รู้หรือไม่ว่า โรคซึมเศร้านั้นเป็นที่พูดถึงอย่างมากในปัจจุบันที่ทุกอย่างนั้นหมุนรอบตัวเราเร็วไปหมด ทุกอย่างที่เกิดขึ้นและไปอย่างรวดเร็ว ทิ้งไว้แต่ความรู้สึกที่ยังอยู่ในชีวิต ความรู้สึกที่มีอยู่ในมนุษย์ทุกคน มีความสุข เสียใจ ดีใจ ผิดหวัง เศร้า ตามสิ่งที่เจอในแต่ละวัน และอุปสรรคต่าง ๆ ในชีวิต
แม้ความรู้สึกเศร้านั้นเป็นเพียงอารมณ์ที่ชั่วคราว แต่หากเกิดขึ้นบ่อยเป็นระยะเวลานานติดต่อกัน หาสาเหตุที่มาที่ไปไม่ได้ อาจเกิดเป็นความเครียดสะสม และอาจเป็นสัญญาณที่บ่งบอกว่าผู้นั้นเป็นโรคซึมเศร้าได้ ซึ่งโรคซึมเศร้านั้นหากศึกษาและหาวิธีรับมืออย่างถูกวิธีแล้วนั้นไม่น่ากลัวและน่ากังวลอย่างที่คิด สามารถรักษาได้ตามอาการเพื่อให้สภาพจิตใจนั้นดีขึ้นได้
การทำความเข้าใจเกี่ยวกับโรคซึมเศร้านั้นนอกจากเพื่อศึกษาเกี่ยวกับสาเหตุและอาการเพื่อไปสู่การรักษาได้แล้วนั้น ยังสามารถรับมือกับสถานการณ์ต่างๆเมื่อจากความรู้สึกโศกเศร้าไม่ว่าจะเป็นตัวผู้อ่านเองหรือคนรอบข้างเพราะเจ้าตัวนั่นอาจไม่รู้ตัวว่าเป็นโรคซึมเศร้าเพื่อการรับมืออย่างถูกวิธีซึ่งจะช่วยให้รักษาอาการเบื้องต้นได้
โรคซึมเศร้า คืออะไร
โรคซึมเศร้า (Major Depressive disorder) เป็นโรคทางจิตเวชชนิดหนึ่ง ซึ่งปัจจัยการเกิดโรคซึมเศร้านั้นมีมากมายไม่ว่าจะเป็นจิตใจ สภาพแวดล้อม ภาวะซึมเศร้าทางจิตใจ ความเครียดสะสมเป็นระยะเวลานาน รวมถึงความผิดปกติของสารเคมีในสมอง หรือ ระดับฮอร์โมนที่สำคัญ
โดยคนทั่วไปนั่นอาจจะคิดว่าผู้ที่เป็นโรคซึมเศร้านั้นจะเป็นเพียงแค่เรื่องของอารมณ์ซึมเศร้าจากความผิดหวัง ความเศร้าจากการสูญเสีย แต่จริงๆแล้วนั้นหากชีวิตประจำวันมีเรื่องความเครียด หรือ สภาพแวดล้อมที่ส่งผลกระทบต่อจิตใจนาน ๆ สะสมที่ก่อให้เกิดอารมณ์เศร้าหรือเครียด แล้วมีอาการต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น นอนหลับไม่สนิท หลับ ๆ ตื่น ๆ เบื่ออาหาร รู้สึกชีวิตไม่มีความสุข หมดความสนใจต่อสิ่งต่าง ๆ ซึ่งอาการเหล่านี้อาจเข้าข่ายของการเป็นโรคซึมเศร้าด้วยนั่นเอง
โรคซึมเศร้าเกิดจากสาเหตุอะไร
