ดวงตา เป็นหนึ่งในอวัยวะที่สำคัญมากสำหรับร่างกายของเรามาก หากไม่มีตาก็จะไม่สามารถมองเห็นสิ่งต่าง ๆ ได้ ดังนั้น จึงควรรักษาตาให้สามารถมองเห็นได้ตลอด แต่ในบางครั้งสถานการณ์ที่ไม่คาดฝันก็เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นอุบัติเหตุ หรือจากการใช้ชีวิตประจำวัน ทำให้ร่างกายเกิดความเปลี่ยนแปลง ตาก็อาจจะมีโอกาสมีการมองเห็นผิดปกติด้วยเช่นกัน รวมถึงต้อเนื้อก็นับว่าเป็นสิ่งผิดปกติที่เกิดขึ้นบนตาของเรา โดยตัวต้อเนื้อนั้น มีอาการอย่างไร อันตรายมากไหม จำเป็นต้องเข้ารับการผ่าตัดต้อเนื้อหรือเปล่า มาค้นหาคำตอบด้วยกัน
การผ่าตัดต้อเนื้อ (Pterygium Excision)
การผ่าตัดต้อเนื้อ(Pterygium Excision) เป็นการผ่าตัดเพื่อช่วยทำให้ดวงตาสามารถกลับมามองเห็นได้ชัดอีกครั้ง โดยต้อเนื้อจะเป็นผังผืดบนเยื่อบุตาที่คอยบดบังการมองเห็นของเรา ทำให้มองเห็นไม่ชัด หรือมัว
ต้อเนื้อ (Pterygium) คืออะไร
ต้อเนื้อ (Ptherygium) คือ ผังผืดของเยื่อบุตาที่มีการอักเสบ มีลักษณะเป็นรูปสามเหลี่ยมสีแดงที่ยื่นจากขอบตาไปยังกระจกตาหรือตาดำ ในปัจจุบัน ยังไม่สามารถระบุสาเหตุที่ทำให้เป็นต้อเนื้อได้ แต่ส่วนใหญ่ต้อเนื้อมักเกิดจากได้รับรังสีอัลตราไวโอเลต(UV)จากดวงอาทิตย์ รวมถึงลม ควัน ฝุ่น สารเคมีและสารชนิดอื่น ๆ ที่เป็นเหตุทำให้เยื่อบุตาขาวเกิดการระคายเคืองแล้วไปกระตุ้นให้เกิดผังผืด ในระยะแรกจะเรียกว่า ต้อลม แต่เมื่อผังผืดลามไปส่วนของตาดำ จะเรียกว่า ต้อเนื้อ โดยส่วนมากจะพบผู้ที่เป็นภาวะต้อเนื้อในกลุ่มผู้ที่ทำงานกลางแจ้ง
สัญญาณและอาการของต้อเนื้อ
เมื่อสายตาของคนเราต้องเผชิญกับแสงแดดที่รังสี UV อย่างต่อเนื่องและเป็นประจำทุกวัน จึงทำให้เกิดการอักเสบและเกิดความผิดปกติที่เยื่อบุตา แต่สำหรับบอาการเริ่มต้นของต้อเนื้ออาจเป็นการระคายเคืองตา คันหรือรู้สึกเจ็บตาซึ่งอาจไม่ทำให้คิดว่าเป็นอาการเริ่มต้นของโรคต้อเนื้อ โดยสัญญาณและอาการของต้อเนื้อมีดังนี้
- การอักเสบที่ตาอย่างไม่มีที่ท่าว่าจะทุเลาลง ตาแดง และรู้สึกเหมือนมีผงเข้าตาอยู่ตลอดเวลา
- เริ่มเห็นลักษณะของเนื้อพังผืดนูนออกมาบริเวณหัวตาและเริ่มลุกลามเข้ามายังภายในตาดำ
- ประสิทธิภาพในการมองเห็นเริ่มลดลง มองแล้วเป็นภาพเลือนลาง ไม่ชัดเจนเหมือนแต่ก่อนเพราะเนื้อพังผิดเริ่มบดบังการมองเห็น
- อาจเกิดอาการสายตาเอียงได้ เนื่องจากต้อเนื้อดึงกระจกตา ทำให้กระจกตามีความโค้งไม่เท่ากัน
ต้องคอยหมั่นสังเกตความผิดปกติของดวงตาเราอยู่สม่ำเสมอ ไม่ควรปล่อยปะละเลยจนเริ่มมีอาการที่หนักขึ้น ควรรีบพบแพทย์เพื่อเข้ารับการรักษาตั้งแต่อาการยังไม่รุนแรงเพื่อไม่ต้องเข้าสู่ถึงขั้นตอนการผ่าตัดต้อเนื้อ
ถ้าปล่อยต้อเนื้อทิ้งไว้จะมีอันตรายไหม จำเป็นต้องผ่าไหม
