ดวงตา เป็นอวัยวะที่สำคัญต่อการดำรงชีวิตประจำวันเป็นอย่างมาก ช่วยในการมองเห็นสีสันต่างๆได้รับรู้การมองเห็นสิ่งรอบข้างอย่างชัดเจน แต่มาวันหนึ่งเกิดปัญหากับดวงตาเกิดต้อกระจกขึ้นมา ทำให้การมองเห็นเปลี่ยนไป แก้วตาขุนขาวทึบแสงการเห็นแสงเรือนร่าง การมองเห็นไม่ชัด เป็นอาการหนึ่งของผู้ป่วยที่ต้องได้รับการผ่าตัดต้อกระจก
ผ่าตัดต้อกระจก เป็นการแก่ปัญหาที่ตรงจุดที่สุด เพื่อจะให้ผู้ที่เข้ารับการรักษากับจักษุแพทย์ได้รับความมั่นใจได้ว่าจะกลับมามองเห็นชัดเหมือนเดิม และแก้ปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นกับดวงตาให้หายไปที่เกิดมาจากอาการของต้อกระจกเป็นการรักษาที่ต้นเหตุและจะไม่กลับมาเป็นซ้ำอย่าแน่นอน
รู้จักโรคต้อกระจก
โรคต้อกระจก (Cataract) เป็นอาการเสื่อมของเลนส์ตา โดยปกติหน้าที่เลนส์ตาจะมีหน้าที่รวบรวมแสงหรือการหักเหของแสงให้กับดวงตา โรคต้อกระจกมักจะเกินขึ้นกับผู้สูงอายุที่มีอายุ 55 ปีขึ้นไป ลักษณะอาการดวงตาจะมีสีขาวขุน มองภาพไม่ชัดเจน การมองเห็นสีเพี้ยนไปจากเดิม มองเห็นเป็นภาพซ้อน การมองเห็นลดลงไปจากเดิมมากเมื่อเกิดอาการเหล่านี้ ควรรีบรับการผ่าตัดต้อกระจกโดยเร็ว
ผ่าตัดต้อกระจก
เมื่อเริ่มมีอาการผู้ป่วยส่วนใหญ่มักจะคิดว่า การผ่าตัดต้อกระจก ไม่มีความสำคัญ และคิดว่าเกิดจากอายุที่มากจึงทำให้ไม่ใส่ใจเท่าที่ควร จึงได้หายาทานเอง หรือ ใช้ยาหยอดตาเข้ามาช่วยรักษา แต่อาการจะดีขึ้นเพียงชั่วคราวเท่านั้น และจะกลับมาเป็นซ้ำแบบดังเดิมอีกครั้ง
ผ่าตัดต้อกระจก เป็นวิธีการรักษาต้อกระจกที่จักษุแพทย์แนะนำ โดยใช้วิธีการผ่าตัดเปลี่ยนเลนส์ตาเทียมให้กับผู้ป่วยจะเป็นการรักษาอย่างตรงจุด ฟื้นฟูการมองเห็นให้กลับมาเป็นเหมือนเดิน และยังสามารถช่วยปัญหาสายตาสั้นสายตายาวได้อีกด้วย ในปัจจุบันยังไม่มีตัวยาหรือยาหยอดตาชนิดไหนที่จะช่วยรักษาต้อกระจกได้
การผ่าตัดต้อกระจกมีกี่วิธี
เมื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับโรคต้อกระจกพอสังเขป มีลักษณะอาการอย่างไร ในขั้นตอนการรักษา จักษุแพทย์จะแบ่งแยกอาการความรุนแรงตัดต้อกระจก เพื่อใจเลือกวิธีผ่าตัดต้อกระจก ให้เหมาะสมจะขึ้นกับดุลพินิจของจักษุแพทย์ การผ่าตัดต้อกระจกมีอยู่ 2 แบบ ดังนี้
การผ่าตัดต้อกระจกแบบเดิม
วิธีการผ่าตัดต้อกระจกแบบเดิม เป็นการผ่าตัดต้อกระจกแบบเปิดแผลกว้าง เหมาะสำหรับการผ่าตัดในกรณีต้อกระจกแข็งมาก หรือ ต้อกระจกสุก แผลผ่าตัดกว้างประมาณ 10 มม. จึงต้องใช้เวลาในการพักฟื้นนานกว่าการผ่าตัดต้อกระจกแบบอื่น
การผ่าตัดต้อกระจกสมัยใหม่
