ยาลดความดันแบ่งเป็นทั้งหมดกี่กลุ่ม มีความแตกต่างกันอย่างไรบ้าง ?

 ยาลดความดันมีกี่กลุ่ม ?

ภาวะความดันโลหิตสูง เป็นภาวะที่สามารถพบได้กับผู้คนทุกเพศทุกวัย โดยเฉพาะผู้ที่สูงอายุ และผู้ที่ประสบปัญหาโรคประจำตัวเช่นโรคอ้วน, โรคไขมันอุดตัน ฯลฯ เป็นโรคที่สามารถรักษาได้ด้วยการดูแลสุขภาพที่เหมาะสม และการรับประทานยาลดความดันโลหิตสูงตามอาการที่เหมาะสม ซึ่งในปัจจุบันยาลดความดันนั้นมีหลายกลุ่มมากทำให้หลาย ๆ คนอาจเกิดความสับสนไม่รู้ว่าจะใช้ยาความดันกลุ่มไหนดีถึงจะเหมาะสม โดยในบทความนี้จะมาแนะนำทุกคนให้รู้จักกับยาลดความดันแต่ละกลุ่ม และวิธีการใช้ยาอย่างไรให้ปลอดภัยต่อสุขภาพ

ยาลดความดัน คืออะไร

ยาลดความดันคือ ยาสำหรับรักษาอาการผู้ป่วยที่มีภาวะความดันโลหิตสูงโดยเฉพาะ เป็นยาที่ผู้ป่วยจะต้องได้รับคำแนะนำโดยตรงจากแพทย์ เนื่องด้วยตัวยาลดความดันโลหิตสูงมีการออกฤทธิ์ยาหลายประเภทเช่น ขับปัสสาวะ, ชะลอการเต้นของหัวใจ, ขยายหลอดเลือด ฯลฯ ซึ่งหากมีการใช้ผิดกลุ่มอาจก่อให้เกิดผลข้างเคียงที่เป็นอันตรายต่อร่างกายผู้ป่วยได้

รู้จักกับโรคความดันโลหิตสูง

โรคความดันโลหิตสูง (Hypertension) จะหมายถึงผู้ที่มีความดันโลหิตสูงกว่าหรือเท่ากับ 140/90 มม.ปรอท เป็นโรคที่ไม่มีอาการแน่ชัด แต่ในบางคนอาจเกิดอาการต่าง ๆ เช่น ปวดศีรษะ, เลือดกำเดาไหล, หายใจผิดปกติ และในบางคนก็ไม่พบอาการผิดปกติจนกว่าจะได้รับการตรวจ เป็นโรคที่สามารถรักษาได้ด้วยการใช้ยาลดความดัน โรคความดันโลหิตสูงยังเป็นสาเหตุหลักของโรคแทรกซ้อนต่าง ๆ เช่น โรคหลอดเลือดสมอง, โรคหัวใจ, ไตวาย, เส้นเลือดแดงใหญ่โป่งพอง เป็นต้น 

วิธีการใช้ยาลดความดันให้ปลอดภัย

ใช้ยาลดความดันอย่างไรให้ปลอดภัย ?

แนะนำวิธีการใช้ยาลดความดันโลหิตสูงอย่างปลอดภัย สำหรับผู้ป่วยโรคความดันที่ได้รับยามาแล้วจากโรงพยาบาล หรือจากคลินิกรักษาโรคความดัน ซึ่งในบางคนอาจจะไม่ลืมวิธีการใช้ยาที่ถูกต้อง เพราะว่าการใช้ยาลดความดันให้ถูกต้องจะถือเป็นสิ่งสำคัญในการรักษาโรคความดันที่มีประสิทธิภาพ โดยจะมีข้อแนะนำการใช้ยาดังนี้ 