ในช่วงระยะแรกการปล่อยต้อเนื้อทิ้งไว้ไม่ได้ส่งผลอันตรายอะไรกับดวงตามากนัก โดยจะมีอาการรู้สึกระคายเคืองที่ตา ตาแดง แสบตา รวมถึงทำให้ดวงตาดูไม่สวย เป็นต้น โดยการรักษาจะเป็นการหยอดยาเพื่อช่วยลดอาการอีกเสบเท่านั้น แต่ถ้าหากปล่อยทิ้งไว้จะส่งผลต่อการมองเห็นจึงควรเข้าพบแพทย์เพื่อเข้ารับการรักษา
ทำไมต้องผ่าตัดต้อเนื้อ
ในระยะแรกที่มีอาการไม่มาก จึงไม่จำเป็นต้องผ่าตัดต้อเนื้อ แต่ถ้าหากปล่อยต้อเนื้อเป็นระยะเวลานานโดยไม่ได้รับการรักษา จะส่งผลต่อการมองเห็นทำให้ตามัว ในกรณีที่ต้อเนื้อลุกลามมากอาจทำให้เกิดอาการติดเชื้อ เป็นแผลเป็นที่กระจกตาและส่งผลทำให้การมองเห็นแย่ลงกว่าเดิม จึงมีความจำเป็นที่จะต้องผ่าตัดต้อเนื้อออก เนื่องจากปัจจุบันยังไม่มียาหยอดตาที่สามารถรักษาต้อเนื้อให้หายเป็นปกติได้
การผ่าตัดต้อเนื้อมี 2 วิธี
การรักษาโดยผ่าตัดต้อเนื้อ แบ่งออกเป็น 2 วิธี โดยแต่ละวิธีมีจุดรักษาและผลลัพธ์ที่แตกต่างกัน ดังนี้
ผ่าตัดลอกต้อเนื้อแบบปกติ
การผ่าตัดลอกต้อเนื้อแบบปกติ เป็นการผ่าตัดโดยลอกต้อเนื้อออกจากกระจกตา แล้วในบริเวณที่ลอกต้อเนื้อออกก็จะมีเนื้อเยื่องอกกลับมาอีกครั้ง โดยการผ่าตัดจะใช้เวลาไม่มากแต่การรักษาด้วยวิธีนี้มีโอกาสที่จะกลับมาเป็นต้อเนื้ออีกครั้งสูงกว่าการผ่าตัดเพื่อปลูกเนื้อเยื่อ
ผ่าตัดลอกต้อเนื้อพร้อมกับปลูกเนื้อเยื่อ
การผ่าตัดลอกต้อเนื้อพร้อมกับปลูกเนื้อเยื่อ เป็นการผ่าตัดรักษาโดยนำเยื่อหุ้มรกหรือเยื่อบุตาขาวของผู้ป่วยมาปลูก โดยการผ่าตัดจะใช้เวลาค่อนข้างนาน แต่การรักษาด้วยวิธีนี้มีโอกาสที่จะกลับมาเป็นต้อเนื้ออีกครั้งน้อยมาก
ทางเลือกในการรักษาอื่นๆ นอกจากผ่าตัดต้อเนื้อ
แนวทางการรักษาต้อเนื้อขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการ การรักษาต้อเนื้ออย่างดีและเหมาะสมจะขึ้นอยู่กับขนาดและตำแหน่งของเนื้อและความรุนแรงของอาการของผู้ป่วยและผลกระทบต่อการมองเห็น ในกรณีที่ไม่รุนแรง นอกเหนือจากการผ่าตัดต้อเนื้อที่เป็นวิธีรักษาต้อเนื้อที่แพร่หลายแล้ว ยังมีแนวทางรักษาอื่นๆ ให้เป็นหนทางการรักษาที่เหมาะสมกับอาการของตนเอง
Lubricating Eye Drops
น้ำตาเทียม หรือยาหยอดตาช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นให้กับดวงตา บรรเทาอาการตาแห้ง ลดอาการคัน แสบ จากการโดนลม แสงแดด รังสีUV ที่เป็นสาเหตุของต้อเนื้ออาอาจก่อให้เกิดรวมถึงช่วยละลายคราบสกปรกที่อาจเกาะอยู่ในตาได้ด้วย แต่เป็นการช่วยบรรเทาเพียงชั่วคราวเท่านั้น
Topical Medications
ในบางกรณี แพทย์อาจสั่งยาป้ายตาหรือขี้ผึ้งต้านการอักเสบเพื่อลดการอักเสบและควบคุมอาการ หากเริ่มมีต้อเนื้อเล็กน้อยหรือไม่รุนแรง อาจมีคำแนะนำให้ใช้ยาป้ายตาบางชนิดเพื่อช่วยลดอาการหรือควบคุมการเจริญเติบโตของต้อเนื้อได้บ้าง
