ปัญหาที่พบได้อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ในผู้สูงวัย หรือคนวัยชรา ซึ่งเป็นโรคที่พบได้มากนั้นก็คือโรคข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุ โดยอาการเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุที่พบได้ เช่น อาการเจ็บหรือปวด ปวดเข่า บวมแดง เข่าฝืด ยึด มีเสียงดังในเข่า ซึ่งทำให้เป็นปัญหาในการดำเนินชีวิตอย่างยิ่ง โดยสาเหตุนั้นเกิดได้จากหลายประการ โดยส่วนมากแล้วเกิดจากความเสื่อมสะสมจากการที่ใช้งานข้อเข่าอย่างไม่ถูกต้อง อีกทั้งน้ำหนักตัวที่มากขึ้นมีการใช้งานเข่ามากขึ้น และสาเหตุอีกหลายประการ
ปัญหาโรคข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุ มีแนวโน้มที่จะพบมากขึ้นในคนชรา หากไม่ได้รับการรักษาหรือการปฏิบัติตัวที่ถูกต้อง ก็จะยิ่งทำให้โรคนี้เกิดต่อไปเรื่อย ๆ ซึ่งในวันนี้เราจะมาทำความรู้จักเกี่ยวกับ โรคข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุว่า คืออะไร สาเหตุที่แท้จริงเกิดจากอะไรบ้าง พร้อมทั้งวิธีการรักษาต่าง ๆ ที่จะช่วยทำให้คุณได้รู้จักกับโรคข้อเข่าเสื่อมมากขึ้น เพื่อช่วยป้องกันโรคให้กับคนในครอบครัวของคุณได้
และสำหรับใครที่เริ่มมีอาการของโรคข้อเข่าเสื่อม หรือผู้สูงอายุในครอบครัวของคุณ หากมีอาการ การได้รับความรู้เกี่ยวกับโรค พร้อมการปฏิบัติตัวที่ถูกต้อง ก็จะสามารถดูแลบรรเทาอาการของโรคนั้นได้ เพื่อบรรเทาอาการของข้อเข่าเสื่อม จะทำให้คุณภาพของคุณหรือคนในครอบครัวมีชีวิตที่ดีในระยะยาว
โรคข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุ คืออะไร
โรคข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุ คือ เป็นโรคที่เกิดขึ้นจากเนื้อเยื่อที่เสื่อมสภาพลง ด้วยวัยที่เพิ่มขึ้น น้ำหนักตัว และความเสื่อมของการใช้งานข้อเข่า ทำให้เกิดการสูญเสียของกระดูกข้อเข่า ซึ่งอาการของโรคนั้น ได้แก่ อาการปวดข้อเข่าในผู้สูงอายุ หัวเข่าบวม มีเสียงในเข่า ซึ่งในบางรายอาจรุนแรงถึง ไม่สามารถทำกิจวัตรประจำวันได้อย่างปกติ ต้องรับการพยาบาลข้อเข่าเสื่อมที่ถูกวิธี
หากจะอธิบายให้เข้าใจอย่างง่ายสำหรับโรคข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุ นั้นก็คือ อาการที่เกิดจากการเสื่อมสภาพของข้อเข่าต่าง ๆ มักพบในปู่ ย่า ตา ยาย ซึ่งคุณอาจจะเคยได้ยินท่านบ่นตลอด ๆ ว่า ปวดเข่า ปวดข้อ ซึ่งก็เป็นอาการของโรคข้อเข่าเสื่อมนั้นเอง
ต้นเหตุโรคข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุ
สำหรับสาเหตุที่ทำให้เกิด โรคข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุนั้น สามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุ โดยโรคข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุสามารถเกิดได้จากสาเหตุดังต่อไปนี้
- เกิดจากความเสื่อมสภาพของข้อเข่า ที่มีการใช้งานไม่ถูกต้อง ในวัยหนุ่มสาวคุณอาจมีการใช้ข้อเข่าอย่างไม่ถูกต้อง ซึ่งนำมาถึงโรคข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุได้ เช่น การนั่งพับเพียบเป็นเวลานาน ๆ
- อายุที่มากขึ้น นอกจากความเสื่อมสภาพแล้ว อายุของคุณที่เพิ่มมากขึ้นจะทำให้อัตราการซ่อมแซมกระดูกลดลง โดยคนที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป จะเสี่ยงต่อการเกิดโรคข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุ
- การมีน้ำหนักตัวที่มาก ทำให้ข้อเข่าของคุณต้องรับน้ำหนักเยอะเกินไป โดยเฉพาะเวลาเดิน ข้อเข่าของคุณจะได้รับแรงกระทบอย่างมาก