  1. ใช้ยาอย่างต่อเนื่องทุกวันตามคำสั่งแพทย์ และรับประทานยาเวลาเดิมทุกวัน
  2. หากลืมใช้ยา 1 ครั้ง ในการใช้ยาครั้งต่อไปห้ามรับยาลดความดันเป็น 2 เท่าเด็ดขาด
  3. ห้ามทำการเคี้ยวยา, บดยา, ละลายยา เพราะยาแก้ความดันสูงเป็นยาที่มีออกฤทธิ์แรง
  4. เก็บยาไว้ในอุณหภูมิห้องปกติ ห้ามโดนแสงแดด ห้ามแกะยาสัมผัสอากาศทิ้งไว้นาน ๆ 
  5. หากมีการใช้ยาลดความดันโลหิตหลายประเภทพร้อมกันเสมอ ต้องรับประทานยาทุกชนิด ห้ามหยุดประเภทใดประเภทหนึ่ง

ยาลดความดันมีกี่ประเภท

ยาลดความดันสามารถแบ่งได้เป็น 7 กลุ่มหลัก ๆ ซึ่งยาแต่ละกลุ่มจะมีรูปแบบการออกฤทธิ์ที่ต่างกัน มีผลข้างเคียงยาลดความดันแต่ละกลุ่มที่แตกต่างกัน โดยก่อนที่จะทำการรักษาด้วยการใช้ยาแพทย์จะเป็นผู้ตรวจสุขภาพร่างกาย และให้คำแนะนำกับผู้ป่วยว่าควรใช้ยารักษาความดันโลหิตสูงกลุ่มใด เพื่อป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้นจากการรับยาผิดกลุ่มได้

1. ยาลดความดันกลุ่มยับยั้งการจับตัวแอนจิโทแทนซิน 

ยาลดความดันกลุ่ม Angiotensin Converting Enzyme (ACEI) เป็นยาที่ออกฤทธิ์โดยที่จะไปยับยั้งการทำงานของเอนไซม์แอนจิโอแทนซิน (Angiotensin) ที่เป็นสาเหตุหลักทำให้หลอดเลือดหดตัว ให้ลดน้อยลงทำให้หลอดเลือดกลับสู่สภาพปกติ โดยผลข้างเคียงของยากลุ่มนี้คือ จะทำให้ผู้ใช้ยามีอาการไอแห้ง ๆ และเกิดภาวะโพแทสเซียม (Potassium) ในเลือดสูงขึ้นได้ ตัวอย่างยาลดความดันที่อยู่ในกลุ่ม ACEI เช่น ยาอินาลาพริล (enalapril), ยาไลสิโนพริล (lisinopril) เป็นต้น

2. ยาลดความดันกลุ่มยาขัดขวางการจับตัวรับแอนจิโอแทนซิน

ยาลดความดันกลุ่ม Angiotensin Receptor Blocker (ARB) เป็นยาที่ออกฤทธิ์โดยการป้องกันไม่ให้เอนไซม์แอนจิโอแทนซินจับตัวกัน ทำให้หลอดเลือดเกิดการขยายตัว มีผลข้างเคียงคือ ทำให้เกิดภาวะโพแทสเซียม (Potassium) ในเลือดสูงขึ้นได้ ตัวอย่างยาลดความดันที่อยู่ในกลุ่ม ARB เช่น ยาเออบิซาร์แทน (Irbesartan),

ยาวาลซาร์แทน (Valsartan), ยาลอซาร์แทน (Losartan)

3. ยาลดความดันกลุ่มยาขับปัสสาวะ

ยาลดความดันกลุ่มนี้จะออกฤทธิ์โดยการขับเกลือออกจากร่างกายโดยทางปัสสาวะ มีผลค้างเคียงคือ ทำให้ร่างกายสูญเสียน้ำมากทำให้ขาดน้ำ ทำให้ระบบโพแทสเซียม (Potassium) ในเลือดผิดปกติได้ และอาจทำให้ระดับไขมันในเลือดสูง ตัวอย่างยาลดความดันที่อยู่ในกลุ่มยาขับปัสสาวะเช่น ยาไฮโดรคลอโรธัยอาไซด์ (Hydrochlorothiazide), ยาไฮโดรคลอโรธัยอาไซด์ (Hydrochlorothiazide) เป็นต้น

