การไม่มีโรคเป็นลาภอันประเสริฐ เป็นคำกล่าวที่ใช้ได้ในทุกยุคทุกสมัย ใครๆก็อยากมีสุขภาพที่ดี ปลอดโรคร้ายต่างๆ ซึ่งการตรวจสุขภาพประจำปีจะช่วยลดความเสี่ยงที่จะเป็นโรคร้ายแรงเพราะสามารถรักษาได้แต่เนิ่น หลายคนอาจจะคิดว่า การตรวจสุขประจำปีมีค่าใช้จ่ายที่สูง แต่ให้ลองคิดกลับกันว่า หากรู้ช้าเกินไป โรคบางอย่างอาจจะรักษาไม่ได้ รักษาได้ยาก และเสียค่าใช้จ่ายมากกว่าเดิม เมื่อได้รู้ถึงความสำคัญของการตรวจสุขประจำปีแล้ว เรามาดูกันต่อว่า ตรวจสุขประจำปีตรวจอะไรบ้าง และมีรายละเอียดอะไรบ้าง
ทำไมต้องตรวจสุขภาพทุกปี
ปัจจัยที่ก่อให้เกิดโรคร้ายในชีวิตประจำวันนี้มีอยู่มากมาย อาหารไม่มีประโยชน์ที่กินเข้าไป อากาศเสียที่หายใจเข้าไป การดำเนินกิจวัตรประจำวันแบบสุขลักษณะ อาจจะก่อโรคให้เราแบบไม่รู้ตัว ดังนั้นเราจึงควรมีการตรวจสุขภาพประจำปี เพื่อคอยสอดส่องว่าร่างกายมีส่วนไหนที่ผิดปกติหรือเปล่า
- รู้เร็วหายเร็ว
โรคเกือบทุกชนิด จะรักษาได้ยาก หากปล่อยให้เรื้อรัง ดังนั้นหากเรารู้แต่เนิ่นๆว่าเรากำลังเป็นโรคอะไรอยู่ และรีบทำการรักษาทันที โรคก็สามารถรักษาให้หายได้เร็วกว่าปล่อยจนเรื้อรัง เพราะการป้องกันแต่เนิ่นๆ ย่อมดีกว่ารักษาเมื่ออาการหนักแล้ว
- เพื่อให้ตระหนักได้ทันท่วงทีก่อนสายเกินไป
แต่ก็มีโรค และความผิดปกติบางประเภทที่แทบไม่แสดงอาการให้เห็นเลย เช่น มะเร็ง เนื้องอก หรือความผิดปกติของอวัยวะภายใน ซึ่งเราไม่สามารถรู้เลย หากไม่ทำการตรวจภายใน หรือตรวจเฉพาะทาง แล้วโรคดังกล่าว ก็มีความรุนแรงถึงแก่ชีวิตได้ ดังนั้นการตรวจสุขประจำปีเท่านั้นที่จะทำให้เราสามาถรู้ทันโรคเหล่านี้ และรักษาได้ทันท่วงที ก่อนลุกลามจนยากจะรักษา
- เพื่อหาทางป้องกัน และรับมือ
ร่างกายของเรา ไม่ว่าจะเป็นอวัยวะภายใน หรืออวัยวะภายนอกที่จับต้องได้ สามารถบำรุงรักษาได้ ซึ่งหากได้ทำการตรวจสุขภาพประจำปี จะทำให้เรารู้ ค่าสำคัญต่างๆในร่างกาย เช่น ค่าน้ำตาลในเลือด ไขมันในร่างกาย ซึ่งตัวเลขที่แสดงผลออกมาจะทำให้เราตระหนักว่าต้องเริ่มปรับพฤติกรรมในการดำเนินชีวิต เช่น การออก กำลังกาย การทานอาหารที่มีประโยชน์ และงดทานอาหารที่ให้ผลเสียกับร่างกาย
ตรวจสุขภาพประจำปี ต้องตรวจอะไรบ้าง
โปรแกรมการตรวจสุขภาพประจำปี มีความแตกต่างกันไปตาม อายุ และเพศของแต่ละคน เพราะเพศชาย และหญิงมีจุดที่ต้องตรวจเพื่อเฝ้าระวังที่ต่างกัน รวมไปถึงหากมีอายุที่มาก ความเสี่ยงที่จะเกิดโรคก็สูงกว่าคนอายุน้อย ดังนั้นยิ่งมีอายุมาก โปรแกรมการตรวจสุขภาพประจำปีก็จะมีความละเอียดมากยิ่งขึ้น โดยอายุที่ควรเริ่มทำการตรวจสุขภาพประจำปีอยู่ที่อายุ 20 เป็นต้นไป
