ในทุกๆวันของร่างกายต้องมีการเคลื่อนไหวอย่างเลี่ยงไม่ได้ ไม่ว่าการลุก การเดิน แม้กระทั่งนั่ง ล้วนแล้วมีการใช้ส่วนขาเข้ามาเกี่ยวข้อง เมื่อได้รับการใช้งานเป็นเวลานานก็เป็นธรรมดาที่จะเกิดอาการข้อเข่าเสื่อม ซึ่งส่งผลให้บริเวณข้อเข่าเกิดความฝืดเคืองขยับได้ไม่สะดวก และมีอาการเจ็บปวดตามขึ้นมา
อาการเหล่านี้จะส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำเป็นอย่างมากจึงควรเข้ารับการรักษาโดยการผ่าตัดข้อเข่าเสื่อม ซึ่งหลายท่านอาจเกิดความกังวลใจและยังอยู่ในช่วงพิจารณาต่อการรักษา ในบทความนี้จะมาให้ข้อมูลการผ่าตัดข้อเข่าเสื่อมเพื่อเป็นแนวทางและไขข้อสงสัยต่างๆไปด้วยกัน
การผ่าตัดข้อเข่าเสื่อม
การผ่าตัดข้อเข่าเสื่อม (Knee Arthroplasty) คือ การผ่าตัดเอาผิวข้อเข่าส่วนที่เสื่อมสภาพแล้วออกและแทนที่ด้วยข้อเข่าเทียม ซึ่งจะทำให้กับผู้ป่วยที่ไม่สามารถรักษาได้ด้วยวิธีการอื่นๆ โดยอาการรุนแรงของผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อมที่สามารถเห็นได้ชัดเจนอย่าง ไม่สามารถเหยียดขา หรืองอขาได้สุด และเข่ามีการผิดรูป
ซึ่งอาการเหล่านี้เป็นผลต่อการใช้ชีวิตประจำวันอย่างมาก ในการผ่าตัดข้อเข่าเสื่อมจะทำการตัดบริเวณผิวข้อเข่าเสื่อมสภาพหรือส่วนที่ได้รับความเสียหายออก หลังจากนั้นจะทดแทนที่ด้วยผิวใหม่ที่ทำจากโลหะและพลาสติก เพื่อให้เข่าสามารถกลับมาใช้งานได้เป็นปกติอีกครั้ง
ผ่าตัดข้อเข่าเสื่อมอันตรายไหม
การผ่าตัดข้อเข่าเสื่อมก็เหมือนกับการผ่าตัดอื่น ๆ ซึ่งมีความเสี่ยงและภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้ แต่อย่างไรก็ตามความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีทางการแพทย์และเทคนิคการผ่าตัดในปัจจุบัน ช่วยลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นกับการผ่าตัดข้อเข่าเสื่อมได้อย่างมาก ซึ่งความปลอดภัยของการผ่าตัดข้อเข่าเสื่อมขึ้นอยู่กับปัจจัยต่าง ๆ รวมถึงขั้นตอนที่กำลังดำเนินการ สภาวะสุขภาพโดยรวมของแต่ละบุคคล และความเชี่ยวชาญของทีมแพทย์ที่ทำการผ่าตัดข้อเข่าเสื่อม โดยความเสี่ยงหรือภาวะแทรกซ้อนอาจเกิดขึ้นได้ เช่น
- การติดเชื้อ ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้หลังการผ่าตัดข้อเข่าเสื่อม อย่างไรก็ตามก็จะเทคนิคการฆ่าเชื้อที่เหมาะสมและมาตรการป้องกันสามารถลดความเสี่ยงได้อย่างมาก
- มีความเสี่ยงที่จะเกิดลิ่มเลือดที่ขา หลังการผ่าตัดข้อเข่าเสื่อม อาจป้องกันโดยการใช้ถุงน่องรัดกล้ามเนื้อ