4. ยาลดความดันกลุ่มอัลฟ่าบล็อกเกอร์

ยาลดความดันกลุ่มนี้จะออกฤทธิ์โดยการปิดกั้นระบบประสาทของผู้ป่วย โดยจะทำให้หลอดเลือดเกิดการขยายตัวมากขึ้น มีผลข้างเคียงคือ อาจทำให้ผู้ที่มีความดันต่ำเมื่อรับยาไปแล้ว อาจเกิดอาการหน้ามืดได้โดยเฉพาะช่วงเวลาที่ต้องเปลี่ยนท่าทางกะทันหันเช่น การลุกขึ้นยืนอย่างรวดเร็ว ควรทำเป็นลำดับขั้นตอนอย่างช้า ๆ และมีผลข้างเคียงอื่น ๆ เล็กน้อยเช่น ใจสั่น, ไม่มีแรง, ปวดหัว เป็นต้น ตัวอย่างยาลดความดันกลุ่มนี้ได้แก่ ยาด๊อกซาโสซิน (Doxasozin), ยาปราโซสิน (Prazosin) 

5. ยาลดความดันกลุ่มเบต้าบล็อกเกอร์

ยาลดความดันกลุ่มนี้ออกฤทธิ์โดยการปิดกั้นระบบประสาท ทำให้หัวใจเต้นช้าลง ส่งผลให้ชีพจรต่ำลง ทำให้ความดันโลหิตลดลง มีผลข้างเคียงคือ ทำให้อ่อนเพลียต่อเนื่องเป็นเวลา 1-2 สัปดาห์ และทำให้เสื่อมสมรรถภาพทางเพศได้ เป็นกลุ่มที่ห้ามเด็ดขาดในผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวเช่น หอบหืด, ถุงลมโป่งพอง เพราะอาจจะทำให้อาการกำเริบมากขึ้นได้ โดยตัวอย่างยาลดความดันในกลุ่มนี้เช่น ยาเมโตโปรลอล (Metoprolol), ยาอะทีโนลอล (Atenolol)

6. ยาลดความดันกลุ่มยาขยายเส้นเลือดแดง

ยาลดความดันกลุ่มนี้ออกฤทธิ์โดยการขยายเส้นเลือดโดยตรง ทำให้เลือดสามารถไหลเวียนได้ดีขึ้น ผลข้างเคียงของยากลุ่มนี้คือ ใจสั่น, ปวดศีรษะ, หน้าแดง เป็นต้น ตัวอย่างยาลดความดันที่อยู่ในกลุ่มนี้เช่น ยาไมนอกซีดิล (Minoxidil), ยาไฮดราลาซีน (Hydralazine)

7. ยาลดความดันกลุ่มปิดกั้นแคลเซียมเข้าสู่เซลล์

ยาลดความดันกลุ่มนี้ออกฤทธิ์โดยการปิดกั้นการไหลของแคลเซียมที่เข้าสู่เซลล์ ทำให้กล้ามเนื้อหลอดเลือดคลายตัว และทำให้หลอดเลือดเกิดการขยายตัว ผลข้างเคียงของยากลุ่มนี้เช่น ปวดศีรษะ, ท้องผูก, ข้อเท้าบวม, ใจสั่น เป็นต้น ตัวอย่างยาลดความดันที่อยู่ในกลุ่มนี้เช่น ยาแอมโลดิปีน (Amlodipine), ยาไนเฟดิปีน (Nifedipine)

หากมีอากรความดันโลหิตสูง มีวิธีการดูแลตัวเองอย่างไร ?