การตรวจสุขภาพประจำปี เพศ รวมถึงอายุของแต่ละช่วงวัย ก็จะมีส่วนที่ต้องตรวจเพิ่มต่างกัน เนื่องจาก เพศหญิงและเพศชายก็มีจุดที่ควรเฝ้าระวังต่างกัน อีกทั้งเมื่ออายุเพิ่มมากขึ้น ความเสี่ยงที่จะเกิดโรคต่าง ๆ ก็เพิ่มขึ้นตาม โดยควรเริ่มเข้ารับการตรวจประจำปีตั้งแต่อายุ 20 ปีเป็นต้นไป โดยโปรแกรมการตรวจสุขภาพประจำปีตรวจอะไรบ้าง ในแต่ละเพศ และแต่ละช่วงอายุมี มีรายละเอียดดังนี้
โปรแกรมตรวจสุขภาพประจำปีสำหรับผู้ที่มีช่วงอายุต่ำกว่า 30 ปี
หญิงอายุต่ำกว่า 30 ปี
- การตรวจวัดพื้นฐานหาค่าดัชนีมวลกาย
- วัดความดันโลหิต
- ตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือด
- ตรวจตับ
- ตรวจไต
- ตรวจปัสสาวะ
- ตรวจเอ็กซเรย์ปอดและหัวใจ
ชายอายุต่ำกว่า 30 ปี
- การตรวจวัดพื้นฐานหาค่าดัชนีมวลกาย
- วัดความดันโลหิต
- ตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือด
- ตรวจตับ
- ตรวจไต
- ตรวจปัสสาวะ
- ตรวจเอ็กซเรย์ปอดและหัวใจ
โปรแกรมตรวจสุขภาพประจำปีสำหรับผู้มีอายุ 30 ปีขึ้นไป
หญิงอายุ 30 – 40 ปี
- การตรวจวัดพื้นฐานหาค่าดัชนีมวลกาย
- วัดความดันโลหิต
- ตรวจตับ
- ตรวจไต
- ตรวจปัสสาวะ
- ตรวจเอ็กซเรย์ปอดและหัวใจ
- ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ*
- ตรวจอุจจาระ
- ตรวจมะเร็งปากมดลูก มะเร็งรังไข่ มะเร็งเต้านม
หญิงอายุ 40 – 50 ปี
- การตรวจวัดพื้นฐานหาค่าดัชนีมวลกาย
- วัดความดันโลหิต
- ตรวจตับ
- ตรวจไต
- ตรวจปัสสาวะ
- ตรวจเอ็กซเรย์ปอดและหัวใจ
- ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ*
- ตรวจอุจจาระ*
- ตรวจมะเร็งปากมดลูก มะเร็งรังไข่ มะเร็งเต้านม
- ตรวจการทำงานของต่อมไธรอยด์
- ตรวจวัดสายตา และความผิดปกติเกี่ยวกับตา
หญิงอายุ 50 ปีขึ้นไป
- วัดความดันโลหิต
- ตรวจตับ
- ตรวจไต
- ตรวจปัสสาวะ
- ตรวจเอ็กซเรย์ปอดและหัวใจ
- ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ*
- ตรวจอุจจาระ*
- ตรวจมะเร็งปากมดลูก มะเร็งรังไข่ มะเร็งเต้านม*
- ตรวจการทำงานของต่อมไธรอยด์**
- ตรวจวัดสายตา และความผิดปกติเกี่ยวกับตา**
- ตรวจกระดูกและมวลกระดูก
ชายอายุ 30 – 40 ปี
- การตรวจวัดพื้นฐานหาค่าดัชนีมวลกาย
- วัดความดันโลหิต
- ตรวจตับ
- ตรวจไต
- ตรวจปัสสาวะ
- ตรวจเอ็กซเรย์ปอดและหัวใจ
- ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ
- ตรวจอุจจาระ
ชายอายุ 40 – 50 ปี
- การตรวจวัดพื้นฐานหาค่าดัชนีมวลกาย
- วัดความดันโลหิต
- ตรวจตับ
- ตรวจไต
- ตรวจปัสสาวะ
- ตรวจเอ็กซเรย์ปอดและหัวใจ
- ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ*
- ตรวจอุจจาระ*
- ตรวจการทำงานของต่อมไธรอยด์**
- ตรวจวัดสายตา และความผิดปกติเกี่ยวกับตา**
ชายอายุ 50 ปีขึ้นไป
- การตรวจวัดพื้นฐานหาค่าดัชนีมวลกาย
- วัดความดันโลหิต
- ตรวจตับ
- ตรวจไต
- ตรวจปัสสาวะ
- ตรวจเอ็กซเรย์ปอดและหัวใจ
- ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ
- ตรวจอุจจาระ*
- ตรวจการทำงานของต่อมไธรอยด์
- ตรวจวัดสายตา และความผิดปกติเกี่ยวกับตา
- ตรวจกระดูกและมวลกระดูก
- ตรวจมะเร็งต่อมลูกหมาก
จะเห็นได้ว่าอายุ 50 ปีขึ้นไป ทั้งเพศชาย และเพศหญิง โปรแกรมการตรวจสุขภาพมีความละเอียดมาก ซึ่งคนมีอายุหลายคน มักชอบกลัวว่า ตรวจเยอะก็มักจะเยอะ ซึ่งเป็นความคิดที่ไม่ดี เพราะต่อให้ไม่ตรวจโรคนั้นก็ยังอยู่กับร่างกายเราอยู่ดี สู้ยอมรับ ว่าตัวเรามีโรคอะไร เพื่อหาวิธีป้องกันรักษาดีกว่า
รายละเอียดการตรวจสุขภาพประจำปี
การตรวจสุขภาพประจำปี ทุกขั้นตอนการตรวจมีเหตุผลในการตรวจ เราจะมาดูรายละเอียดทีละข้อ เพื่อจะได้ทราบถึงวัตถุประสงค์การตรวจในแต่ละจุด ว่าตรวจไปเพื่อประเมินอะไร
- การตรวจสุขภาพเบื้องต้น
การชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง เช็คความดัน ซึ่งเป็นข้อมูลพื้นฐานที่ต้องทำการตรวจเป็นอย่างแรก เพราะตัวเลขเหล่านี้สามารถบอกได้ว่าสุขภาพเราดี หรือทรุดโทรมอยู่
- การซักประวัติทางสุขภาพ
การให้ผู้ตรวจสุขภาพได้ทำการพูดคุยกับแพทย์ เพื่อสอบถามประวัติสุขภาพเบื้องต้น เช่น โรคประจำตัว ประวัติแพ้ยา มีพฤติกรรมอะไรที่เสี่ยงทำให้เกิดโรคหรือไม่ เช่น ดื่มเหล้า สูบบุหรี่ ซึ่งแพทย์จะทำการดูข้อมูลเบื้องต้นจากการตรวจอื่นๆที่มีก่อน เช่น น้ำหนัก ส่วนสูง ความดัน และให้คำแนะนำในการบำรุงสุขภาพว่าต้องไปในทิศทางไหน โดยการซักถามประวัติสุขภาพ มักจะทำหลังจากมีการตรวจสุขภาพเบื้องต้นอื่นๆไปเเล้วบ้าง
- ตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด (CBC)
เป็นการตรวจเลือด เพื่อตรวจสอบความผิดปกติในส่วนประกอบของเลือด เช่น เม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาว เกล็ดเลือด ความเข้มข้นของเลือด โดยการตรวจเหล่านี้จะช่วยทำให้รู้ถึงสภาพของร่างกายว่ามีจำนวนเกล็ดเลือดมากหรือน้อยเกินไปหรือไม่ รวมถึงมีภาวะโลหิตจาง ภาวะที่เกี่ยวกับภูมิคุ้มกันของร่างกาย และโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวหรือไม่
