ปวดหัวคลัสเตอร์คืออะไร ? หลาย ๆ คนคงมีอาการปวดหัวเกิดขึ้นอยู่เป็นประจำ เนื่องจากเครียดเรื่องงานหรือปัญต่าง ๆ ที่อาจส่งผลเสียให้เกิดอาการในอนาคตได้ วันนี้เราได้รวบรวมอาการที่จะเกิดขึ้นก่อนปวดหัวรวมไปถึงการดูแลตัวเองเบื้องต้นมาให้ทุกคนได้ทราบในบทความนี้กัน
ปวดหัวคลัสเตอร์ (Cluster Headache)
ปวดหัวคลัสเตอร์ (Cluster Headache) เป็นภาวะปวดหัวรุนแรงที่เกิดขึ้นอย่างกะทันหัน โดยผู้ป่วยจะรู้สึกปวดหัวข้างเดียวหรืออาจปวดบริเวณรอบดวงตา ซึ่งอาจเกิดต่อเนื่องนานหลายชั่วโมง และอาจเกิดขึ้นหลายครั้งภายในวันเดียว ในขณะที่ปวดศีรษะคลัสเตอร์อาจมีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น ตาแดง น้ำมูกไหล เวียนหัว เป็นต้น โดยอาการนี้สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย แต่จะพบมากในวัยรุ่นและวัยผู้ใหญ่และจะมักพบในกลุ่มผู้ชายมากกว่ากลุ่มผู้หญิง
สัญญาณเตือนอาการปวดหัวคลัสเตอร์
อาการปวดหัวคลัสเตอร์มักมีความรุนแรงเกิดขึ้นอย่างฉับพลันและไม่มีสัญญาณเตือน โดยอาการอาจเกิดขึ้นนานประมาณ 15-180 นาที และความถี่ที่แสดงอาการจะแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล
อาการข้างเคียงที่มักเกิดร่วมกับอาการปวดหัว
อาการที่พบร่วมในขณะที่มีอาการปวดหัวคลัสเตอร์
- เหงื่อออกตามหน้าผาก
- มีอาการตาบวม
- ตาแดง น้ำตาไหล
- คัดจมูก
ปวดหัวคลัสเตอร์เกิดจากสาเหตุใด
ในปัจจุบันแพทย์ยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดของการอาการแต่สันนิษฐานว่ามีสาเหตุการปวดหัวคลัสเตอร์เกิดจากปัจจัยกระตุ้น เช่น แอลกอฮอล์ การเดินทาง การขึ้นที่สูง ได้รับยากลุ่มไนเตรท ซึ่งอาการปวดศีรษะแบบคลัสเตอร์มักพบในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง 5-6 เท่า ในรายที่ปวดเพียง 10 นาทีแล้วหาย การรับประทานยาอาจไม่จำเป็น แต่ในรายที่ปวดขั้นรุนแรงต้องใช้ยาช่วยให้การระงับความปวด หากทิ้งไว้นานอาจเป็นแรงกดดันถึงขั้นฆ่าตัวตายได้
ปัจจัยกระตุ้นอาการปวดหัวคลัสเตอร์
- การสูบบุหรี่
- การดื่มแอลกอฮอล์
- กลิ่นฉุน เช่น น้ำหอม สี น้ำมันเบนซิน เป็นต้น
- ความร้อน เช่น การอาบน้ำอุ่น ออกกำลังกายในห้องที่มีอากาศร้อน เป็นต้น
- มีประวัติคนในครอบครัวว่าเคยปวดหัวแบบคลัสเตอร์มาก่อน
- เกิดเนื้องอกในสมองหรือต่อมใต้สมอง
ปวดหัวคลัสเตอร์ อันตรายไหม
ปวดหัวคลัสเตอร์ (Cluster Headache) อาจส่งผลกระทบต่ออารมณ์ของผู้ป่วย เพราะเป็นโรคที่ไม่มีทางรักษาให้หายขาดได้ อีกทั้งยังคาดเดาเวลาที่เกิดอาการไม่ได้ จึงอาจทำให้ผู้ป่วยรู้สึกกระวนกระวาย ซึมเศร้า และอาจส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวันอย่างการเรียนหรือการทำงานได้
ปวดหัวคลัสเตอร์กับไมเกรนต่างกันอย่างไร