- เส้นประสาทหรือเส้นเลือดเกิดความเสียหาย ซึ่งศัลยแพทย์จะต้องใช้ความระมัดระวังเพื่อหลีกเลี่ยงภาวะแทรกซ้อนดังกล่าว
สิ่งสำคัญคือต้องหารือเกี่ยวกับความเสี่ยงและภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นกับศัลยแพทย์กระดูกและข้อก่อนเข้ารับการผ่าตัดข้อเข่าเสื่อม และต้องปฏิบัติตามคำแนะนำก่อนและหลังการผ่าตัดของศัลยแพทย์ เพราะจะสามารถช่วยลดความเสี่ยงและเพิ่มความสำเร็จโดยรวมของการผ่าตัดข้อเข่าเสื่อม
ข้อเข่าเทียมคืออะไร
ข้อเข่าเทียม (Knee Replacement) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับการรักษาอาการข้อเข่าเสื่อม โดยจะใส่ทดแทนข้อเข่าเสื่อมสภาพเพื่อให้ข้อเข่าสามารถกลับมาทำงานได้อีกครั้ง โดยอายุการใช้งานโดยเฉลี่ยของข้อเข่าเทียมอยู่ประมาณ 20 ปีเป็นต้นไป จึงไม่จำเป็นต้องเข้ารับการผ่าตัดเพื่อรักษาข้อเข่าเสื่อมเป็นจำนวนหลายครั้ง
ข้อเข่าเทียม ทำมาจากวัสดุอะไร
ข้อเข่าเทียม (Knee Replacement) เป็นวัสดุพิเศษทำมาจากโลหะผสมไทเทเนียม (Titanium) และโคบอลต์โครเมียม (Cobalt chromium) หรือเซรามิก และส่วนตรงกลางที่รองรับการเคลื่อนไหวของข้อเทียม เป็นพลาสติกประเภทโพลีเอทีลีน (Polyethylene)
ซึ่งอุปกรณ์ดังกล่าวปลอดภัยต่อร่างกาย มีความแข็งแรงทนทาน ไม่ทำปฏิกิริยากับไฟฟ้าจึงไม่ต้องกังวลเวลาออกไปในช่วงฝนตก และมีอายุการใช้งานค่อนข้างยาวนาน ถึงอย่างงั้นอายุการใช้งานก็ยังขึ้นอยู่กับการของศัลยแพทย์ และการใช้ทำกิจวัตรประจำวันของผู้ทำการรักษาอีกด้วย
การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมมีกี่แบบ
การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม สามารถเกิดได้ขึ้นได้จากหลากหลายปัจจัย ซึ่งขึ้นอยู่กับอาการและความรุนแรงที่มีผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน โดยการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมแบ่งออกได้เป็น 2 แบบ ได้แก่
การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมแบบทั้งหมด
การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมแบบทั้งหมด (Total Knee Replacement) โดยผ่าตัดจะตัดผิวข้อเข่าที่เสื่อมสภาพตั้งแต่บริเวณกระดูกส่วนปลายต้นขา (Femur) และกระดูกส่วนบนของหน้าแข้ง (Tibia) ทั้งด้านในและนอก (Medial and lateral compartment) ออกทั้งหมด
ซึ่งเป็นการรักษาที่เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่มีอาการข้อเข่าเสียหายอย่างมาก อีกทั้งยังช่วยรักษาอาการอักเสบของข้อและสามารถทำให้ข้อเข่าที่ผิดรูปกลับมาตรงตามแบบได้ดังเดิม โดยส่วนใหญ่การผ่าตัดรูปแบบนี้จะเป็นผู้ป่วยที่มีอายุประมาณ 60 ปีขึ้นไป