วิธีดูแลสุขภาพ ร่วมกับการใช้ยาลดความดัน

โรคความดันโลหิตสูงเป็นโรคที่เกิดจากการที่ไม่ได้ดูแลสุขภาพให้ดี ถึงแม้ว่าการรักษาจะสามารถรักษาได้ด้วยยาลดความดันโลหิตสูงได้ ก็ยังไม่ควรที่จะละเลยการดูแลสุขภาพให้แข็งแรงอยู่เสมอ เพราะว่าโรคความดันโลหิตสูงสามารถกลับมาเป็นได้อีก และอาจจะทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนอื่น ๆ ที่เป็นอันตรายได้ เพื่อให้เป็นแนวทางป้องกันโรคความดันโลหิตสูงในหัวข้อนี้จะขอแนะนำวิธีดูแลตัวเองง่าย ๆ ที่สามารถใช้ร่วมกับการรักษาด้วยยาลดความดัน ดังนี้

  1. มีการลดน้ำหนักสำหรับผู้ที่มีอาการน้ำหนักตัวมาก
  2. งดการสูบบุหรี่ทุกชนิด
  3. งดเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ทุกชนิด
  4. งดเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมคาเฟอีน
  5. ออกกำลังกายเบา ๆ เป็นประจำวันละ 15-30 นาที
  6. ดื่มน้ำให้เพียงพอ
  7. กินอาหารให้ครบ 5 หมู่ในปริมาณที่เหมาะสม
  8. หลีกเลี่ยงอาหารที่มีรสจัด รสเค็มจัด และอาหารที่มีโซเดียมสูง

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับยาลดความดัน

รวมคำถามที่มักพบได้บ่อยในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ที่กำลังอยู่ในระหว่างการรักษาโรคความดันโลหิตสูงโดยการใช้ยาลดความดัน จะมีคำถามอยู่ 2 ข้อที่เป็นคำถามประจำเมื่อต้องมีการใช้ยาความดันโลหิตสูงในการรักษาคือ

ทานยาลดความดันต้องทานต่อเนื่องไหม?

สำหรับผู้ป่วยที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง จะต้องรับประทานยาลดความดันอย่างต่อเนื่องทุกวัน วันละ 1 เม็ด ไม่ควรลืมวันใดวันหนึ่งเด็ดขาด แต่ถ้าหากลืมในมื้อถัดไปในการรับประทานยาห้ามรับประทานเพิ่มขึ้นเป็น 2 เม็ดเด็ดขาด มิฉะนั้นอาจทำให้เกิดอาการหน้ามืดได้ 

ยาลดความดันกินก่อนหรือหลังอาหาร?

ยาลดความดันกินก่อนหรือหลังอาหาร เป็นคำถามที่พบได้บ่อยที่สุดเกี่ยวกับการใช้ยาลดความดัน เพราะโดยปกติแล้วแพทย์จะสั่งให้มีการรับประทานหลังจากอาหารเช้าอยู่เสมอ เพื่อป้องกันการลืมทานยา แต่ในความเป็นจริงสามารถทานได้ทั้งก่อน และหลัง สิ่งที่จำเป็นที่สุดก็คือการรับประทานในเวลาเดิมทุกครั้ง

สรุปเรื่องยาลดความดัน

ยาลดความดันเป็นยาที่ต้องมีการเลือกใช้ให้ถูกกลุ่ม เพื่อป้องกันความอันตรายที่อาจเกิดขึ้นกับสุขภาพได้ ในการใช้ยาควรมีการปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญก่อนเสมอ เพื่อที่ผู้ป่วยจะได้ใช้ยาความดันโลหิตสูงที่มีความเหมาะสมกับร่างกาย จะช่วยให้การรักษาโรคเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยสุดท้ายนี้ผู้ป่วยต้องไม่ลืมที่จะปฏิบัติตามคำแนะนำในการใช้ยา และการดูแลตัวเองตามคำแนะนำก็จะช่วยป้องกันไม่ให้เกิดโรคความดันโลหิตสูงได้ง่าย ๆ

Thank you for your Vote Rating
[Total: 0 Average: 0]