โรคซึมเศร้า สาเหตุของการเกิดโรคนี้มีหลายปัจจัย และ หลายสาเหตุ หากในกรณีศึกษานั้นสามารถเกิดได้จาก 2 สาเหตุหลัก ๆ นั่นคือ
- สาเหตุจากปัจจัยทางชีวิภาพ – การที่มีความผิดปกติจากสารเคมีในสมอง ความผันผวน หรือ ไม่สมดุลกันของสารเคมีในสมอง 3 ชนิดด้วยกันคือ ซีโรโตนิน นอร์เอปิเฟริน และ โดปามิน และ การผันผวนของระดับฮอร์โมที่สำคัญนั่นสามารถส่งผลกระทบได้ โดยสาเหตุหลักๆจากผู้ที่เป็นโรคซึมเศร้าจากปัจจัยทางชีวภาพนั้นพบว่า สารเคมีในสมอง เซโรโทนิน มีปริมาณที่ลดลง ทำให้เกิดความวิตกกังวล ไม่มีความสุข อาจร้ายแรงถึงขั้นคิดฆ่าตัวตายได้
- ปัจจัยทางอารมณ์จากสิ่งแวดล้อม และเหตุการณ์ต่าง ๆ โดยสาเหตุนี้หลัก ๆ คือมาจากความตีงเครียด ความเศร้า ทางอารมณ์ ไม่ว่าจะเป็น ความตึงเครียดตั้งแต่วัยเด็กจากครอบครัว คนรอบข้างที่มีพฤติกรรมไม่ดีที่ส่งผลต่อจิตใจ เหตุการณ์สะเทือนใจอย่างรุนแรง ความเครียดสะสมและความกดดัน จากการทำงาน การแบกภาระที่มากเกินไป หรือ การอายุสูงขึ้นและความเครียดจากภาวะต่าง ๆ ที่เพิ่มขึ้น อาจสะสมและทำให้เป็นโรคซึมเศร้าได้
หลายคนอาจสงสัยว่าความเครียดนั้นสามารถส่งผลให้เป็นโรคซึมเศร้าได้จริงหรือไม่ ซึ่งความเครียดนั้นอาจไม่ใช่สิ่งกระตุ้นรุนแรงอย่างการเจอเหตุการณ์บางอย่างที่สะเทือนจิตใจ แต่ความเครียดนั้นมักสะสมอยู่ในความรู้สึกและความคิดอย่างไม่รู้ตัว
อาการของโรคซึมเศร้า
อาการของผู้ที่เป็นโรคซึมเศร้านั้นจะไม่ชัดเจนแบบโรคอื่นๆ ที่เห็นอาการได้ชัดเจน ซึ่งด้วยสาเหตุที่บางอาการนั้นเป็นพฤติกรรมที่ไม่ได้มองว่าผิดปกติมากนัก หรืออาการใดอาการหนึ่งอย่างเด่นชัด ซึ่งโรคซึมเศร้านั้นจะมีอาการหลัก ๆ ดังนี้
- รู้สึกเบื่อการใช้ชีวิต หรือหมดความสนใจในการใช้ชีวิต ไม่สนใจสิ่งรอบข้าง หรือ สภาพแวดล้อม
- ผู้ป่วยโรคซึมเศร้ามักมีอาการที่รู้สึกเศร้าโดยที่ไม่มีเหตุการณ์เกิดขึ้นก่อนหน้านั้น รู้สึกว่างเปล่า และบางครั้งเกิดอาการร้องไห้ขึ้นมา
- มีปัญหาทางด้านการนอนหลับ เช่น รู้สึกง่วงตลอดเวลา นอนมากแล้วยังรู้สึกเพลีย นอนหลับ ๆ ตื่น ๆ ไม่สามารถหลับลึกได้ หรือ บางรายมีปัญหานอนไม่หลับ หรือ ตื่นทุกๆ 1-2 ชั่วโมง