การผ่าตัดเปลี่ยนผิวข้อเข่าเทียมเฉพาะฝั่ง
การผ่าตัดเปลี่ยนผิวข้อเข่าเทียมเฉพาะฝั่ง (Unicompartmental Knee Replacement) โดยผ่าตัดเปลี่ยนผิวด้านต้นขาและกระดูกหน้าแข้งเฉพาะเพียงด้านที่มีอาการเสื่อมสภาพเท่านั้น ซึ่งจะเก็บผิวข้อเข่าส่วนที่ดีไว้
ข้อดีของการผ่าตัดรูปแบบนี้ คือ แผลบริเวณผ่าตัดมีขนาดเล็ก การเจ็บปวดน้อยลงทำให้ร่างกายฟื้นตัวได้ไว โดยการผ่าตัดเปลี่ยนผิวข้อเข่าเทียมเฉพาะฝั่งเหมาะสำหรับผู้ป่วยที่ข้อเข่ายังไม่มีอาการเสียหายหนักมาก
ใครที่ควรเข้ารับการผ่าตัดข้อเข่าเสื่อม
สำหรับผู้ที่เข้ารับการผ่าตัดข้อเข่าเสื่อมหรือมีโอกาสเสี่ยงต้องผ่าตัด สามารถสังเกตอาการที่แสดงออกของตัวเองได้ตามนี้
- มีอาการปวดเข่ามากจนทำให้ไม่สามารถทำกิจวัตรประจำวันได้ เช่น ปวดเมื่อต้องเดิน ลุกหรือนั่ง ขึ้น-ลงบันได หรือปวดแม้กระทั่งเวลานอน
- มีการอักเสบบวมแดงของเข่าอยู่บ่อยครั้ง
- ขยับเข่าค่อนข้างลำบาก หรือเหยียดเข่าไม่สะดวก
- เข่ามีลักษณะผิดรูป เช่น เข่าโก่ง
- ใช้การรักษารูปแบบอื่นไม่ได้แล้ว เช่น การทานยา หรือการฉีดยาเข้าในเข่า
ทำไมเราถึงต้องผ่าตัดข้อเข่าเสื่อม
การผ่าตัดข้อเข่าเสื่อม มีเป้าหมายหลักคือการบรรเทาความเจ็บปวดของข้อเข่า และเพิ่มความคล่องตัว ต่อไปนี้เป็นตัวอย่างเหตุผล ที่อาจต้องผ่าตัดข้อเข่าเสื่อม
- เกิดความเสียหายที่ข้อเข่าอย่างรุนแรง จากโรคข้อเข่าเสื่อมในระยะลุกลาม
- เกิดความเจ็บปวดจากโรคข้อเข่าเสื่อมที่เรื้อรังและรุนแรง จนส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน
- ส่งผลต่อความสามารถในการทำงานประจำ เพราะข้อเข่าแข็ง ไม่มั่นคง และเคลื่อนไหวตัวลำบาก
- เมื่อรักษาด้วยการกินยาแก้ปวด กับทำกายภาพบำบัด แล้วไม่ได้ผล
สิ่งสำคัญคือต้องทราบว่าการตัดสินใจเข้ารับการผ่าตัดข้อเข่าเสื่อมนั้น ศัลยแพทย์กระดูกและข้อจะพิจารณาปัจจัยต่าง ๆ เช่น ความรุนแรงของอาการ สุขภาพโดยรวม ตลอดจนเป้าหมายและความต้องการของคนไข้ ซึ่งแพทย์อาจจะแนะนำเกี่ยวกับการรักษาที่มีอยู่ โดยไม่ต้องผ่าตัดข้อเข่าเสื่อม แต่หากจะทำการผ่าตัดก็ต้องให้ทีมแพทย์ที่เชี่ยวชาญและมีประสบการณ์เพื่อความปลอดภัย
การตรวจวินิจฉัยข้อเข่าเสื่อม
ก่อนจะเริ่มทำการรักษาข้อเข่าเสื่อมอย่างจริงจังจำเป็นต้องได้รับวินิจฉัยจากแพทย์เพื่อให้การรักษามีประสิทธิภาพมากที่สุด โดยจะใช้ข้อมูลดังต่อไปนี้ของผู้ป่วยเพื่อนำไปตัดสินใจเลือกวิธีรักษา