สำหรับต้อเนื้อชนิดเล็กน้อยที่ไม่รุนแรง อย่างไรก็ตาม การใช้ยาป้ายตาหรือวิธีการรักษาเฉพาะที่เหมาะสมจะต้องพิจารณาจากแพทย์ที่ผู้เชี่ยวชาญด้านตา ผู้เชี่ยวชาญจะสามารถแนะนำยาและวิธีการรักษาที่เหมาะสมต่อสภาวะของต้อเนื้อของคุณได้แบบเป็นทางการโดยเฉพาะ
Surgical Removal (Pterygium Excision)
กระบวนการทางการแพทย์เพื่อผ่าตัดต้อเนื้อออกจากผิวหน้าของตา เป็นการผ่าตัดที่ส่วนหน้าของตา เนื่องจากต้อเนื้อเป็นการเจริญเติบโตเกิดจากเนื้อเยื่อบนผิวหน้าของตา และอาจขยายขนาดบางส่วนไปในตาดำ ส่งผลให้เกิดอาการอักเสบ ระคายเคือง และอาจบดบังการมองเห็น
โดยหลังจากทำการผ่าตัดต้อเนื้อออกแล้ว แพทย์จะทำการปิดแผลด้วยการเย็บหรือใช้วัสดุปิดแผล เพื่อให้แผลหายสมบูรณ์และลดความเสี่ยงของการเจริญเติบโตซ้ำของต้อเนื้อ
ข้อดี – ข้อจำกัดของการผ่าตัดต้อเนื้อ
เมื่อต้องการผ่าตัดต้อเนื้อเพื่อรักษาสภาพดวงตา ผู้ป่วยควรทราบถึงข้อดีรวมถึงข้อจำกัดของการผ่าตัด ดังนี้
ข้อดีของการผ่าตัดต้อเนื้อ
- สามารถลดอาการระคายเคืองตา เจ็บตาที่เกิดบ่อย ๆ
- รักษาต้อเนื้อที่เกิดขึ้นรุนแรง โดยไม่สามารถทุเลาอาการได้ด้วยยาหยอดตา
- ทำให้ดวงตากลับมามีการมองเห็นที่ชัดเจน
- ทำให้ดวงตามีความสวยงาม
ข้อจำกัดของการผ่าตัดต้อเนื้อ
- การผ่าตัดแบบเย็บแผล จะต้องรอเวลาตัดไหมประมาณ 2 สัปดาห์ อาจทำให้เกิดอาการระคายเคืองบริเวณที่ผ่าตัด
- หลังจากการผ่าตัด หากดูแลรักษาแผลไม่ดี อาจจะทำให้เกิดการติดเชื้อ รวมถึงมีโอกาสที่จะเกิดต้อเนื้อซ้ำอีก
ข้อปฏิบัติก่อนเข้ารับการผ่าตัด
ก่อนเข้ารับการผ่าตัดต้อเนื้อ ผู้ป่วยควรเตรียมตัวเพื่อให้การผ่าตัดเป็นไปได้อย่างปลอดภัย ดังนี้
- สำหรับผู้ที่รับประทานยาละลายลิ่มเลือด ให้งดยาอย่างน้อยเป็นเวลา 1 สัปดาห์
- ไม่ควรให้ตาแห้งจนเกินไป หากรู้สึกตาแห้งให้หยอดยาหยอดตา
- ทำความสะอาดใบหน้า ดวงตา และสระผมก่อนเข้ารับการผ่าตัด
- ไม่แต่งหน้าในวันที่เข้ารับการผ่าตัด
- ควรมาถึงโรงพยาบาลอย่างน้อย 3 ชั่วโมงเพื่อเตรียมตัวเข้ารับผ่าตัด
- ไม่จำเป็นต้องงดน้ำหรืออาหารก่อนการผ่าตัด ยกเว้นกรณีที่ผ่าตัดโดยการดมยาสลบ ให้งดน้ำและอาการอย่างต่ำ 6 ชั่วโมง
ขั้นตอนการผ่าตัดต้อเนื้อ
ขั้นตอนการผ่าตัดลอกต้อเนื้อแบบปกติ
- ฉีดยาชา
- ลอกต้อเนื้อที่บดบังตาดำ และเยื่อตาขาวออก
ขั้นตอนการผ่าตัดลอกต้อเนื้อพร้อมปลูกเนื้อเยื่อ
- ฉีดยาชา
- ตัดเนื้อเยื่อที่บดบังดวงตาดำออก
- นำเยื่อหุ้มรกบุตาจากจุดหนึ่งมาเย็บปิดบริเวณที่ตัดเนื้อเยื่อออกเพื่อป้องกันการเกิดเยื่อซ้ำ
ข้อควรระวังหลังผ่าตัดต้อเนื้อ