- ตรวจระดับน้ำตาลในเลือด (FPG) และน้ำตาลเฉลี่ยสะสม (HbA1c)
เป็นการตรวจโดยวัดระดับน้ำตาลในเลือดรวมถึงฮีโมลโกลบินเพื่อวัดและประเมินความเสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวาน ซึ่งหากตัวเลขอยู่ในระดับที่สูง ก็ต้องพิจารณาการลดการกินหวานลง
- ตรวจระดับไขมันในเลือด
เป็นการตรวจโดยวัดว่าร่างกายมีระดับคอเลสเตอรอลและไตรกลีเซอไรด์เท่าไหร่ รวมถึงตรวจไขมันคอเลสเตอรอลชนิดดีและคอเลสเตอรอลชนิดไม่ดี เพื่อประเมินว่าร่างกายมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคหลอดเลือดสมองและหัวใจหรือไม่ ไขมันไม่ดี ตรงตัวอยู่แล้วว่าไม่ควรมี หรือมีให้น้อยที่สุด แต่ไขมันดีเองก็ไม่ใช่ว่ามีมากแล้วจะดี ต้องมีการควบคุมปริมาณให้เหมาะสม
- ตรวจระดับกรดยูริก
เป็นการตรวจเพื่อวัดว่าร่างกายมีระดับกรดยูริกมากเกินไปหรือไม่ ซึ่งในกรณีที่ร่างกายมีระดับกรดยูริกสูงเกิดไปก็จะทำให้ร่างกายมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคเก๊าท์
- ตรวจการทำงานของไต
เป็นการตรวจเลือดเพื่อวัดระดับค่าครีเอตินินซึ่งเป็นของเสียที่เกิดขึ้นจากกล้ามเนื้อ และค่า Blood Urea Nitrogen ซึ่งเป็นค่าของเสียจากการย่อยสลายโปรตีน โดยการตรวจเหล่านี้จะช่วยทำให้รู้ถึงความสามารถของไต ซึ่งมีหน้าที่สำคัญอย่างมากในการกรองของเสียในร่างกายออก
- ตรวจการทำงานของตับ
เป็นการตรวจตับและทางเดินน้ำดี โดยจะทำตรวจหาเอ็นไซม์และสารต่าง ๆ ในเลือดเพื่อเช็คว่าร่างกายมีความผิดปกติ มีภาวะตับอักเสบ ตับเสื่อมสภาพ ภาวะดีซ่านหรือไม่
- ตรวจไวรัสตับอักเสบ
เป็นการตรวจเลือดว่าร่างกายมีส่วนประกอบของเปลือกเชื้อไวรัส (HBsAg) ซึ่งเชื้อ HBsAg จะทำให้รู้ว่าร่างกายมีภาวะไวรัสตับอักเสบหรือไม่ คนอาจจะคุ้นหูกันในชื่อ ไว้รัสตับอีกเสบ A หรือ B
- ตรวจปัสสาวะ
เป็นการตรวจปัสสาวะเพื่อหาโรคที่อาจพบได้ในระบบทางเดินปัสสาวะ รวมถึงโรคอื่น ๆ ที่มีความเกี่ยวข้องกับระบบทางเดินปัสสาวะ เช่น โรคเบาหวาน เป็นต้น
- ตรวจอุจจาระ
เป็นการตรวจอุจจาระเพื่อหาโรคที่พบในระบบทางเดินอาหาร เช่น มีพยาธิหรือไม่ และเรามีภาวะการอักเสบติดเชื้อในลำไส้หรือไม่ รวมถึงตรวจหาภาวะเลือดปนในอุจจาระ ริดสีดวง มะเร็งทางเดินอาหาร เป็นต้น
- ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (EKG)