- สอบถามประวัติสุขภาพของผู้ป่วยในเบื้องต้น โรคประจำตัว พฤติกรรมในชีวิตประจำวัน อาการเจ็บปวดของข้อเข่า จนไปถึงการขยับข้อได้มากน้อยแค่ไหน
- การตรวจร่างกายเพื่อตรวจดูการทำงานของเข่าไปถึงความแข็งแรงของกล้ามเนื้อและเส้นเอ็นรอบๆเข่ารอบ น้ำหนักตัวที่มีสามารถส่งผลต่อข้อเข่า
- การเอกซเรย์เพื่อดูสภาพของกระดูกข้ออย่างละเอียด และความเสียหายของเข่า
- ในบางครั้งอาจมีการตรวจ MRI เพื่อดูสภาพของกล้ามเนื้อ และเนื้อเยื่อต่างๆโดยรอบกระดูก
การเตรียมตัวก่อนผ่าตัดข้อเข่าเสื่อม
การเตรียมตัวก่อนเข้ารับการผ่าตัดถือว่าเป็นส่วนสำคัญที่จะช่วยให้การผ่าตัดข้อเข่าเสื่อมสามารถผ่านไปได้อย่างราบรื่น ซึ่งนอกตัวผู้ป่วยจะต้องเตรียมร่างกายให้พร้อมก่อนผ่าตัดข้อเข่าเสื่อมแล้วก็ควรจัดสภาพแวดล้อมหลังการผ่าตัดเพื่อให้พร้อมอำนวยความสะดวกแก่ตนเองด้วย
- นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอเพื่อให้ร่างกายไม่ล้า
- การรับประทานอาหารเสริมเพื่อบำรุงร่างกาย โดยอาหารเสริมที่ทานนั้นเห็นชอบจากแพทย์แล้วว่าไม่ส่งผลกระทบต่อการผ่าตัด
- งดสูบบุหรี่
- งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิด
- ดูแลสุขภาพของตนเองให้ดีและระมัดระวังตัวอยู่สม่ำเสมอ เพื่อลดความเสี่ยงต่อติดเชื้อของบาดแผลบนร่างกายและบริเวณช่องปาก หากเกิดบาดแผลควรรีบทำการรักษทันที
- งดน้ำ-งดอาหารก่อนเวลาเข้ารับการผ่าตัดตามเวลาที่แพทย์ได้แจ้งเอาไว้
การจัดเตรียมสถานที่ให้พร้อมสำหรับหลังผ่าตัด
นอกจากการเตรียมร่างกายให้พร้อมตามที่กล่าวในเบื้องต้นแล้ว การจัดเตรียมสภาพแวดล้อมหลังการผ่าตัดข้อเข่าเพื่ออำนวยความสะดวกต่อผู้ป่วยก็เป็นอีกหนึ่งสิ่งสำคัญไม่ต่างกัน เนื่องจากหลังจากผ่าตัดแล้วการใช้ชีวิตประจำวันของผู้ป่วยจะไม่สะดวกอย่างเช่นแต่ก่อน เพราะยังไม่สามารถขยับร่างกายได้มากและอยู่พักฟื้นร่างกาย ดังนั้นแล้วสิ่งที่ควรจัดเตรียมไว้หลังผ่าตัดมีดังต่อไปนี้
- จัดการพื้นที่ทางเดินไม่ให้โล่ง สะดวกต่อการเดิน ไม่ควรมีของวางเกะกะยื่นออกมาซึ่งอาจเสี่ยงต่อเดินไปชนหรือสะดุดล้มได้
- ตรวจสอบความแข็งแรงของราวบันไดจับ ควรมั่นคงไม่ผุพัง สามารถจับค้ำยันได้
- ควรจัดห้องของผู้ป่วยให้อยู่เพียงชั้นเดียว เผื่อเลี่ยงการเดินขึ้น-ลงบันได
- ควรมีเก้าอี้พลาสติกไว้ในนั่งในห้องน้ำเพื่อใช้เวลาอาบน้ำ
- ในห้องน้ำควรติดตั้งราวจับแถวบริเวณชักโครกเพื่อช่วยในการพยุงตัวเวลาต้องลุกขึ้น
ขั้นตอนการผ่าตัดข้อเข่าเสื่อม
ขั้นตอนการผ่าตัดข้อเข่าเสื่อมมีขั้นตอนโดยคร่าวๆ ดังนี้