- รู้สึกเหนื่อยล้า ไม่มีความกระตือรือร้นในการทำเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ
- ความอยากอาหารลดลง หรือ ความอยากอาหารที่มากขึ้น
- รู้สึกวิตกกังวล กระสับกระส่ายหรือ ประหม่าตลอดเวลา
- มีปัญหาเรื่องการใช้สมาธิ อาจมีปัญหาเรื่องความจำ
- คิดช้าลง หรือมีพฤติกรรมที่ช้าลง ไม่สามารถตัดสินอะไรได้ด้วยตนเอง
- คิดถึงเรื่องความตาย รู้สึกไร้ค่า และ รู้สึกผิดตลอดเวลา และการพยายามฆ่าตัวตายบ่อย ๆ
พฤติกรรมเหล่านี้ที่มาจากโรคซึมเศร้า อาจเป็นแล้วหาย แต่อาการสามารถกำเริบขึ้นได้อีก เนื่องจากภาวะโรคซึมเศร้านั้นสามารถเกิดขึ้นเป็นระลอกได้ จากสภาวะจิตใจที่เกิดอาการเศร้าและเครียด หากใครมีอาการดังกล่าวและกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันหรือไม่สามารถใช้ชีวิตประจำวันได้ปกติความพบจิตแพทย์เพื่อทำการรักษาตามอาการต่อไป
โรคซึมเศร้ามีกี่แบบ
โรคซึมเศร้านั้นสามารถแบ่งประเภทได้ตามปัจจัยหรือสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคซึมเศร้าไม่ว่าจะเป็นด้วยพฤติกรรมหรือภาวะทางอารมณ์ โดยโรคซึมเศร้าสามารถแบ่งได้หลักๆ ดังนี้
ซึมเศร้า
เกิดจากสารเคมีสื่อสารในสมองมีความผิดปกติ มีสารใดสารหนึ่งมีระดับที่ไม่ได้มาตรฐาน ผู้ที่เป็นซึมเศร้าประเภทนี้นั้นจะรู้สึกซึมเศร้า เป็นทุกข์ตลอดเวลา บางรายร้ายแรงถึงขั้นไม่อยากมีชีวิต
ซึมเศร้าเรื้อรัง
เกิดจากเป็นภาวะซึมเศร้าเป็นระยะเวลานาน มีอาการขึ้นๆ ลง ๆ อารมณ์ไม่คงที่ มีความคิดมองโลกในแง่ร้าย
ซึมเศร้าตามฤดูกาล
โรคซึมเศร้าประเภทนี้นั้นจะมาจากสาเหตุทางด้านอารมณ์ที่กระทบตามการเปลี่ยนของฤดูกาลเป็นสาเหตุสำคัญ อย่างรู้สึกโดดเดี่ยวหรือหดหู่เวลาฝนตก รู้สึกสิ้นหวังในฤดูหนาว เป็นต้น
ซึมเศร้าก่อนมีประจำเดือน
เป็นภาวะซึมเศร้าจากโรคซึมเศร้าด้วยการเปลี่ยนแปลงระดับฮอร์โมนทำให้มีอารมณ์ไม่คงที่ เบื่อหน่ายและ หงุดหงิดตลอดเวลา โดยจะมีอาการเด่นชัดขึ้นเมื่ออยู่ในช่วงประจำเดือน
ซึมเศร้าหลังคลอด
เป็นอาการซึมเศร้าที่มาอาการสัมพันธ์จากการที่ระดับฮอร์โมนมีการเปลี่ยนแปลงหลังการคลอดบุตร
โรคซึมเศร้าสามารถรักษาหายได้ไหม?