วิธีการผ่าตัดต้อกระจกสมัยใหม่ เป็นการใช้เทคโนโลยีด้านการรักษาเข้ามาช่วยในการผ่าตัดต้อกระจกโดยจักษุแพทย์จะใช้คลื่นความถี่สูงแบบมาตรฐานหรือคลื่นอัลตร้าซาวด์ยิงไปสลายต้อกระจกให้เป็นชิ้นเล็กๆ จึงดูดออกมา วิธีการผ่าตัดต้อกระจกแบบนี้จะแผลมีขนาดเล็กทำให้ใช้เวลาการพักฟื้นน้อย สามารถทำการรักษาได้ตั้งแต่เริ่มมีอาการต้อกระจก
การเตรียมตัวก่อนผ่าตัดต้อกระจก
เมื่อจักษุแพทย์ได้ประเมินอาการและลงความเห็นที่จะต้องผ่าตัดต้อกระจก ผู้ที่เข้ารับการรักษาควรเตรียมตัวก่อนผ่าตัดต้อกระจก เพื่อไม่ให้เกิดสภาวะแทรกซ้อนระหว่างการผ่าตัดหรือหลังการผ่าตัด ดังนั้น ควรทำความเข้าใจและปฏิบัติตามคำแนะนำของจักษุแพทย์อย่างเคร่งครัด ดังนี้
- ควรทำความสะอาดเส้นผมใบหน้าให้สะอาดเรียบร้อยไม่ใช้สบำรุงผมหรือการแต่งหน้าและงดครีมบำรุงทุกชนิด
- เมื่อเกิดอาการผิดปกติก่อนเข้ารับการผ่าตัดต้อกระจก เช่น ตาแดง ตากุ้งยิง ฯลฯต้องแจ้งให้จักษุแพทย์รับทราบก่อนการผ่าตัด
- ผู้ที่จะเข้ารับการผ่าตัดต้อกระจกมีโรคประจำตัวหรือรับประทานยาเป็นประจำควรแจ้งให้จักษุแพทย์รับทราบ เพราะยาบางชนิดต้องงดรับประทาน 1 สัปดาห์ก่อนเข้ารับการผ่าตัด
- งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และบุหรี่ 3 – 7 วันก่อนเข้ารับการผ่าตัดต้อกระจก ในตัวเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ มีสารออกฤทธิ์ ทำให้ความดันสูง
- พักผ่อนให้เพียงพอ 8 – 12 ชั่วโมง เพื่อเตรียมความพร้อมของร่างกายก่อนการผ่าตัดต้อกระจก
การตรวจสภาพสายตาก่อนผ่าตัดต้อกระจก
ก่อนการจะผ่าตัดต้อกระจก ผู้ป่วยต้องได้รับการประเมินจากจักษุแพทย์แบบละเอียด เพื่อในการวางแผนการผ่าตัดและประเมินสภาพสายตาก่อนผ่าตัดต้อกระจก จักษุแพทย์จะทำการตรวจ ตรวจระดับการมองเห็น ตรวจวัดความดันลูกตา ตรวจความโค้งของกระจกตา ตรวจจอประสาทตา ตรวจค่ากำลังเลนส์ตา เป็นต้น
หลังจากจักษุแพทย์ได้รวบรวมผลการตรวจ จะชี้แจ้งรายละเอียดให้ทราบ และให้ผู้เข้ารับการรักษาตัดสินใจเลือกชนิดของเลนส์เทียม
ขั้นตอนการผ่าตัดต้อกระจก
เมื่อผู้ป่วยต้องได้รับการผ่าตัดต้อกระจก ทางจักษุแพทย์จะได้ทำการอธิบายถึงขั้นตอนการผ่าตัดให้ทราบ เพื่อทำความเข้าใจกับผู้เข้ารับการรักษา ผ่าตัดต้อกระจก ต้องนอนโรงพยาบาลไหม และหากมีข้อสงสัยด้านไหนสามารถสอบถามทางจักษุแพทย์ เพื่อให้รู้คำตอบที่แน่ชัด ก่อนเข้ารับการผ่าตัดต้อกระจก โดยขั้นตอนการผ่าตัดจะมีดังนี้
ขั้นตอนวิธีการผ่าตัดต้อกระจกแบบเก่า
- ทางจักษุแพทย์จะทำการทำความสะอาดรอบดวงตาพร้อมทำการฆ่าเชื้อบริเวณรอบๆ
- จักษุแพทย์หยอดยาชาเพื่อไม่ให้ผู้เข้ารับการผ่าตัดไม่รู้สึกระคายเคืองหรือรู้สึกเจ็บระหว่างการผ่าตัดต้อกระจก
- จักษุแพทย์จะเริ่มทำการผ่าตัดจะเปิดแผลที่ดวงตาแบบเก่าประมาณ 10 มม.