- ขั้นแรกจะทำการผ่าเปิดแผลบริเวณข้อเข่า โดยขนาดบาดแผลจะอยู่ที่ประมาณ 8-10 เซนติเมตร จากนั้นผ่าในส่วนของผิวกระดูกที่เสื่อมสภาพออก ซึ่งความหนาแต่ละบริเวณของกระดูกจะแตกต่างกันไป หากเป็นกระดูกหน้าแข้งความหนาส่วนนั้นจะไม่เกิน 10 มิลลิเมตร ส่วนกระดูกบริเวณต้นขา ความหนาจะไม่เกิน 9-10 มิลลิเมตร และผิวกระดูกส่วนสะบ้าความหนาจะไม่เกิน 8 มิลลิเมตร เพื่อรองรับวัสดุข้อเข่าเทียมเข้าจะเข้ามาแทนที่ข้อเข่าที่เสื่อมสภาพไปแล้ว
- ในขั้นต่อมาแพทย์จะต้องทำการปรับแต่งความตึงของเส้นเอ็นโดยรอบๆบริเวณข้อเข่า เพื่อให้ข้อเข่าหลังการผ่าตัดมีความตึงที่พอดี ไม่เกิดความโก่งงอผิดรูป และเพื่อที่ผู้ป่วยสามารถได้ใช้งานข้อเข่าได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด อีกทั้งเพื่อให้ข้อเข่าเทียมจะได้มีอายุการใช้งานที่ยาวนาน
โดยขั้นตอนในการผ่าตัดข้อเข่าเทียมจะใช้ระยะเวลาทั้งหมดโดยประมาณ 75 นาที ซึ่งหลังจากเข้ารับการผ่าตัดข้อแล้ว ผู้ป่วยจะสามารถขยับบริเวณข้อเข่าได้ทันที และสามารถใช้งานข้อเข่าได้ในวันแรกหลังการผ่าตัด แต่จะสามารถยืนได้หลังจากผ่าไปแล้ว 1 วัน และสามารถกลับไปพักฟื้นต่อที่บ้านได้ภายใน 3-5 วัน
ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นหลังผ่าตัด
แม้ว่าเทคโนโลยีทางการแพทย์จะทำให้การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเสื่อมเป็นการผ่าตัดที่มีความปลอดภัยสูง แต่ก็ยังสามารถเกิดอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนหลังการผ่าตัดได้ แต่โอกาสที่จะเกิดขึ้นได้นั้นมีเกิดได้ค่อนข้างน้อยกับผู้ป่วย ซึ่งจะสามารถพบเจอได้ดังนี้
- แผลแยก
- ข้อเข่าไม่มั่นคง
- มีลิ่มเลือดอุดตันบริเวณขา
- เส้นประสาทถูกกระทบกระเทือน
- เลือดคั่ง ซึ่งจะเกิดขึ้นในบางครั้ง สามารถรักษาได้โดยการผ่าตัดเพื่อนำก้อนเลือดออก
- การติดเชื้อ ซึ่งมีโอกาสความเป็นไปได้ประมาณ 1-2%
- ภาวะเส้นเลือดดำอุดตัน ซึ่งอาจเกิดจากลิ่มเลือดไปติดบริเวณกล้ามเนื้อหัวใจและปอดส่งผลให้เกิดเกิดภาวะหัวใจและระบบหมุนเวียนของเลือดล้มเหลว แต่สามารถป้องกันได้โดยวิธีขยับขาสองข้างให้เร็วที่สุดเท่าที่ทำได้ เพื่อให้การไหลเวียนเลือดดีขึ้นและลดความเสี่ยงความอุดตัน ซึ่งอาการนี้จะพบได้ในคนผิวขาวมากกว่าคนผิวเหลือง
- ภาวะด้านหัวใจ ซึ่งจะเกิดการที่เสียเลือดเป็นจำนวนมากอาจทำให้หัวใจทำงานหนักและเกิดภาวะหัวใจวาย
การดูแลตัวเองหลังผ่าตัดข้อเข่าเสื่อม
เพื่อที่จะทำให้ร่างกายหลังผ่าตัดข้อเข่าเสื่อมสามารถฟื้นตัวได้อย่างมีประสิทธิภาพสุด การดูแลเอาใจใส่ต่อสุขภาพจึงเป็นเรื่องที่สำคัญอย่างมาก โดยการดูแลตนเองหลังการผ่าตัดข้อเข่าเสื่อม จะสรุปอย่างคร่าวๆตามวิธีได้ ดังต่อไปนี้
