ฟัน ถือว่าเป็นอวัยวะอีกส่วนที่ต้องได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิด ด้วยการตรวจสุขภาพอย่างเป็นประจำ แต่ก็อาจจะเกิดอาการปวดขึ้นมาได้ตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็นเพราะเหงือกอักเสบหรือปวดฟันคุด หลายคนจึงมีวิธีแก้อาการปวดฟันง่าย ๆ คือ การใช้ยาแก้ปวดฟัน โดยยาปวดฟันนี้ ก็มีมากมายหลายยี่ห้อ แล้วเราควรเลือกใช้ยาแก้ปวดฟันยี่ห้อไหนดี ยายี่ห้อใดจึงจะเหมาะกับอาการปวดของเรามากที่สุด จะมีวิธีเลือกยาอย่างไรให้ปลอดภัย รวมถึงวิธีดูแลช่องปากเมื่อเกิดอาการปวดฟัน
อาการปวดฟันควรใช้ยาแก้ปวดฟันแบบไหน
ก่อนอื่น เราต้องทราบก่อนว่า ยาแก้ปวดฟันช่วยรักษาอาการปวดที่แตกต่างกัน ดังนั้น เราจึงต้องดูระดับอาการปวดเป็นหลัก ก่อนจะเลือกซื้อยาปวดฟัน ดังต่อไปนี้
ยาพาราเซตามอล
ยาพาราเซตามอล (Paracetamol) ถือว่าเป็นยาสามัญประจำบ้าน ช่วยบรรเทาอาการปวดทั่วไป สามารถช่วยลดอาการปวดฟันในบางครั้ง แต่ก็ไม่ได้ถือว่าเป็นยาแก้ปวดฟันโดยเฉพาะ หากเพิ่งเริ่มปวดฟัน ปวดเล็กน้อย ไม่ได้ปวดแบบรุนแรงมาก ก็สามารถใช้ยาพาราเซตามอลได้ ซึ่งใช้ตามคำแนะนำ คือ
- ผู้ใหญ่ รับประทานยาครั้งละ 1 – 2 เม็ด ทุก 4 – 6 ชั่วโมง หรือเฉพาะเวลาที่มีอาการปวด โดยไม่ควรรับประทานยาเกิน 8 เม็ดต่อวัน และไม่รับประทานยาต่อเนื่องเกิน 5 วัน
- เด็ก หรือผู้มีน้ำหนักตัวน้อย หรือผู้เป็นโรคตับ จะต้องมีการปรับขนาดยาให้เหมาะสมกับตนเอง จึงควรรับประทานยาภายใต้การดูแลของแพทย์
ยาบาคามอล 500
ยาบาคามอล 500 ด้วยสรรพคุณก็เหมือนยาพาราเซตามอล ซึ่งช่วยบรรเทาอาการปวดทั่วไป หรือใช้เมื่อมีไข้ โดยยานี้ก็สามารถใช้เป็นยาแก้ปวดฟัน ในกรณีปวดจากการอักเสบได้ ซึ่งมีวิธีรับประทานเหมือนยาพาราเซตามอล
พอนสแตน 500
ยาพอนสแตน 500 (Ponstan) เป็นยาแก้อักเสบ รวมทั้งยังเป็นยาแก้ปวดที่มีประสิทธิภาพเป็นอย่างมาก ช่วยลดอาการปวดหรืออักเสบได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะการปวดฟันจากการอักเสบ บางคนจึงเรียกว่า ยาแก้ปวดฟันพอนสแตน
ไอบูโพรเฟน