เป็นการตรวจประเมินการทำงานของหัวใจในขณะพัก โดยการตรวจนี้จะทำให้ทราบถึงความผิดปกติในร่างกาย เช่น หัวใจเต้นผิดจังหวะ กล้ามเนื้อหัวใจมีการนำไฟฟ้าผิดปกติ กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด เป็นต้น
- เอกซเรย์ปอด
เป็นการตรวจความผิดปกติที่อาจเกิดขึ้นในช่วงทรวงอก โดยจะมีการวัดขนาดของหัวใจ รวมถึงตรวจว่ามีวัณโรคและโรคต่าง ๆ ของปอดหรือไม่
- ตรวจอัลตราซาวนด์ช่องท้อง
เป็นการตรวจหาความผิดปกติของอวัยวะภายในช่องท้อง เช่น ตับ ตับอ่อน ไต ม้าม เส้นเลือดใหญ่ภายในช่องท้อง รวมถึงต่อมลูกหมากในผู้ชายและมดลูกและรังไข่ในผู้หญิง
- ตรวจการทำงานของต่อมไทรอยด์
เป็นการตรวจการทำงานของต่อมไทรอยด์ เช่น TSH และ Free T4 ว่ามีค่าที่เหมาะสมหรือไม่ ซึ่งการตรวจนี้จะทำให้ทราบว่าร่างกายมีภาวะพร่องฮอร์โมนไทรอยด์ หรือ ไทรอยด์เป็นพิษ
- ตรวจสุขภาพหัวใจด้วยการวิ่งสายพาน (EST: Exercise Stress Test)
เป็นการตรวจหัวใจด้วยการวิ่งสายพานเพื่อเช็คว่าในระหว่างการออกกำลังกาย หัวใจมีการเต้นผิดจังหวะ หรือไม่ รวมถึงยังสามารถเช็คภาวะหัวใจตีบได้
- การตรวจหัวใจด้วยคลื่นสะท้อนความถี่สูง (Echocardiogram : ECHO)
เป็นการตรวจหัวใจด้วยคลื่นสะท้อนความถี่สูงเพื่อตรวจสอบการบีบตัวของกล้ามเนื้อหัวใจ การไหลเวียนเลือดในหัวใจ ขนาดของห้องหัวใจ โดยจะทำให้ทราบว่าร่ายกายมีโรคเกี่ยวกับหัวใจ เช่น โรคของเยื่อหุ้มหัวใจ โรคลิ้นหัวใจพิการ โรคกล้ามเนื้อหัวใจพิการ เป็นต้น
- การตรวจสารบ่งชี้มะเร็งทางเดินอาหาร (CEA) การตรวจสารบ่งชี้มะเร็งตับ (AFP)
เป็นการตรวจเลือดเพื่อหาสารบ่งชี้มะเร็งทางเดินอาหาร และสารบ่งชี้มะเร็งตับในร่างกาย
- การตรวจสารบ่งชี้มะเร็งตับอ่อน ท่อน้ำดี ถุงน้ำดี (CA19-9)
เป็นการตรวจเลือดเพื่อหาสารบ่งชี้มะเร็งตับอ่อน ท่อน้ำดี ถุงน้ำดี หรือไม่
- การตรวจสารบ่งชี้มะเร็งเต้านม (CA15-3) และมะเร็งรังไข่ (CA125)
เป็นการตรวจเลือดเพื่อหาสารบ่งชี้มะเร็งเต้านม และมะเร็งรังไข่ในร่างกาย
- การตรวจสารบ่งชี้มะเร็งต่อมลูกหมาก (PSA)
เป็นการตรวจร่างกายเพื่อหาสารบ่งชี้มะเร็งต่อมลูกหมาก โดยเพศชายเมื่ออายุ 50 ปีขึ้นไปควรเข้ารับการตรวจนี้อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เพราะในช่วงอายุ 50 ปีขึ้นไปจะมีโอกาสเสี่ยงที่จะเป็นโรคนี้สูงมากขึ้น
- ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก
เป็นการตรวจเพื่อหาความผิดปกติของเซลล์บริเวณปากมดลูก ว่ามีความเสี่ยงของโรคมะเร็งปากมดลูกหรือไม่ โดยเพศหญิงเมื่ออายุ 30 ปีขึ้นไปควรเข้ารับการตรวจนี้อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
