แต่ละช่วงอายุขอคนเรามักจะต้องพบเจอกับเหตุการณ์ที่ไม่สามารถกำหนดได้ด้วยตนเอง ช่วงในวัยรุ่นจะเป็นเรื่องของ การเรียน ความสัมพันธ์กับเพื่อน ช่วงในวัยกลางคนเรื่องของหน้าที่การงานที่ต้องรับผิดชอบ จึงเป็นสิ่งที่คอยทำให้เกิดความรู้สึกเครียดอยู่บ่อย ๆ เมื่อไหร่ที่คุณไม่สามารถจัดการแก้ไขกับปัญหาเหล่านี้ได้ อาจจะเป็นสัญญาณที่บ่งบอกถึงโรคเครียดที่กำลังจะเกิดขึ้นกับคุณ
โรคเครียดเป็นโรคที่มีลักษณะมาจากผู้ป่วยที่มีภาวะเครียดสะสม กับเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่ประสบพบเจอในชีวิตประจำวัน โรคเครียดนี้มันความอันตรายกับตัวผู้ป่วยจะส่งผลทางด้านลบให้กับผู้ป่วย และส่งผลการใช้ชีวิตประจำอีกเช่นกัน
ในส่วนของบทความนี้จะมีความเกี่ยวข้องกับเรื่องของ “โรคเครียด” ไม่ว่าจะโรคเครียดคืออะไร สาเหตุ วิธีที่รักษาและป้องกันโรคเครียดไม่ให้เกิดขึ้นกับคุณ
ทำความรู้จักกับโรคเครียด คืออะไร
โรคเครียด หรือภาวะความเครียด คือ การที่ร่างกายตอบสนองต่อความเครียดอย่างรุนแรง หรือต่อเนื่องเป็นช่วงระยะเวลานานหลายวัน บางรายอาจเป็นปี ผู้ป่วยที่เป็นโรคเครียดต้องประสบพบเจอกับเหตุการณ์ที่ความให้เกิดความรู้สึกกดดัน อึดอัด ไม่สบายใจ และเกิดความทุกข์ภายในใจ ส่งผลกระทบด้านลบต่อความคิด อารมณ์ และพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไป เช่น มองโลกในแง่ลบ ทำอะไรก็ไม่รู้สึกมีความสุข อารมณ์ร้อน อารมณ์แปรปรวนง่าย หงุดหงิดง่าย ประชดประชัน อ่อนเพลีย และมีปัญหาเรื่องการนอนพักผ่อน ปัญหาเหล่านี้เป็นอาการของโรคเครียดสะสม ความรุนแรงของอาการจะขึ้นอยู่แต่ละตัวบุคคลซึ่งมีความแตกต่างกันออกไป
โรคเครียดสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ
- โรคเครียดเฉียบพลัน (Acute Stress Disorder) เกิดขึ้นหลังจากเผชิญกับเหตุการณ์ที่กระทบกระเทือนจิตใจอย่างรุนแรง เช่น ประสบอุบัติเหตุ สูญเสียคนที่รักไปกะทันหัน หรือถูกทำร้ายร่างกายอาการโรคเครียดเฉียบพลันมักเกิดขึ้นภายใน 3 เดือนหลังจากเหตุการณ์ และสามารถหายได้เองภายใน 6 เดือน
- โรคเครียดหลังเหตุการณ์สะเทือนขวัญ (Posttraumatic Stress Disorder) เกิดขึ้นหลังจากเผชิญกับเหตุการณ์ที่รุนแรงและน่ากลัวมากจนทำให้เกิดอาการวิตกกังวลเครียด หวาดกลัวอย่างรุนแรง อาการของโรคเครียดหลังเหตุการณ์สะเทือนขวัญมักเกิดขึ้นภายใน 1 เดือนหลังจากเหตุการณ์และสามารถคงอยู่ได้เป็นปีหรือหลายปี
สาเหตุของโรคเครียดที่พบ เกิดจากอะไร
สาเหตุของโรคเครียดสามารถเกิดขึ้นได้หลากหลายสาเหตุ ซึ่งผู้ป่วยโรคเครียดแต่ละคนจะมีความแตกต่างกันที่ทำให้เป็นโรคเครียด แต่สิ่งที่ผู้ป่วยโรคเครียดจะเหมือนกันก็คือ เจอกับเหตุการณ์ที่ทำให้รู้สึกกดดัน คุกคามสภาพจิตใจ หวาดกลัว อึดอัด และไม่สบายใจ สาเหตุความเครียดที่ก่อให้เกิดโรคเครียด มีดังนี้
- ปัจจัยภายนอก
- อุบัติเหตุรถชน สูญเสียคนที่รัก เกิดเหตุการณ์ทะเลาะมีปากเสียงกับคนรอบข้าง