ปวดหัวคลัสเตอร์มีอาการค่อนข้างจะมีความคล้ายคลึงกันกับไมเกรน จึงทำให้หลายครั้ง แพทย์มีการวินิจฉัยผิดอยู่บ่อย ๆ ซึ่งในปัจจุบันนี้ยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดของอาการ จึงไม่อาจระบุวิธีป้องกันอย่างแน่ชัดได้ และแม้ภาวะนี้อาจไม่มีอันตรายถึงชีวิตแต่ก็ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ โดยจะแตกต่างกันกับอาการไมเกรนที่สามารถฉีดโบท็อกไมเกรนเพื่อหวังผลให้อาการบรรเทาลงได้
ใครบ้างที่เสี่ยงอาการปวดหัวคลัสเตอร์
กลุ่มเสี่ยงและพฤติกรรมที่มักจะพบว่าเกิดอาการปวดหัวคลัสเตอร์อยู่บ่อย ๆ มีดังนี้
- การสูบบุหรี่
- การดื่มแอลกอฮอล์
- กลิ่นฉุน เช่น น้ำหอม สี น้ำมันเบนซิน เป็นต้น
- ความร้อน เช่น การอาบน้ำอุ่น ออกกำลังกายในห้องที่มีอากาศร้อน เป็นต้น
- มีประวัติคนในครอบครัวว่าเคยปวดหัวแบบคลัสเตอร์มาก่อน
- เกิดเนื้องอกในสมองหรือต่อมใต้สมอง
ปวดหัวคลัสเตอร์แบบไหนควรพบแพทย์
ปวดศีรษะเป็นอาการที่พบได้โดยทั่วไป แต่หากสังเกตตัวเองว่ามีอาการเหล่านี้ อาจมีโอกาสที่จะมีอาการปวดหัวคลัสเตอร์ ควรเข้าปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจรักษาอย่างทันท่วงที
- ปวดศีรษะรุนแรงเฉียบพลันอย่างที่ไม่เคยปวดมาก่อนในชีวิต
- ปวดศีรษะทวีความรุนแรงขึ้นอย่างต่อเนื่อง รับประทานยาแก้ปวดแล้วไม่ดีขึ้น
- ปวดศีรษะเมื่อออกกำลังในกิจกรรมต่าง ๆ
- ปวดศีรษะร่วมกับอาการสับสน หลงลืม อ่อนเพลีย มีไข้สูง ความดันโลหิตสูง เกิดความผิดปกติทางการมองเห็น เสียการทรงตัว หมดสติ สูญเสียความรู้สึกตัว ซึมลง ชักเกร็ง
การวินิจฉัยอาการปวดหัวคลัสเตอร์
1. การซักประวัติและตรวจร่างกายเบื้องต้น
เมื่อมีอาการปวดศีรษะที่ต้องสงสัยว่าเป็นแบบปวดหัวคลัสเตอร์ ควรพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคระบบประสาทและสมองทันที เพื่อทำการซักประวัติและตรวจร่างกายเบื้องต้น
2. การตรวจ CT Scan
เป็นการตรวจวินิจฉัยโรคผ่านเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ ซึ่งแพทย์จะฉายรังสีเอกซเรย์ตามร่างกายบริเวณที่ต้องการตรวจ โดยใช้คอมพิวเตอร์สร้างเป็นภาพฉายลักษณะและอวัยวะภายในร่างกาย เพื่อประกอบการวินิจฉัยหาความผิดปกติของร่างกายต่อไป ซึ่งวิธีการนี้จะได้ภาพที่มีความละเอียดสูงกว่าการเอกซเรย์แบบธรรมดา และสามารถใช้ตรวจอวัยวะภายในร่างกายได้เกือบทุกส่วน
3. การตรวจ MRI
เป็นการเครื่องตรวจวินิจฉัยได้เกือบทุกส่วนของร่างกาย เช่น สมองและไขสันหลัง หน้าอก กระดูกและข้อต่อ หัวใจและหลอดเลือด ตับ มดลูก ต่อมลูกหมากหรืออวัยวะภายในอื่น ๆ โดยภาพที่ถ่ายได้จะมีความคมชัดสูง ทำให้การถ่ายภาพอวัยวะบางส่วนได้ข้อมูลในการวินิจฉัยโรคได้แม่นยำกว่าวิธีอื่น ๆ
วิธีแก้ปวดหัวแบบคลัสเตอร์
1. การใช้ยารักษาอาการปวดหัวคลัสเตอร์
ยาแก้ปวดหัวคลัสเตอร์ เป็นวิธีแก้ปวดหัวแบบคลัสเตอร์ที่ง่ายต่อการหาซื้อได้ทั่วไป แต่ก็อาจไม่สามารถช่วยได้ในกรณีนี้ เพราะยาดังกล่าวใช้เวลานานกว่าจะออกฤทธิ์ แต่อาการปวดหัวชนิดนี้เกิดขึ้นอย่างรุนแรงและฉับพลัน ซึ่งอาจหายไปภายใน 15 นาที
