เด็กหลอดแก้ว (IVF) คืออะไร เหมาะกับใคร สรุปมาให้แล้วที่นี่!

เด็กหลอดแก้ว

ปัญหาการมีบุตรยากปัญหาใหญ่สำหรับครอบครัวที่ต้องการวางแผนมีบุตร สำหรับคุณพ่อคุณแม่ที่กำลังเผชิญกับสภาวะนี้อยู่เรามีทางออกมาแนะนำ “เด็กหลอดแก้ว ” เทคโนโลยีการผสมเทียมภายนอกร่างกาย เทคโนโลยีเพื่อการเจริญพันธุ์ที่ถูกคิดค้นขึ้นมาสำหรับครอบครัวที่เผชิญกับปัญหาการมีบุตรยาก 

ถ้าอยากรู้กันแล้วว่าการทำเด็กหลอดแก้ว (IVF) คืออะไร มีขั้นตอนการทำอย่างไร เหมาะหรือไม่เหมาะกับใคร เราจะพาคุณพ่อคุณแม่ทุกท่านมาเจาะลึกกับเทคโนโลยีการทำเด็กหลอดแก้ว เทคโนโลยีที่จะเข้ามาแก้ปัญหาการมีบุตรยากกันในเนื้อหาของบทความนี้



การทำเด็กหลอดแก้ว IVF คืออะไร

เด็กหลอดแก้ว หรือ In Vitro Fertilization – IVF คือ เทคโนโลยีการเจริญพันธุ์ที่เข้ามาช่วยแก้ปัญหาการมีบุตรยากสำหรับคู่สมรสที่มีต้องการวางแผนมีบุตร โดยเทคโนโลยีนี้จะเป็นการผสมเทียมภายนอกร่างกาย จากการเก็บไข่และอสุจิของคู่สมรสมาผสมเทียมเพื่อให้เกิดการปฏิสนธิภายนอกร่างกาย แล้วเมื่อกระบวนการผสมเทียมสำเร็จแล้วแพทย์จะนำอ่อนที่ได้จากการผสมเทียมย้ายกลับเข้ามาในโพรงมดลูกของคุณแม่ เพื่อให้ตัวอ่อนฝังตัวและพัฒนาเป็นการตั้งครรภ์ตามธรรมชาติต่อไป

แต่อย่างไรก็ตามการจะเข้าสู่กระบวนการการทำเด็กหลอดแก้วได้นั้นคู่สมรสจำเป็นต้องมีการตรวจร่างกาย และพูดคุยกับแพทย์ เพื่อประเมินความพร้อมของร่างกาย จิตใจ และบอกถึงความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นก่อนกระบวนการทำเด็กหลอดแก้วทั้งหมดก่อน


ขั้นตอนการทำเด็กหลอดแก้ว IVF

การทำเด็กหลอดแก้ว

หลังจากทราบกันแล้วว่าเด็กหลอดแก้วคืออะไร หัวข้อนี้เราจะมาพูดถึงขั้นตอนการทำเด็กหลอดแก้วกันบ้าง ถ้าอยากรู้กันแล้วว่าเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์จากการทำเด็กหลอดแก้วมีขั้นตอนอย่างไร สามารถติดตามต่อได้ในเนื้อหาด้านล่าง

1. ขั้นตอนการเตรียมตัวก่อนทำเด็กหลอดแก้ว

ก่อนเริ่มกระบวนการทำเด็กหลอดแก้ว คุณพ่อคุณแม่จำเป็นต้องเข้ารับคำปรึกษากับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อวางแผนและประเมินความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นตามขั้นตอนต่อไปนี้:

  • การพูดคุยปรึกษากับแพทย์เบื้องต้น: แพทย์จะทำการสอบถามประวัติทางการแพทย์และให้ข้อมูลเกี่ยวกับกระบวนการทำเด็กหลอดแก้ว
  • การตรวจสุขภาพและการประเมินภาวะมีบุตรยาก: ก่อนการทำเด็กหลอดแก้วคุณพ่อคุณแม่จำเป็นต้องตรวจภายใน, ตรวจ Pap smear, ตรวจแมมโมแกรม และตรวจคุณภาพของน้ำอสุจิ
  • การตรวจคัดกรองโรค: ซึ่งจะมีตั้งแต่โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์, เลือด-ปัสสาวะ และเชื้ออื่น ๆ 
  • การตรวจคัดกรองทางพันธุกรรม: เป็นการตรวจเพื่อโรคทางพันธุกรรมที่อาจส่งต่อไปยังบุตร
  • การตรวจโพรงมดลูก: เป็นการตรวจเพื่อดูความพร้อมผ่านการส่องกล้องและการอัลตราซาวนด์
  • บอกความเสี่ยงและเซ็นเอกสารยินยอมเข้ารับการรักษา
  • เตรียมร่างกาย: เป็นการเตรียมร่างกายก่อนเริ่มกระบวนการทำเด็กหลอดแก้วผ่านการรับประทานอาหารและการฉีดฮอร์โมนที่จำเป็นเพื่อเพิ่มโอกาสตั้งครรภ์

2. ขั้นตอนและกระบวนการทำเด็กหลอดแก้ว

  • กระตุ้นรังไข่: จะเป็นการฉีดยาฮอร์โมนเพื่อกระตุ้นการเจริญเติบโตของไข่ เพื่อให้ไข่ทั้งหมดสุกพร้อมกันและพร้อมสำหรับการเก็บ
  • เก็บไข่และอสุจิ: เป็นขั้นตอนที่แพทย์จะทำการเก็บไข่จากฝ่ายหญิงผ่านการใช้เข็มเจาะเก็บไข่ออกจากรังไข่ พร้อมเก็บน้ำอสุจิจากฝ่ายชาย เพื่อเตรียมตัวสำหรับขั้นตอนการปฏิสนธิในหลอดแก้ว
  • เริ่มขั้นตอนการปฏิสนธิหรือการทำเด็กหลอดแก้ว: ในขั้นตอนนี้แพทย์จะนำไข่และอสุจิที่เก็บมาผสมเพื่อให้เกิดตัวอ่อน
  • เพาะเลี้ยงตัวอ่อน: หลังจากไข่และอสุจิเกิดการปฏิสนธิแล้ว แพทย์จะทำการเลี้ยงตัวอ่อนในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมเพื่อรอระยะที่พร้อมย้ายกลับ
  • ย้ายตัวอ่อนเข้าสู่โพรงมดลูก: เป็นการนำตัวอ่อนใส่ตัวอ่อนกลับเข้าไปในโพรงมดลูกเพื่อให้เกิดการตั้งครรภ์ตามธรรมชาติ
  • ติดตามผลการตั้งครรภ์: ติดตามผลการตั้งครรภ์ผ่านการตรวจเลือดเพื่อยืนยันการตั้งครรภ์หลังจากย้ายตัวอ่อนสำเร็จ

ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดจากการทำเด็กหลอดแก้ว

หลังจากพูดถึงความหมายและขั้นตอนการทำเด็กหลอดแก้วไปแล้วเราจะมาพูดถึงความเสี่ยงและภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้กันบ้าง โดยภาวะแทรกซ้อนจากการทำเด็กหลอดแก้วนั้นสามารถเกิดขึ้นได้ตั้งแต่ขั้นตอนกระตุ้นไข่ อาจทำให้คุณแม่เกิดอาการท้องอืด คลื่นไส้ หรือหายใจลำบากไปจนถึงขั้นตอนการทำที่อาจเกิดความล้มเหลวทั้งในระหว่างการเพาะเลี้ยง การฝังตัว และอื่น ๆ ไปจนถึงครรภ์แฝดที่สามารถเกิดขึ้นได้จากการกระตุ้นไข่


เด็กหลอดแก้วเทคโนโลยีผสมเทียม ทางเลือกใหม่สำหรับผู้มีภาวะมีบุตรยาก

เด็กหลอดแก้วเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์เทคโนโลยีทางเลือกสำหรับการวางแผนครอบครัวในผู้ที่มีบุตรยาก เทคโนโลยีที่เป็นเหมือนประตูด่านแรกของคุณพ่อคุณแม่ที่ต้องการวางแผนครอบครัว ด้วยวิธีการที่ไม่ซับซ้อน ราคาเข้าถึงได้ และมีความปลอดภัยสูง วิธีนี้จึงเป็นวิธีการที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย และเป็นทางเลือกใหม่ที่จะช่วยเพิ่มโอกาสการตั้งครรภ์สำหรับผู้ที่กำลังวางแผนมีบุตร

Thank you for your Vote Rating
[Total: 0 Average: 0]