสาเหตุอีกส่วนหนึ่งของซึมเศร้าเรื้อรัง คือสาเหตุจากสังคม การถูกกดดันจนเกินไป การถูกด้อยค่า รวมไปถึงการวิตกกังวลจากประสบการณ์ที่รุนแรงกับชีวิต


ซึมเศร้าเรื้อรัง มีอาการที่ควรสังเกตอย่างไร

  • โรคซึมเศร้าเรื้อรัง มีความรู้สึกท้อแท้ หมดกำลังใจ และมองโลกอย่างสิ้นหวัง คิดถึงแต่อดีตหากมีความทรงจำดี ๆ แต่ไม่มองอนาคต หรือไม่มีวิสัยทัศน์ของการใช้ชีวิตในอนาคต
  • พลังงานในการใช้ชีวิตน้อย เหนื่อยง่าย คุณภาพในการนอนหรือการกินบกพร่อง ซึมเศร้าเรื้อรัง เป็นอาการที่ทำให้ผู้เป็น กินมากจนเกินไป หรือกินน้อยจนเกินไป ไม่มีเรี่ยวแรงหรือความอยากในการทำกิจกรรม ไม่ต้องการเป็นที่สนใจ 
  • สภาวะอารมณ์ของผู้เป็นซึมเศร้าเรื้อรัง มักจะคาดเดาไม่ได้ บางครั้งก็หงุดหงิดง่าย หรือมีความรู้สึกอยากร้องไห้ สิ้นหวัง แสดงออกมาให้เห็น ซึมเศร้าเรื้อรัง ทำให้การอารมณ์แปรปรวนโดยไม่ทราบสาเหตุ บางครั้งก็มีก็แสดงออกที่แปลกประหลาด และเข้าใจยาก
  • ภาวะซึมเศร้าเรื้อรัง ทำให้ผู้ที่เป็น เกิดความคิดอยากทำร้ายตัวเอง และมีความเสี่ยงต่อการคิดฆ่าตัวตาย โดยจะทำการทำร้ายตัวเองเมื่ออยู่คนเดียว หรือทำเพราะคิดว่าจะบรรเทาความเจ็บปวดทางจิตใจ
  • ซึมเศร้าเรื้อรัง มักเป็นอาการที่บ่งบอกได้จากการไม่สนใจสิ่งรอบข้าง หากเราเป็นคนที่รู้จักหรือสนิทสนม กับผู้ที่เป็นโรคซึมเศร้าเรื้อรัง จะมองเห็นความผิดปกติ ทั้งการไม่รับฟัง ไม่พูดถึงเรื่องของตัวเอง และอารมณ์ที่แปรปรวน

การรักษาซึมเศร้าเรื้อรัง มีแนวทางอย่างไร

รักษาโรคซึมเศร้าเรื้อรัง

การรักษาซึมเศร้าเรื้อรัง จะไม่ใช่การเลือกรักษาเป็นกรณีใดกรณีหนึ่ง แต่จะเน้นรักษาควบคู่กันไป ทั้งการใช้ยา และรักษากับแพทย์ที่เชี่ยวชาญด้านจิตวิทยา และจิตบำบัด เพื่อให้คนไข้หรือผู้ป่วยโรคซึมเศร้าเรื้อรัง ตอบสนองต่อการรักษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ แน่นอนว่า แต่ละบุคคล จะมีการรักษาในกรณีที่แตกต่างกัน รวมถึงตัวยาที่จ่ายให้กับผู้ป่วย ก็แตกต่างกัน ซึ่งยาซึมเศร้า ราคาส่วนใหญ่ ไม่ได้สูงมาก แต่เน้นความต่อเนื่องในการรับประทาน

แน่นอนว่าทั้งการรักษาจิตบำบัด และการใช้ยาเพื่อช่วยรักษาซึมเศร้าเรื้อรัง ล้วนแล้วแต่ต้องได้รับการจ่ายยาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น