2. การรักษาด้วยการให้ออกซิเจนทางจมูก
การรักษาอาการปวดหัวแบบ cluster ด้วยออกซิเจนเป็นการรักษาทางเลือกที่ทำได้โดยให้ออกซิเจนบริสุทธิ์ผ่านทางหน้ากากออกซิเจนเพื่อช่วยบรรเทาอาการปวด โดยจะส่งผลทางการรักษาภายใน 15 นาที การรักษาด้วยวิธีนี้ปลอดภัยและไม่มีผลข้างเคียง แต่ใช้ได้ผลกับผู้ป่วยบางรายเท่านั้น
3. การฉีดยารอบเส้นประสาท
เป็นการรักษาโดยการใช้เข็มหรือใส่สายคาเพื่อให้ยาชาที่บริเวณเส้นประสาทส่วนปลาย เพื่อให้ยาชาออกฤทธิ์ยับยั้งการนำสัญญาณประสาทไม่ให้เข้าไปในไขสันหลัง จะทำภายใต้การใช้เครื่องคลื่นเสียงความถี่สูง ซึ่งแพทย์จะทำการตรวจสอบตำแหน่งเส้นประสาทก่อนจะให้ยา จึงทำให้ผู้ป่วยได้รับการระงับปวดหลังผ่าตัดที่มีประสิทธิภาพและมีความปลอดภัยสูง
ภาวะแทรกซ้อนจากการปวดหัวแบบคลัสเตอร์
อาการปวดหัวคลัสเตอร์ (Cluster Headache) อาจส่งผลกระทบต่ออารมณ์ของผู้ป่วย เพราะเป็นโรคที่ไม่มีทางรักษาให้หายขาดได้ อีกทั้งยังคาดเดาเวลาที่เกิดอาการไม่ได้ จึงอาจทำให้ผู้ป่วยรู้สึกกระวนกระวาย ซึมเศร้า และอาจส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวันอย่างการเรียนหรือการทำงานได้
นอกจากนี้ อาจมีผลข้างเคียงที่เกิดจากการรักษาด้วย เช่น
- การใช้ยาทริปเทนอาจมีผลข้างเคียง เช่น ปากแห้ง เวียนหัว เหนื่อย หรือรู้สึกหนักบริเวณใบหน้า หน้าอก แขนหรือขา เป็นต้น
- การผ่าตัดอาจมีผลข้างเคียง คือ กล้ามเนื้อบริเวณกรามอ่อนแรง หรือสูญเสียประสาทสัมผัสบนใบหน้าบางส่วน
แนวทางการป้องกันอาการปวดหัวคลัสเตอร์
ขณะนี้ยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดของอาการปวดหัวคลัสเตอร์ (Cluster Headache) จึงไม่อาจระบุวิธีป้องกันอย่างแน่ชัดได้ และแม้ภาวะนี้อาจไม่มีอันตรายถึงชีวิตแต่ก็ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ ดังนั้น ผู้ป่วยควรป้องกันอาการกำเริบด้วยวิธีบรรเทาอาการปวดหัวแบบคลัสเตอร์ ดังนี้
- ไม่อยู่บนที่สูง
- ไม่อยู่ในสถานที่ที่มีความร้อน
- ไม่ทำกิจกรรมที่ต้องออกแรงมาก
- หลีกเลี่ยงของที่มีกลิ่นแรง และอาหารที่มีไนเตรต
- ไม่ดื่มแอลกอฮอล์ ไม่สูบบุหรี่ และไม่ใช้สารเสพติดอื่น ๆ
- ใช้ยาเพื่อช่วยลดความเสี่ยงและทำให้เกิดอาการปวดหัวน้อยลง เช่น สเตียรอยด์ เวอราปามิล ลิเทียม เมทิเซอไจด์ เออร์โกตามีน เมลาโทนิน ยาต้านชักบางชนิดอย่างโทพิราเมท เป็นต้น
ข้อสรุป
ปวดหัวคลัสเตอร์ (Cluster Headache) เป็นภาวะปวดหัวรุนแรงที่เกิดขึ้นอย่างกะทันหัน โดยอาการนี้สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย ซึ่งอาการจะขึ้นอยู่กับปัจจัยที่ทำให้เกิด หากไม่แน่ใจเรื่องอาการควรปรึกษาแพทย์ ให้แพทย์ผู้เชี่ยวชาญเป็นคนวินิจฉัยจะดีที่สุด เพราะหากรับประทานยาผิด ไม่ตรงกับอาการป่วยที่เราเป็น จะยิ่งทำให้เกิดอันตรายต่อตัวผู้ป่วยเอง