- การตรวจมะเร็งเต้านม
เป็นการตรวจด้วยเครื่องดิจิตอลแมมโมแกรมพร้อมอัลตราซาวน์เต้านมว่ามีความเสี่ยงของโรคมะเร็งเต้านมหรือไม่ โดยเพศหญิงเมื่ออายุ 40 ปีขึ้นไปควรเข้ารับการตรวจนี้อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
- การตรวจหลอดเลือดใหญ่ที่คอ (Carotid Duplex Ultrasound)
เป็นการตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง เพื่อดูการไหลเวียนเลือดที่ไปเลี้ยงสมอง รวมถึงคราบหินปูนหรือคราบไขมันที่เกาะอยู่ภายในหลอดเลือด โดยการตรวจเพื่อดูความเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมองตีบหรือตัน
- การส่องกล้องคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่
เป็นการตรวจโดยการส่องกล้องเพื่อตรวจสอบว่าในลำไส้ใหญ่มีติ่งเนื้อที่อาจจะเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่หรือไม่ ซึ่งในกรณีที่พบ ถ้าทำการตัดสินใจตัดออกก็จะช่วยลดความเสี่ยงที่ติ่งเนื้อนั้นอาจจะกลายเป็นเนื้อร้ายได้ โดยช่วงอายุที่แนะนำในการทำคืออายุ 45 ปีขึ้นไป
วิธีเตรียมตัวก่อนเข้ารับการตรวจสุขภาพประจำปี
การเตรียมตัวก่อนเข้ารับการตรวจสุขประจำปีเองก็เป็นสิ่งสำคัญ เพื่อให้ได้ผลการตรวจที่มีความแม่นยำ เราจึงต้องมีการเตรียมตัวต่างๆ ดังนี้
- นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ ระยะเวลการนอนควรอยู่ที่ 8 ชั่วโมง เพราะหากพักผ่อนไม่เพียงพอจะทำให้อุณหภูมิร่างกาย ความดันโลหิต การเต้นหัวใจผิดปกติ
- งดอาหารและเครื่องดื่มก่อนเข้ารับการตรวจอย่างน้อย 8-10 ชั่วโมง แต่หากไม่สามารถทนได้ ก็ให้เลือกเป็นดื่มน้ำเปล่าแทน แต่ไม่ควรดื่มมากเกินไปเช่นกัน
- กรณีเพศหญิงที่มีประจำเดือน ควรให้ประจำเดือนหมดอย่างน้อย 3 วัน
ตรวจสุขภาพประจำปี ราคาเท่าไหร่
ราคาของการตรวจสุขภาพประจำปีจะแตกต่างกันไปตามประเภทของการตรวจ และสถานที่ที่ทำการตรวจสุขภาพ โดยส่วนใหญ่แล้วราคาจะอยู่ในช่วง 2,000-10,000 บาท อย่างไรก็ตาม ราคานี้อาจแตกต่างไปตามสถานที่ตรวจสุขภาพ และประเภทของการตรวจที่เลือกทำ
หากต้องการทราบราคาการตรวจสุขภาพประจำปี ควรติดต่อสอบถามกับสถานพยาบาลหรือศูนย์การแพทย์ที่ต้องการไปตรวจโดยตรง โดยมีข้อแนะนำว่า ควรเลือกสถานที่ที่มีคุณภาพและมีความเชี่ยวชาญในการตรวจสุขภาพ เพื่อให้ได้ผลการตรวจที่ถูกต้องและมีประโยชน์ต่อการดูแลสุขภาพของเราในอนาคต
ตรวจสุขภาพประจำปีที่ไหนดี