กรณีที่เป็นซึมเศร้าเรื้อรัง สามารถเป็นพร้อมกับโรคซึมเศร้าได้ไหม

โรคซึมเศร้าเรื้อรัง สามารถเป็นพร้อมกันกับโรคแพนิก และโรคซึมเศร้าได้ แน่นอนว่าหากเรามีอาการซึมเศร้าหนัก เบื้องต้น หากเข้ารับการรักษา จะใช้เวลาไม่นานเท่ากับอาการซึมเศร้าเรื้อรังที่มีสาเหตุจากการซึมเศร้าเป็นปี ซึ่งอาการทั้งสองอย่างใกล้เคียงกัน จะต้องวินิจฉัยจากแพทย์ว่าเราเป็นควบคู่กันหรือไม่ แต่เบื้องต้นหากเราได้รับการรักษาจากอาการซึมเศร้า แต่ยังคงประคับประคองจิตใจและหายยาก อาจจะเข้าข่ายของผู้ที่เป็นซึมเศร้าเรื้อรังได้


ซึมเศร้าเรื้อรัง ควรดูแลรักษาอย่างไร

  • อย่างแรกคือการเข้ารับการรักษาอาการซึมเศร้าเรื้อรัง แน่นอนว่าการจะเข้ารับการรักษาจะต้องได้รับการสนับสนุนจากบุคคลรอบตัว และให้การยอมรับว่าโรคซึมเศร้าเรื้อรัง เป็นโรคอย่างไร แก้ไขได้ด้วยการรับฟังและเข้าใจ
  • ให้เรารับฟังผู้ป่วย หรือเปลี่ยนวิธีการเข้าถึงผู้เป็นซึมเศร้าเรื้อรัง ไม่ควรใช้คำที่ทำให้ผู้ป่วยดูโดดเดี่ยว ควรใช้คำถามปลายเปิดเพื่อให้ผู้ป่วยเปิดใจ เช่นการถามว่าเขารู้สึกอย่างไร หากเราไม่เข้าใจให้พูดว่าสิ่งที่เราเข้าใจกับเขาเข้าใจเหมือนกันหรือไม่ หากไม่เหมือนช่วยให้เขาอธิบายเพิ่มเติม เพื่อให้เขารู้สึกว่าเราพยายามเข้าใจ และเป็นพื้นที่ปลอดภัยกับเขา
  • ช่วยผู้ป่วยให้ใช้ชีวิตปกติมากที่สุด เช่นการชวนให้ทำกิจกรรมในพื้นที่ ที่ผู้ป่วยรู้สึกปลอดภัย และไม่อึดอัด เช่นการหาอะไรทำที่บ้านผู้ป่วย พยายามให้ผู้ป่วยภาวะซึมเศร้าเรื้อรัง ได้ใช้พลังงานในการทำกิจกรรม ช่วยกระตุ้นให้ร่างกายทานอาหาร และนอนอย่างมีคุณภาพ

สรุปซึมเศร้าเรื้อรัง มองข้ามไม่ได้

โรคซึมเศร้าเรื้อรัง Dysthymia เป็นภาวะของผู้ที่ป่วยทางจิต โดยแสดงออกได้ทางพฤติกรรม ทั้งการที่ไม่อยากทำอะไรเลย ร่างกายอ่อนแรง ไม่อยากคุยกับใคร สุขภาพไม่ดี ทั้งการกินที่มากไปและน้อยไป รวมถึงการนอนที่ผิดปกติ แต่โรคนี้รักษาได้ด้วยการเข้ารับการรักษา ทั้งการใช้ยาที่จ่ายโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ และจิตบำบัด รวมไปถึงการให้กำลังใจจากคนรอบข้าง ถือเป็นเรื่องสำคัญที่จะทำให้ผู้ป่วยซึมเศร้าเรื้อรัง ผ่านปัญหาและหายจากโรคได้

Thank you for your Vote Rating
[Total: 0 Average: 0]