- การเรียน หน้าที่การงานที่ทำให้เกิดความรู้สึกเครียด กดดัน ไม่สามารถจัดการกับปัญหาได้
- ปัญหาเรื่องของการเงิน ไม่มีเงินใช้จ่าย มีหนี้สินที่ต้องใช้คืนผู้อื่น
- ปัญหากับคนรอบข้าง และคนในครอบครัว มีความคิดเห็นที่แตกต่างกัน ไม่สามารถปรับความเข้าใจกันได้ โดนคนอื่นเอาเปรียบตัวเอง โดนดุด่าว่าร้ายจนมีอาการเครียดวิตกกังวล
- ปัจจัยภายใน
- ปัญหาสุขภาพร่างกาย ป่วยเป็นโรคต่าง ๆ หรือมีโรคประจำตัวที่รักษาเท่าไรก็ไม่หาย และเป็นโรคจิตเวช เช่น โรควิตกกังวล โรคแพนิค โรคเครียด โรคซึมเศร้า เป็นต้น
- ปัญหาเรื่องของการนอนพักผ่อน นอนพักผ่อนน้อยกว่า 7 – 8 ชั่วโมงต่อวัน จนทำให้ร่างกายอ่อนเพลีย ไม่แรง
- ปัญหาทางจิตใจ เช่น เครียด กลัว ซึมเศร้า ร้องไห้
ลักษณะอาการของโรคเครียด
โรคเครียดอาการจะเกิดจากผู้ป่วยต้องเผชิญกับปัญหาจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับตนเอง และไม่สามารถจัดการแก้ไขกับปัญหาเหล่านั้นได้ จนผู้ป่วยต้องเก็บความรู้สึกกดดัน กลุ้มใจ เครียด วิตกกังวล ไม่สบายใจ เบื่อหน่าย เมื่อผู้ป่วยเก็บความรู้สึกเหล่านี้เอาไว้เป็นระยะเวลานาน จนก่อให้เกิดโรคเครียดกับผู้ป่วยจึงมีความเครียดสะสมอาการของโรคเครียด มีดังนี้
- อารมณ์แปรปรวน เช่น อารมณ์ร้อนได้ง่าย หงุดหงิด หม่นหมอง ใบหน้าตึงเครียด ซึมเศร้า
- เห็นเหตุการณ์ที่มีผลกระทบสภาพจิตใจอยู่บ่อย ๆ ผู้ป่วยโรคเครียดจะฝันร้ายเห็นเหตุการณ์เดิม ๆ ซ้ำไปซ้ำมาทุกคืน หรือตอนอยู่เฉย ๆ ก็จะนึกถึงเหตุการณ์ที่มีผลกระทบต่อสภาพจิตใจ
- ผู้ป่วยที่เป็นโรคเครียด มักจะชอบแยกตัวออกจากสังคม ชอบอยู่ตัวคนเดียว
- รับประทานอาหารลดน้อยลงกว่าปกติ เบื่ออาหาร
- ปวดเมื่อยตามร่างกาย ปวดกล้ามเนื้อ ปวดหลัง
- วิงเวียนศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน
- ผู้ป่วยที่เป็นโรคเครียดมักจะไม่มีเรี่ยวแรง อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย
- มองโลกในด้านลบไปทุกอย่าง กลัว หวาดผวา
- ไม่มีสมาธิ ไม่สามารถจดจ่อกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งได้ สมาธิสั้น ตัดสินใจลำบาก
- มือไม้สั่น มือและเท้าเย็นวูบวาบ หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ รู้สึกแน่นหน้าอก หายใจติดขัด หายใจถี่ ๆ
- ภายในท้องปั่นป่วน ปวดท้อง ท้องเสีย ท้องผูก ท้องร่วง
เครียดแค่ไหนจึงควรปรึกษาแพทย์
เมื่อคุณพบว่าตนเองมีอาการเครียดสะสม ไม่สามารถจัดการกับความเครียดที่เกิดขึ้นได้ หรืออยู่กับความรู้สึกเครียด อึดอัด ซึมเศร้า ติดต่อกันเป็นระยะเวลานานกว่า 2 สัปดาห์ หรือมีอาการที่รุนแรงเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ อาจจะก่อให้เกิดเป็นโรคเครียดในภายหลัง และมีผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันเป็นอย่างมาก ควรรับไปพบแพทย์ขอคำแนะนำคำปรึกษาเกี่ยวกับภาวะเครียดอาการที่เกิดขึ้น และเพื่อหาวิธีรักษาที่เหมาะสม
แนวทางการรักษาโรคเครียด มีอะไรบ้าง