การเลือกสถานที่ตรวจสุขภาพประจำปี รายละเอียดการตรวจของแต่ละที่ก็มีความแตกต่างกันไป ควรเลือกโรงพยาบาลที่มีโปรแกรมการตรวจสุขประจำปีที่หลากหลาย เพื่อให้สามารถค้นหาโรคที่ซ่อนอยู่ได้อย่างครอบคลุมที่สุด สำหรับการตรวจสุขภาพประจำปี โรงพยาบาล สมิติเวช ไชน่าทาวน์ ก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่น่าสนใจ เพราะโรงพยาบาลนี้มีโปรแกรมการตรวจที่หลากหลาย ภายใต้การดูแลของแพทย์ที่มีประสบการณ์ และอุปกรณ์ที่ครบครัน แต่สำหรับผู้ที่มีกำลังทรัพย์ไม่มาก ก็อย่ามองว่าตรวจสุขภาพประจำปีราคาโรงพยาบาลเอกชน ไม่สามารถจับต้องได้ เลยเลือกที่จะเมินเฉย สวัสดิการพื้นฐานที่เรามีอยู่ คือ การตรวจสุขภาพประจำปี ประกันสังคม ซึ่งถึงแม้อาจจะดีไม่เท่าเอกชน แต่ดีกว่าไม่ตรวจอะไรเลย
อายุเท่าไหร่ควรเริ่มตรวจสุขภาพประจำปี
การตรวจสุขภาพประจำปีเป็นสิ่งที่สำคัญในการรักษาสุขภาพอย่างมาก เพราะสามารถช่วยตรวจจับโรคต่าง ๆ ได้ตั้งแต่เริ่มต้น ดังนั้นเราควรเริ่มตรวจสุขภาพประจำปีตั้งแต่อายุ 20 ปีขึ้นไป และควรตรวจสุขภาพประจำปีอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง โดยไม่ว่าจะมีอาการหรือไม่ก็ตาม
สำหรับผู้ที่มีประวัติคนในครอบครัวเคยเป็นโรคร้ายแรง หรือมีปัญหาสุขภาพเป็นพิเศษอื่น ๆ อาจต้องเริ่มตรวจสุขภาพประจำปีในอายุที่น้อยกว่า 20 ปี และต้องปรึกษาแพทย์เพื่อขอคำแนะนำเพิ่มเติมเกี่ยวกับการตรวจสุขภาพที่เหมาะสมในสถานการณ์เหล่านี้ด้วย
ตรวจสุขภาพประจำปีแล้วรู้ผลทันทีเลยไหม
ผลการตรวจสุขภาพประจำปีอาจต้องรอการวิเคราะห์จากแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติมเพื่อให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้องและครบถ้วน ดังนั้นจึงจำเป็นต้องรอผลการตรวจอย่างเป็นทางการจากแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญ และควรปรึกษาแพทย์เพิ่มเติมหากมีข้อสงสัยหรือคำถามเกี่ยวกับผลการตรวจสุขภาพประจำปีใด ๆ
ข้อสรุป
จากที่กล่าวไว้ข้างต้นมาทั้งหมด จะเห็นได้ว่าการตรวจสุขภาพประจำปีมีความสำคัญเป็นอย่างมาก เพราะจะช่วยให้เราตระหนักได้ว่าร่างกายเรามีความผิดปกติไหม มีจุดไหนที่ต้องรีบรักษาบ้าง และควรจะมีการป้องกัน แก้ไข หรือบำรุงอะไรได้บ้าง เพื่อให้เรามีสุขภาพที่ดีขึ้น แม้แต่สวัสดิการขั้นพื้นฐานของบริษัททั่วๆไปก็ยังมีการตรวจสุขภาพประจำปี เป็นข้อพิสูจน์ได้ว่า การตรวจสุขภาพประจำปีมีความสำคัญเป็นอย่างมาก และเป็นสิ่งที่ไม่ควรมองข้าม ดังนั้นอย่ามองข้ามการตรวจสุขภาพประจำปีกันนะครับ