- เกิดอุบัติเหตุที่บริเวณข้อเข่ามาก่อน
- โดยส่วนใหญ่แล้วโรคข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุจะพบมากในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย เนื่องจากเมื่อหมดประจำเดือนโครงสร้างกระดูกบริเวณผิวข้อจะบางลง ทำให้ข้อเข่าเสื่อมได้อย่างง่ายดาย
- ความเสี่ยงในการเกิดโรคข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุนั้น อาจเกิดจากพันธุกรรม หากคุณมีสมาชิกในครอบครัวที่เป็นโรคข้อเข่าเสื่อม สิ่งนี้อาจเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคข้อเข่าเสื่อมต่อลูกหลานในครอบครัวได้
- สาเหตุที่ทำให้เกิดโรคข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุ และเป็นสาเหตุที่หลายคนมองข้าม คือ กิจวัตรประจำวันที่ทำให้เกิดแรงกดที่บริเวณข้อเข่า ยกตัวอย่างเช่น การเดินขึ้น-ลงบันได, ยกของหนัก, นั่งพับเพียบ, นั่งยอง หรือการย่อเข่าบ่อย ๆ ก็เป็นอีกกิจกรรมที่ส่งผลให้เกิดโรคข้อเข่าเสื่อมได้ง่ายขึ้นเช่นกัน
หากคุณได้รู้ถึงสาเหตุของการเป็นโรคข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุแล้วนั้น และหากคุณมีความเสี่ยงที่จะเกิดโรคนี้ สิ่งที่คุณควรทำคือการสังเกตตัวเอง ประเมินสภาพร่างกายต่าง ๆ เพื่อที่คุณจะได้พบแพทย์เพื่อการรักษาต่อไป และการหลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่เสื่องต่อการเกิดโรคข้อเข่าเสื่อมต่าง ๆ
ข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุมีอาการอย่างไร
สำหรับอาการของโรคข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุ สามารถพบอาการได้ ดังต่อไปนี้
- อาการของโรคข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุนั้น มีหลายระยะด้วยกัน โดยในระยะเริ่มต้น คนไข้จะเริ่มมีอาการปวดเป็น ๆ หาย ๆ หรือบางรายอาจมีอาการปวดตลอดเวลาที่บริเวณข้อเข่า และในระยะแรกนั้นกระดูกอ่อนเริ่มมีการสึกกร่อนและเริ่มเกิดกระดูกงอก ข้อเข่าเริ่มมีเสียง ที่เกิดจากการเสียดสีของกระดูกขณะการเคลื่อนไหว หากคุณมีอาการดังกล่าวนั้น ให้คุณรีบไปพบแพทย์เพื่อทำการวินิจฉัยโรคให้ทันถ่วงที และป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาข้อเข่าที่รุนแรงขึ้น
- ในระยะต่อมาของโรคข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุ คือ บริเวณกระดูกอ่อนเกิดการสึกกร่อนมากขึ้น มีรอยแตกเป็นส่วนๆ และเกิดกระดูกงอกขนาดใหญ่ เกิดเสียงในข้อเข่ามากขึ้น เริ่มมีอาการปวดที่มีความรุนแรงขึ้น
- ในระยะที่รุนแรง คนไข้จะเริ่มมีข้อเข่าที่ผิดรูปร่าง มีอาการเข่าบวม หรือขาโก่งออก ทำให้เดินลำบาก และอาจหกล้มได้ อีกทั้งอาการเจ็บปวดจะรุนแรงเพิ่มมากขึ้น
- บางรายอาจมีข้อติด หรือ ฝืด
- สำหรับโรคข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุ การนั่งเก้าอี้เตี้ย การขึ้นลงบันได จะทำให้เกิดปัญหา และไม่สามารถทำกิจกรรมนั้น ๆ ได้
เมื่อคุณเริ่มมีอาการปวด ๆ ที่บริเวณข้อเข่า หรือปู่ ย่า ตา ยาย ของคุณเสี่ยงต่อการเกิดโรค คุณควรรีบไปพบแพทย์เพื่อทำการรักษาให้อย่างทันท่วงถี โดยอาการเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุ หากคุณทำการรักษาช้าเกินไป อาจทำให้โรคนั้นเข้าสู่ภาวะที่รุนแรงมากขึ้น และอาจสายเกินไปในการจะเข้ารับการรักษา
วิธีรักษาโรคข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุ
เมื่อคุณประเมินสภาพร่างกายแล้วว่า เสี่ยงต่อการเกิดโรคข้อเข่าเสื่อม หรือญาติผู้ใหญ่ของคุณเกิดเป็นโรคข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุ สำหรับการรักษานั้นจะมีวิธีการรักษา ดังต่อไปนี้
- การรักษาโรคข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงวัย ด้วยวิธีการทานยา โดยใช้ยาแก้ปวดหรือยาแก้อักเสบ ในการบรรเทาอาการต่าง ๆ เช่น พาราเซตามอล และการทานยายังเป็นวิธีการบรรเทาอาการปวดได้อย่างรวดเร็วและตรงจุดอีกด้วย
- การรักษาโรคข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุ ด้วยวิธีการกายภาพเป็นทางเลือกที่ดีสำหรับผู้ป่วย โดยการฝึกซ้อมและบำบัดเพื่อเพิ่มความแข็งแรงให้กับข้อเข่า สามารถช่วยลดอาการปวด และช่วยเรื่องการเคลื่อนไหวได้
- การฉีดสเตียรอยด์เข่า ซึ่งเป็นการรักษาโรคข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุโดยยาที่ฉีดเข้าไปนั้น จะไปทำการยับยั้งกระบวนการอักเสบของเนื้อเยื่อร่างกายที่บาดเจ็บได้ ช่วยในการบรรเทาอาการปวดข้อเข่า ที่เกิดจากการอักเสบสามารถลดการอักเสบได้รวดเร็วหลังจากฉีดไปแล้ว 24 ถึง 48 ชั่วโมง
- การฉีดน้ำไขข้อเทียม ซึ่งเป็นการรักษาโรคข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุโดยการฉีดยาเข้าไปที่บริเวณช่องข้อเข่าโดยตรง ด้วยสารประเภทกรดไฮยาลูโรนิก (Hyaluronic acid) ที่มีลักษณะและคุณสมบัติคล้ายกับของเหลวที่พบในข้อเข่าของคนเรา โดยมีหน้าที่ในการช่วย ดูดซับแรงกระแทก และช่วยให้พื้นผิวกระดูกอ่อนในข้อเข่าไม่เสียดสีกันรุนแรง ซึ่งการฉีดกรดไฮยาลูโรนิก (Hyaluronic acid) จะช่วยให้ข้อเข่าของคุณเคลื่อนไหวได้อย่างคล่องตัว สามารถใช้งานใกล้เคียงปกติมากขึ้น สามารถลดการอักเสบและบรรเทาอาการปวดได้
- การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม การผ่าตัดโดยการเปลี่ยนข้อเข่าเทียมแทนข้อเข่าที่เสื่อมสภาพซึ่งสามารถผ่าตัดข้อเข่าเทียมทั้งหมด หรือเป็นเฉพาะฝั่งได้ ซึ่งเป็นวิธีรักษาที่เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่รับการรักษาด้วยยาหรือวิธีอื่น ๆ มาแล้วแต่ยังไม่เห็นผล และแพทย์มีการวินิจฉัยแล้วว่าต้องทำการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม โดยระยะเวลาที่ใช้ในการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมจะอยู่ระหว่าง 90-120 นาที ต่อการผ่าตัดข้อเข่า 1 ข้าง โดยผู้ป่วยจะไม่รู้สึกเจ็บหลังผ่าตัด ใช้เวลาพักฟื้นประมาณ 3-4 วัน
ข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุป้องกันได้ไหม
โรคข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุนั้น ถึงแม้ว่าจะเป็นโรคที่พบได้บ่อยในคนวัยนี้ แต่ก็สามารถที่จะป้องกันหรือบรรเทาอาการของโรคได้เช่นกัน หากคุณมีการดูแลตนเองอย่างถูกต้อง และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมบางอย่างที่จะก่อให้เกิดโรคข้อเข่าเสื่อมได้ โดยการป้องกันโรคข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุ มีดังนี้
- การรักษาน้ำหนักตัวให้เหมาะสม คือการไม่ให้น้ำหนักตัวสูงเกินไป หรือไม่ปล่อยให้อ้วนจนน้ำหนักเกินที่ข้อเข่าของคุณจะรับไหว หรือส่งผลต่อแรงกระทบของข้อเข่า
- การออกกำลังกายช่วยป้องกันการเกิดโรคข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุ เพื่อเสริมสร้างความแข็งแรงให้กับกล้ามเนื้อและเส้นเอ็นที่รอบข้างข้อเข่า และช่วยรักษาความยืดหยุ่นของข้อเข่าได้อีกด้วย