- ใช้ประคบเย็นบริเวณแผลผ่าตัด
- ใช้หมอนหนุนช่วงขาข้างที่ทำการผ่าตัดให้สูงกว่าปกติ ซึ่งจะช่วยลดอาการบวม
- กระดกปลายเท้าขึ้น-ลง เพื่อเป็นการกระตุ้นการหมุนเวียนเลือด และยังสามารถช่วยลดอาการบวมบริเวณปลายเท้า
- ในการหัดเดินและการยืนพยายามใช้ด้วยอุปกรณ์ช่วยพยุง (Walker)
- ทำกายภาพบำบัดเป็นระยะเวลาตามคำแนะนำของนักกายภาพอย่างเคร่งครัด
- การเข้าห้องน้ำ ต้องมีความระมัดระวังเป็นอย่างมาก เพราะสามารถเกิดอุบัติเหตุสามารถเกิดได้ง่ายดายในระหว่างเข้าห้องน้ำ
ผ่าตัดข้อเข่าเสื่อม ที่ไหนดี
เมื่อต้องการที่จะเลือกโรงพยาบาลสำหรับเข้ารับการผ่าตัดข้อเข่าเสื่อม ควรคำนึงถึงโรงพยาบาลที่สามารถตอบโจทย์ได้ทุกๆด้านในที่เดียว ไม่ว่าจะเป็นมาตรฐานการรักษาที่น่าเชื่อถือ บุคลากรทางการแพทย์ที่มีความสามารถและมากประสบการณ์ อุปกรณ์ทางการแพทย์ครบครันทันสมัย และควรเป็นโรงพยาบาลที่มีผลงานน่าเชื่อถือในการรักษาอาการข้อเข่าเสื่อม แต่อีกปัจจัยสำคัญอีกเรื่องคือค่ารักษาสำหรับการผ่าตัดของแต่ละโรงพยาบาลว่ามีความเหมาะสมต่อเราแค่ไหน
ผ่าตัดข้อเข่าเสื่อม ราคาเท่าไหร่
ราคาของการผ่าตัดข้อเข่าเสื่อม จะขึ้นอยู่กับความเสียหายของข้อเข่า ว่ามีความเสียหายมากน้อยแค่ไหน และต้องเปลี่ยนเป็นข้อเข่าเทียมบางส่วนหรือเปลี่ยนเป็นข้อเข่าเทียมทั้งหมด โดยราคาจะอยู่ระหว่าง 230,000-290,700 บาท
FAQs การผ่าตัดข้อเข่าเสื่อม
ข้อเข่าเทียม มีอายุการใช้งานยาวนานเท่าไหร่
อายุการใช้งานข้อเข่าเทียมโดยเฉลี่ยภายใน 10 ปี ประมาณ 2-5% และมากกว่า 20 ปี ประมาณ 80% แต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายๆอย่าง
ผ่าตัดข้อเข่าเสื่อม กี่วันถึงจะเดินได้
โดยปกติใช้เวลาหลังผ่าตัด 2 – 6 เดือนจึงจะสามารถเดินได้เป็นปกติโดยไม่ต้องใช้ไม้เท้าช่วยพยุง
ผ่าตัดข้อเข่าเสื่อม ต้องพักฟื้นกี่วัน
ประมาณ 5 – 10 วันหากได้รับการทำกายภาพ และพักผ่อนอย่างเพียงพอก็สามารถกลับไปพักฟื้นที่บ้านต่อได้
ข้อสรุป
วิธีการรักษาด้วยการผ่าตัดอาจเป็นวิธีที่หลายคนยังรู้สึกไม่พร้อม จนปล่อยละเลยให้อาการจากเจ็บปวดเพียงเล็กน้อยจนอาการอาการข้อเข่าเสื่อมรุนแรง ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่ควรทำเป็นอย่างมาก เพราะอาการข้อเข่าเสื่อมจะส่งผลโดยตรงต่อการใช้ชีวิตประจำวัน ดังนั้นเมื่อมีอาการควรเข้ารับการปรึกษากับแพทย์แต่เนิ่นๆ ไม่ควรผลัดไปเรื่อย เพื่อที่จะไม่ให้อาการนั้นลุกลามจนก่อผลเสียทั้งร่างกายและเวลา