- ทางจักษุแพทย์จะทำการดูดส่วนต้อกระจกออกให้หมดให้เหลือแต่ถุงหุ้มเลนส์
- นำเลนส์เทียมที่ผู้ป่วยได้ทำการเลือกไว้จัดว่างให้ถูกตำแหน่งแล้วทำการเย็บแผลให้สนิท
ขั้นตอนวิธีการผ่าตัดต้อกระจกสมัยใหม่
- จักษุแพทย์จะทำความสะอาดทั่วใบหน้าและรอบดวงตาให้ปราศจากเชื้อโรค
- จักษุแพทย์จะทำการฉีดยาชาเฉพาะจุด เพื่อไม่ให้รู้สึกเจ็บระหว่างทำการรักษา
- ทำเปิดปากแผลขอบตาดำขนาดประมาณ 2.4 – 3 มิลลิเมตร
- จะทำการยิงคลื่นอัลตร้าซาวด์เข้าไปทำลายตัวต้อกระจกแล้วดูดคราบของต้อกระจกออกจนหมด
- จะทำการใส่เลนส์แก้วตาเทียมตามที่ผู้เข้ารับการรักษาเลือกไว้จึงทำการเย็บแผล
จะเห็นได้ว่าทั้งสองวิธีมีความคล้ายกันเป็นอย่างมากโดยวิธีการรักษาจะขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของจักษุแพทย์ ที่เลือกการผ่าตัดต้อกระจกให้เหมาะสมกับผู้เข้ารับการรักษา
ในส่วนของเลนส์เทียมจะมีให้เลือกอยู่กันหลายแบบ เช่น เลนส์ชัดระยะเดียว (Monofocal) เลนส์ชัดหลายระยะ (Multifocal) และแต่ละเลนส์จะแบ่งแยกย่อยออกไปให้เลือกตามความเหมาะสมของผู้เข้ารับการรักษา การผ่าตัดต้อกระจกไม่ต้องนอนโรงพยาบาล เพราะถือว่าเป็นการผ่าตัดขนาดเล็ก
การดูแลตัวเองหลังผ่าตัดต้อกระจก
การดูแลหลังการผ่าตัดต้อกระจก เป็นเรื่องที่สำคัญเป็นอย่างมาก เพราะหลังจากการผ่าตัดผู้จะยังมองเห็นยังไม่ค่อยชัดเจน เนื่องจากหลังจากการผ่าตัดต้องใช้เวลาในการให้สายตาปรับเข้ากับเลนส์เทียมที่ใส่เข้าไป โดยทางจักษุแพทย์จะได้แนะนำการปฏิบัติตัวการดูแลตัวเองหลังผ่าตัดต้อกระจก ดังนี้
- ให้ผู้เข้ารับการรักษาผ่าตัดต้อกระจกต้องครอบตาหรือใส่แว่นตากันแดดทุกครั้งเพื่อป้องกันแสงสว่างมากเกินไปและป้องกันเศษฝุ่นหรือละอองต่างๆเข้ามายังดวงตา
- ควรระมัดระวังห้ามให้น้ำเข้าตาหรือสารเคมีต่างที่ใช้ในการแต่งหน้าหรือบำรุงผมเด็ดคาดเพราะอาจจะเกิดการติดเชื้อขึ้นมาได้
- ขณะนอนหลับควรนอนหงายและใส่ที่ครอบตาขณะนอนเพื่อป้องกันการขยี้ตาระหว่างตอนนอนหลับ
- เช็ดทำความสะอาดใบหน้าและรอบดวงตาด้วยน้ำเกลือเพื่อป้องกันเชื้อโรคอยู่รอบบริเวณเข้าดวงตา
- ควรหลีกเลี่ยงกิจกรรมการแจ้งหรือการใช้กำลังที่ส่งผลกระทบกับดวงตาเพื่อป้องกันการอักเสบของดวงตา
- ควรพักสายตาระหว่างวันไม่ว่าจะเป็นการอ่านหนังสือ หรือการเล่นมือถือดูทีวี ควรเว้นช่วงพักสายตาเพื่อไม่ให้ดวงตาทำงานหนักจนเกินไป
- รับประทานยาหรือหยอดตา ตามจักษุแพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด
ผ่าตัดต้อกระจก พักฟื้นกี่วัน