การรักษาโรคซึมเศร้านั้นสามารถรักษาได้ แต่ภาวะซึมเศร้านั้นอาจกลับมาเป็นอีกได้หากภาวะจิตใจซึมเศร้าหรือสารเคมีนั้นมีความผิดปกติ โดยการรักษาสามารถแบ่งได้ดังนี้
- การรักษาด้วยยา
ยาที่จ่ายให้สำหรับผู้รักษาโรคซึมเศร้านั้นมีประสิทธิภาพ โดยจะจ่ายตามลักษณะของผู้มีภาวะซึมเศร้า โดยฤทธิ์ยาทำหน้าที่ปรับสารสื่อประสาทที่ควบคุมอารมณ์ในสมองให้กลับมาอยู่ในระดับที่ปกติ โดยยารักษาโรคซึมเศร้าออกฤทธิ์ช้า ซึ่งต้องทานต่อเนื่องอย่างน้อย 2-3 สัปดาห์ โดยปกติจะเห็นผลต้องใช้เวลา 4-6 สัปดาห์ เมื่ออาการเริ่มกลับสู่ปกติแล้วนั้น ทางแพทย์จะแนะนำให้กินต่อเนื่องไปอีกอย่างน้อย 6 เดือน ตามลักษณะอาการ
- การรักษาด้วยวิธีจิตบำบัด
วิธีรักษาโรคซึมเศร้าโดยวิธีนี้นั้นมักใช้กับผู้ที่เป็นโรคซึมเศร้าอาการไม่รุนแรง และ ตามการประเมินของจิตแพทย์ โดยมีหลายวิธีการรักษา ไม่่าจะเป็นการประคับประคองจิตใจ ทำความเข้าใจความรู้สึก ปรับความคิดแล้วความเข้าใจ ซึ่งการบำบัดจะแตกต่างกันไปตามการพิจารณาอาการความเหมาะสม และความรุนแรงของภาวะซึมเศร้าของผู้เข้ารักษา
อย่างที่กล่าวไปนั้นโรคซึมเศร้าสามารถรักษาให้ดีขึ้นตามลำดับได้ โดยทางเครือญาติหรือผู้ที่เกี่ยวข้องกับผู้ป่วยสามารถช่วยเหลือผู้ป่วยได้ ไม่ว่าจะเป็นการให้กำลังใจ รับฟังความรู้สึกหรือความคิดเห็นต่าง ๆ ไม่ตัดสินผู้ป่วยด้วยเหตุผลตนเอง หากในรายผู้ป่วยโรคซึมเศร้าที่มีความเสี่ยงในการฆ่าตัวตายสูง ญาติหรือผู้เกี่ยวข้องควรดูแลใกล้ชิดตลอด 24 ชม. ไม่ควรปล่อยให้ผู้ป่วยอยู่คนเดียว เพื่อลดความเสี่ยง ตลอดช่วยที่มีอาการ
ยารักษาโรคซึมเศร้ามีผลข้างเคียงไหม?
ยารักษาสำหรับโรคซึมเศร้านั้นจะมีผลข้างเคียงตามชนิดกลุ่มของยาซึ่งมีดังนี้
- ยากลุ่ม Tetracyclics group อาการข้างเคียงนั่นคือ ง่วงนอน ปากแห้ง
- ยากลุ่ม Tricyclics สำหรับโรคซึมเศร้า อาการข้างเคียง คือ ท้องผูก มึนงง ตาพร่า คอแห้ง
- ยากลุ่ม Triazolopyridines group ในโรคซึมเศร้ามีอาการข้างเคียงคือง่วงนอน ความดันต่ำขณะเปลี่ยนท่าทาง ปวดหัว
- ยากลุ่ม NDRI อาการข้างเคียงคือ นอนไม่หลับ อาเจียน ปากแห้ง
- ยากลุ่ม SNRI Group อาการข้างเคียงสำหรับโรคซึมเศร้าคือ ความต้องการทางเพศลดลง คอแห้ง
ยากลุ่ม SSRI group อาการข้างเคียง คือ นอนไม่หลับ มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ปวดหัว ท้องเสีย
สรุปโรคซึมเศร้า ทำความเข้าใจเพื่อการรักษาที่ถูกต้อง
โรคซึมเศร้านั้นเป็นโรคทางจิตเวชชนิดหนึ่ง เกิดจากหลายปัจจัยไม่ว่าจะเป็น สารสื่อสารในสมองมีระดับผิดปกติ ความเครียดสะสม หรือ พบเหตุการณ์ที่สะเทือนจิตใจอย่างรุนแรง อาการของโรคซึมเศร้านั้นมีอาการไม่่าจะเป็น ซึมเศร้า เบื่อหน่ายชีวิต เบื่ออาหาร หรือหากรุนแรงถึงขั้นคิดฆ่าตัวตาย โดยสามารถรักษาได้ตามอาการหากรุนแรงอาจจะต้องรับยาเพื่อปรับสภาวะตามระดับโดยมีผลข้างเคียงที่ต่างกันไปตามกลุ่มยา