ยาไอบูโพรเฟน (Ibuprofen) ช่วยรักษาอาการปวดฟัน ที่มีระดับปานกลาง ด้วยผู้ป่วยบางรายได้ใช้ยาพาราเซตามอลแล้วยังไม่มีอาการดีขึ้น แพทย์หรือเภสัชกรจะแนะนำให้หยุดยาจากพาราเซตามอลไปใช้ยาแก้ปวดฟันตัวอื่น อย่างยาไอบูโพรเฟน ชนิดเม็ด 400 mg วันละ 3 ครั้ง โดยยากลุ่มนี้ มีฤทธิ์เป็นกรด จึงควรกินหลังอาหารทันที เพื่อช่วยลดการระคายเคืองกระเพาะอาหาร แต่ก็ไม่ควรรับประทานยาติดต่อนาน ๆ เพราะจะทำให้เป็นแผลที่กระเพาะอาหารได้
ยาแก้อักเสบชนิดไม่ใช่สเตียรอยด์
ยาแก้อักเสบชนิดไม่ใช่สเตียรอยด์ (Nonsteroidal anti-inflammatory drug) หรือ “NSAIDs” เป็นยาแก้ปวดฟันที่นำมาใช้บรรเทาอาการปวดฟันในระดับปานกลางไปจนถึงมาก แต่ทั้งนี้ อาจจะทำให้เกิดการระคายเคืองกระเพาะอาหาร หรือส่งผลข้างเคียงกับการทำงานของไตได้ ดังนั้น จึงไม่สามารถซื้อยามารับประทานได้เองเหมือนกับยาพาราเซตามอล ต้องปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนทุกครั้ง
เลือกใช้ยาแก้ปวดฟันอย่างไรให้ปลอดภัย
ด้วยยาแก้ปวดฟันในปัจจุบันมีให้เลือกใช้มากมาย เราจะมีแนวทางในการเลือกใช้ยาปวดฟันอย่างไรดี เพื่อแก้ปวดฟันให้ดีที่สุด โดยขอแนะนำวิธีการใช้ยา ดังนี้
- อ่านคำแนะนำการใช้ยาแก้ปวดฟันให้ถี่ถ้วน เช่น ควรใช้ยานานเท่าใด ปริมาณยาเท่าไร ยาปวดฟันนั้น เหมาะกับอาการปวดของเราหรือไม่
- ไม่ควรใช้ยาแก้ปวดฟันเกินขนาด ห้ามเพิ่มปริมาณของยาเกินความจำเป็น ควรใช้ยาภายใต้คำแนะนำจากแพทย์เท่านั้น
- ควรตรวจสอบวันหมดอายุของยาปวดฟันก่อนใช้เสมอ หลีกเลี่ยงการรับประทานยาหมดอายุ
- หลีกเลี่ยงการใช้ยาปวดฟันรวมกับยาอื่น หากมีโรคประจำตัวหรือใช้ยาชนิดอื่นอยู่ ควรจะปรึกษาแพทย์ ก่อนใช้ยาแก้ปวดฟัน
- หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ระหว่างการใช้ยาแก้ปวดฟัน เนื่องจากอาจจะทำให้ยาไม่ได้ผลหรือเกิดผลข้างเคียงได้
- หากมีประวัติการแพ้ยา หรือมีอาการแพ้ยาใด ๆ ควรแจ้งให้แพทย์ทราบก่อนใช้ยาแก้ปวดฟัน
- ยาแก้ปวดฟันควรใช้ เมื่อมีอาการปวดจริง ๆ แต่ไม่ควรใช้นานเกินไป โดยไม่ได้รับคำแนะนำจากแพทย์ โดยไม่ควรใช้ยาอย่างต่อเนื่องเป็นเวลานานเกินไป
ยาแก้ปวดฟันเป็นยาที่ใช้แบบชั่วคราว เพื่อบรรเทาอาการ แก้ปวดฟัน แต่ถ้ามีอาการรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ ก็จำเป็นต้องเข้าปรึกษาแพทย์ เพื่อหาแนวทางการรักษาที่เหมาะสมต่อไป
วิธีดูแลช่องปากเมื่อเกิดอาการปวดฟัน
อาการปวดฟันอาจจะเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็นเพราะถอนฟัน เหงือกอักเสบ ปวดฟันคุด หรือเกิดปวดฟันแบบเฉียบพลันไม่ทราบสาเหตุ นอกจากการเลือกใช้ยาแก้ปวดฟันยี่ห้อไหนดีแล้วนั้น เรายังสามารถดูแลช่องปากเมื่อเกิดอาการปวดฟันได้ด้วย ถือว่าเป็นวิธีบรรเทาอาการปวดฟัน ดังนี้
- แปรงฟันอย่างถูกต้อง โดยแปรงฟันวันละ 2 ครั้ง คือ ตอนเช้าและตอนกลางคืน ใช้ยาสีฟันที่มีฟลูออไรด์ แปรงให้สะอาดให้เรียบร้อยและอย่าลืมแปรงลิ้นด้วย
- ใช้ไหมขัดฟันทำความสะอาดระหว่างซอกฟัน เพื่อขจัดคราบอาหาร หลังรับประทานอาหาร ก็จะช่วยทำให้หายปวดฟัน
- ลดการบริโภคอาหารและเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลหรือกรดสูง เนื่องจากอาจจะทำให้เกิดการทำลายเนื้อเยื่อในช่องปาก
- หลีกเลี่ยงการกัด แทะอาหารของแข็ง ซึ่งอาจจะทำให้มีอาการปวดมากยิ่งขึ้น
- หากมีอาการปวดฟันรุนแรง ควรงดอาหารหรือเครื่องดื่มเย็น ถือว่าเป็นวิธีแก้อาการปวดฟันชั่วคราว
- งดสูบบุหรี่และดื่มแอลกอฮอล์ เพราะจะทำให้มีอาการปวดมากขึ้น
- ใช้ยาแก้ปวดฟันตามคำแนะนำของแพทย์หรือเภสัชกร หรือพิจารณาจากฉลากยา ให้เหมาะสมกับอาการปวด
- หากรับประทานยาแก้ปวดฟันหรือยาแก้เหงือกบวมแล้วยังไม่มีอาการดีขึ้น ก็ควรไปพบทันตแพทย์ เพื่อให้แพทย์วินิจฉัยหาสาเหตุ รับการรักษาต่อไป
เมื่อเกิดอาการปวดฟัน เราไม่ควรชะล่าใจ คิดว่า สามารถหายเองได้ เพราะทุกอาการเจ็บป่วยล้วนแต่มีสาเหตุ โดยเฉพาะการปวดฟัน หากรู้สาเหตุของการปวดฟัน เราก็สามารถรักษาด้วยยาในเบื้องต้นได้ เช่น
- ถอนฟัน อาจจะใช้ยาแก้อักเสบปวดฟัน
- ปวดฟันคุด อาจจะใช้ยาแก้ปวดฟันคุด
- เหงือกอักเสบ อาจจะใช้ยาแก้เหงือกอักเสบ หรือยาแก้ปวดฟันเหงือกบวม หรือยาแก้เหงือกบวมเป็นหนอง
สรุปยาแก้ปวดฟัน
อาการปวดฟันสามารถเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ดังนั้น เราจึงต้องทราบสาเหตุเสียก่อน เพื่อจะได้รักษาอย่างถูกต้อง โดยเบื้องต้น เราสามารถเลือกใช้ยาแก้ปวดฟันได้ตามระดับอาการปวด หากปวดเพียงเล็กน้อยก็สามารถใช้ยาพาราเซตามอล ยาบาคามอล 500 หรือยาพอนสแตนแก้ปวดฟันได้ แต่ถ้าปวดระดับปานกลางก็ควรใช้ยาไอบูโพรเฟน และถ้าปวดมาก ก็ขอแนะนำยาแก้อักเสบชนิดไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs) แต่ทั้งนี้ ควรทานยาภายใต้คำแนะนำของแพทย์หรือเภสัชกรอย่างเคร่งครัด