- รับประทานอาหารหรืออาหารเสริมที่มีประโยชน์ที่ช่วยสร้างและบำรุงกล้ามเนื้อของข้อเข่า เช่นอาหารที่มีแคลเซียมและคอลลาเจนสูง
- หลีกเลี่ยงการกระโดดหรือการยกของหนัก การเดินขึ้น ลงบันไดหลาย ๆ รอบ
- การรักษาอาการอื่น ๆ เช่น การอักเสบเรื้อรังหรือภาวะอ้วน ควรรักษาและควบคุมอาการเหล่านี้ก่อนเพื่อลดการเสื่อมสภาพของข้อเข่า
วิธีดูแลผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุ
นอกจากแนวทางการรักษาหรือหลีกเลี่ยงโอกาสที่จะเกิดโรคข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุแล้ว การดูแลผู้ป่วยเป็นโรคนี้ ก็มีความสำคัญเช่นเดียวกัน ซึ่งวิธีการดูแลผู้ป่วยนั้น มีดังนี้
- การพยาบาลให้กับผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุ สามารถทำได้โดยการบริหารข้อเข่าเสื่อม ให้มีข้อเข่าให้แข็งแรง โดยนำยางยืดมาใช้บริหารกล้ามเนื้อขาและเข่า
- การบริหารข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุ สามารถบริหารได้หลายแบบ ทั้งการบริหารเข่าแบบนอน การบริหารแบบเคลื่อนไหวที่เข่า เป็นต้น หรือการบริหารในท่านั่งโดยการ นั่งเก้าอี้ให้ก้นชิดและพิงผนัง ควรมีม้วนผ้ารองใต้ขาเหนือเข่า จะทำให้ตัวไม่แอ่นหรือหลังโก่งเหยียดเข่าตรง เกร็ง นับ 1-10 พัก แล้วนับ 1-10 ต่อทำจนครบ 10 ครั้งแล้วสลับข้าง
- นอกจากการบริหารร่างกายต่าง ๆ แล้ว การให้ความรู้เกี่ยวกับปัจจัยที่จะเสี่ยงต่อการเป็นโรคข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุนั้น ทั้งการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม การดูแลตนเอง การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ สิ่งเหล่านี้สามารถทำให้ผู้ป่วยรับรู้ถึงการปฏิบัติตนอย่างถูกต้อง และสามารถช่วยบรรเทาอาการปวดของโรคได้
- หากผู้ป่วยมีอาการปวดอย่างรุนแรง ให้ทำการประคบเย็นเพื่อลดอาการอักเสบของข้อเข่า จากนั้นประคบร้อนเมื่ออาการปวดเข่าและการอักเสบของข้อลดลง หรือการทานยาเพื่อบรรเทาอาการปวด แต่การรับประทานยาแก้ปวดมาก ๆ อาจเกิดอาการข้างเคียงได้ ดังนั้นคุณควรรับระทานยาตามที่แพทย์แนะนำ
ข้อสรุป
โรคที่เป็นปัญหาที่ไม่อาจเลี่ยงได้ของคนชราคือ โรคข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงวัย ที่มีสาเหตุหลักมาจากความเสื่อมสภาพของข้อเข่าจากการใช้งานที่ไม่ถูกต้อง หรือการใช้งานข้อเข่าอย่างหนัก ซึ่งคุณสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของคุณได้ เพื่อป้องกันการเกิดโรคข้อเข่าเสื่อมในอนาคต หรือในกรณีที่ญาติผู้ใหญ่ในครอบครัวเป็นโรคนี้ไปแล้วนั้น วิธีการรักษาในปัจจุบันก็สามารถที่จะช่วยบรรเทา หรือทำให้โรคนี้หายได้ เช่น การฉีดสเตียรอยด์เข่า การใช้ยาเพื่อบรรเทาอาการปวด หรือการผ่าตัดข้อเข่าเทียม ในกรณีที่รักษาทุกวิธีแล้ว ยังเกิดอาการปวดอยู่ ซึ่งการรักษาวิธีต่าง ๆ ก็ขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคลและตามที่แพทย์วินิจฉัยเห็นแล้วว่าสมควรทำการรักษา
ดังนั้นการได้ข้อมูลที่เป็นความรู้เกี่ยวกับโรคข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุถือว่าจำเป็นอย่างยิ่งต่อการดูแลตนเองเพื่อป้องกันหรือหลีกเลี่ยงการเกิดโรคข้อเข่าเสื่อมในได้ นอกจากนี้การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และการรับประทานอาหารที่ช่วยเสริมสร้างข้อเข่ายังเป็นแนวทางที่จะช่วยป้องกันการเกิดโรคข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุได้อีกด้วย