สำหรับผู้ป่วยโรคเครียด แนวทางการรักษาโรคเครียด มีอยู่ด้วยกัน 2 วิธี ซึ่งแต่ละวิธีจะขึ้นอยู่ความเหมาะสมอาการเครียดของผู้ป่วยแต่ละรายบุคคลเท่านั้น วิธีรักษาโรคเครียดทั้ง 2 วิธีที่มีดังนี้
- วิธีรักษาด้วยจิตบำบัด วิธีนี้เหมาะสมกับผู้ป่วยโรคเครียดที่มีอาการความเครียดไม่รุนแรง วิธีรักษาแพทย์จะพูดคุยกับผู้ป่วย สอบถามประวัติส่วนตัวของผู้ป่วย เพื่อหาสาเหตุที่เกิดขึ้นของโรคเครียด และให้คำแนะนำคำปรึกษา แนวทางทำความเข้าใจกับสิ่งที่ผู้ป่วยต้องเผชิญ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้ผู้ป่วยได้ทำกิจกรรมที่ให้ความรู้สึกผ่อนคลาย และมีความสุข เช่น ออกกำลังกาย ฟังเพลง ทำงานอดิเรกที่ชื่นชอบ
- วิธีรักษาด้วยยา วิธีที่เหมาะสมกับผู้ป่วยโรคเครียดที่มีอาการโรคเครียดวิตกกังวลที่รุนแรง วิธีรักษาด้วยยาสามารถรักษาควบคู่กับการรักษาด้วยจิตบำบัดได้ โดยยารักษาโรคเครียดที่ให้ผู้ป่วยรับประทานนั้นจะเป็นกลุ่มยาจำพวก ยากลุ่ม Benzodiazepines และยา SSRI
รักษาโรคเครียดที่ไหนดี?
สถานที่รักษาโรคเครียด ควรเป็นสถานที่โรงพยาบาลรัฐบาล หรือโรงพยาบาลเอกชนก็ได้ แต่ต้องมีแผนกจิตเวช เพราะแผนกจิตเวชมีศาสตร์ทางการแพทย์ที่เกี่ยวข้องกับการตรวจวินิจฉัย บำบัดรักษา ส่งเสริมป้องกัน และศึกษาวิจัยปัญหาด้านจิตใจของบุคคล หรือสุขภาพจิตโดยตรง ซึ่งสามารถช่วยผู้ป่วยโรคเครียดรักษาหายจากโรคเครียดได้ และคอยให้คำแนะนำ คำปรึกษาได้อย่างตรงไปตรงมา
วิธีป้องกันตนเองให้ห่างไกลจากโรคเครียด
วิธีป้องกันไม่ให้เกิดโรคเครียดได้โดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ดังนี้
- ดูแลสุขภาพร่างกายและสุขภาพจิตให้แข็งแรง
- ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมออย่างน้อยวันละ 30 นาที
- รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ครบ 5 หมู่
- นอนพักผ่อนให้เพียงพออย่างน้อย 8 ชั่วโมงต่อวัน
- ปรับเปลี่ยนมุมมองความคิดในเชิงบวก
- หลีกเลี่ยงปัจจัยที่ทำให้เกิดความเครียด
- เรียนรู้ที่จะปฏิเสธสิ่งต่าง ๆ ที่เกินกำลังตนเอง
- หาเวลาพักผ่อนและผ่อนคลาย
- หากิจกรรมที่ชอบทำเพื่อลดความเครียด และให้ความสุขกับตัวเอง
- พูดคุยสื่อสารกับคนที่ไว้ใจ ระบายความรู้สึกให้คนรอบข้างรับรู้และเข้าใจ
โรคเครียด อย่าปล่อยให้สะสมจนส่งผลเสียต่อสุขภาพ
ความเครียดสะสมเป็นสิ่งที่กระตุ้นทำให้เกิดโรคเครียด สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน ทุกเพศ และทุกวัย หากเกิดความเครียดขึ้นจนไม่สามารถจัดการกับปัญหานั้นได้ และต้องจมอยู่กับความรู้สึกเครียด เศร้า เหนื่อยใจ อึดอัด ติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน
ควรรีบรักษาอาการเหล่านั้นกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อไม่ให้เกิดโรคเครียด หรือหากผู้ป่วยเป็นโรคเครียดอยู่แล้วจะได้หาวิธีเพื่อหายจากโรคนี้ ให้กลับมาใช้ชีวิตในทุก ๆ วันอย่างเป็นปกติและมีความสุขในแต่ละวันมากขึ้น