การผ่าตัดต้อกระจก พักฟื้นกี่วันนั้นจะขึ้นอยู่กับ วิธีการผ่าตัดที่จักษุแพทย์ เลือกการผ่าตัดด้วยวิธีใด เช่น การผ่าตัดต้อกระจกแบบเก่า ใช้เวลาในการพักฟื้น 4-8 สัปดาห์ เพื่อให้ดวงตากลับมาเห็นชัดแบบดังเดิม และการผ่าตัดต้อกระจกแบบใหม่ ใช้เวลาพักฟื้นประมาณ 1 สัปดาห์เพราะมีขนาดแผลที่เล็กกว่า
ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นหลังผ่าตัด
ในบางครั้งผู้เข้ารับการผ่าตัดต้อกระจกมีความกังวลและมีคำถามมากมายหรือแม้กระทั่ง ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นหลังผ่าตัด ผ่าตัดต้อกระจก อันตรายไหม มีอาการ ติดเชื้อหลังผ่าตัดต้อกระจกหรือไหม และมีวิธีการรักษาแบบไหน จะมาอธิบายให้หายสงสัย
- ถุงหุ้มเลนส์ขุ่น (Posterior Capsule Opacification) เป็นภาวะที่มักจะเกิดขึ้นหลังจากการผ่าตัดต้อกระจกไปนานหลายปี โดยมีวิธีการรักษาที่นิยมใช้มากที่สุดทำเลเซอร์ YAG capsulotomy ยิงเข้าไปในเลนส์ตาที่ขุ่นใช้เวลาการรักษาประมาณ 5-10 นาที และจะกลับมามองเห็นแบบปกติได้ทันที
- จุดรับภาพตรงกลางบวม (Cystoid Macular Edema : CME) เป็นภาวะที่พบได้บ่อยหลังจากการผ่าตัดต้อกระจก มักจะพบหลังจาก 1 – 2 สัปดาห์ มองเห็นภาพไม่ชัดและส่วนใหญ่อาการเหล่านี้จะหายไปเองภายใน 6 เดือน
- อาการ ติดเชื้อหลังผ่าตัด ต้อกระจกหรือติดเชื้อแบคทีเรีย มีโอกาสน้อยมากถึงจะเกิดขึ้น มักจะมีอาการ ปวดตา ตาแดง น้ำตาไหล มีอาการเคืองตาตลอดเวลา จะติดเชื้อหลังการผ่าตัดต้อกระจก 3-4 วัน สาเหตุมาจากการไม่ดูแลความสะอาดให้ดีหลังการผ่าตัดให้ดี หากเริ่มมีอาการรีบไปหาจักษุแพทย์
ผ่าตัดต้อกระจกราคาเท่าไหร่
อีกหนึ่งปัญหายอดนิยมในการผ่าตัดต้อกระจก ที่ทำให้ผู้ที่เข้ารับการรักษากังวลใจไม่แพ้กัน คือ ผ่าตัดต้อกระจก ราคาเท่าไหร่ ค่าใช้จ่ายแพงหรือไม่ ขึ้นอยู่โรงพยาบาลที่เข้ารับการรักษาของทางภาครัฐหรือเอกชน การผ่าตัดต้อกระจก ราคา ประมาณ 18,000 – 40,000 บาท และราคาการผ่าตัดต้อกระจกจะขึ้นอยู่กับการเลือกเลนส์ตาเทียมของผู้ที่เข้ารับการผ่าตัด
ผ่าตัดต้อกระจก เบิกได้ไหม
สำหรับผ่าตัดต้อกระจก เบิกได้ไหมสามารถใช้สิทธิต่างๆอะไรได้บ้าง ผ่าตัดต้อกระจกสามารถเบิกได้ทั้ง สิทธิประกันสังคม สิทธิบัตรทอง และสิทธิข้าราชการ ฯลฯ ครอบคลุมไปถึงเลนส์เทียมที่สามารถเบิกได้ทั้งหมด แต่ทั้งนี้จะขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของโรงพยาบาลที่เข้ารับการรักษาและการเลือกชนิดของเลนส์เทียม
ข้อสรุป
ผ่าตัดต้อกระจก ไม่ได้เป็นอันตรายยังที่หลายคนกลัว ถือว่าเป็นการผ่าตัดที่ปลอดภัยที่สุดเลยก็ว่าได้ ทั้งใช้เวลาน้อยในการผ่าตัด และผลข้างเคียงแทบจะไม่พบเจอ และยังสามารถช่วยแก้ปัญหาด้านสายตาให้กลับมามองเห็นอย่างชัดเจน เมื่อรู้สึกเริ่มมีอาการต้อกระจกควรรีบรับการตรวจจากจักษุแพทย์เพื่อทำการรักษาโดยเร็ว