เมื่อการผ่าตัดต้อเนื้อเสร็จสิ้นแล้ว ขั้นตอนต่อไปคือการดูแลตนเองหลังจากผ่าตัด ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญและควรเอาใจใส่อย่างยิ่ง เนื่องจากการพักฟื้นที่ดีและถูกต้องตามคำแนะนำของแพทย์จะช่วยให้ดวงตาของเรากลับมาเป็นปกติเช่นเดิม และป้องกันการติดเชื้อ อาการแทรกซ้อนหลังผ่าตัด ส่วนข้อควรระวังหลังผ่าตัดต้อเนื้อมีดังนี้
- หลังจากครบ 48 ชั่วโมงจากการผ่าตัดสามารถเอาที่ปิดตาออกได้และหมั่นหยอดตาเพื่อไม่ให้ตาแห้ง
- ระมัดระวังไม่ให้สิ่งสกปรกเข้าดาทั้งฝุ่นและน้ำ เพราะอาจเกิดตาอักเสบตาได้
- ไม่ควรนอนในท่าหน้าคว่ำ (ในบแต่สามารถนอนหงายหรือตะแคงไปด้านที่ไม่ได้ทำผ่าตัด
- ควรหลีกเลี่ยงการโดนแสงแดดโดยตรง หากเป็นผู้ที่ต้องทำงานกลางแจ้งควรหยุดเป็นระยะเวลา 3 สัปดาห์และควรสวมใส่แว่นกันแดดเป็นประจำ
- ควรระมัดระวังอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นได้ เช่น การสะดุดล้ม การกระทำที่จะทำให้เกิดการกระแทก เพราะอาจกระทบกระเทือนไปถึงดวงตา
- หลักเลี่ยงการเพ่งหน้าจอโทรทัศน์ โทรศัพท์ หรือคอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน ๆ ควรพักสายตาเป็นระยะ ๆ
การดูแลตัวเองหลังการผ่าตัดต้อเนื้อ
- ห้ามให้ตาโดนน้ำเป็นเวลา 7 วัน
- ห้ามขยี้ตาและห้ามนำสิ่งต่าง ๆ มาล้างหรือสัมผัสดวงตา
- ในช่วง 1-2 วันแรกหลังการผ่าตัด แพทย์จะให้ปิดตาเพื่อให้แผลที่กระจกตาสมานตัวเร็วขึ้น และจะมีอาการปวดที่ตามาก ให้รับประทานยาแก้ปวด
- เมื่อแผลที่กระจกตาปิดแล้ว ให้เริ่มหยอดยาปฏิชีวนะผสมสเตียรอยด์ เช่น Tobradex และใช้น้ำตาเทียมร่วมด้วยเพื่อช่วยให้แผลหายเร็วขึ้น
- หลีกเลี่ยงสถานที่ที่มีฝุ่น แดด ควัน รวมถึงสถานที่ที่มีสิ่งสกปรกเพื่อป้องกันการเกิดซ้ำ
- เข้าพบแพทย์ตามนัด เพื่อตรวจสอบสภาพแผลหลังการผ่าตัด หรือถ้าหากเกิดอาการผิกปกติควรรีบเข้าพบแพทย์ทันที
อาการข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นหลังผ่าตัด
หลังจากการผ่าตัด ในบางครั้งอาจมีอาการข้างเคียงเกิดขึ้นโดยไม่คาดคิด ซึ่งอาการข้างเคียงที่มักพบ มีดังนี้
- การติดเขื้อ มีเลือดออกบริเวณดวงตา
- เยื่อหุ้มรก หรือเยื่อบุตาที่นำมาเย็บปิดแผลหลุด
- เกิดแผลเป็นที่กระจกตา
- เห็นภาพซ้อน เนื่องจากผังผืดดึงกล้ามเนื้อตาทำให้ไม่สามารถลอกตาได้ตามปกติ
- การเกิดต้อเนื้อซ้ำ เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้โดยเฉพาะต้อเนื้อที่มีลักษณะนูนหนา มีเส้นเลือดมาก ซึ่งเมื่อเป็นซ้ำ กรณีที่ผ่าตัดอีกครั้งอาจมีการใช้ยาบางชนิดในการผ่าตัดเพื่อป้องกันการเกิดต้อเนื้อซ้ำ
ผ่าตัดต้อเนื้อต้องเตรียมค่าใช้จ่ายเท่าไหร่
ในการผ่าตัดต้อเนื้อ ราคาจะแล้วแต่สถานที่ที่เข้ารับการรักษา โดยเฉลี่ยอยู่ที่ 17000-35000 บาท ขึ้นอยู่กับวัสดุ อุปกรณ์ ประเภทของการผ่าตัดที่เลือก รวมถึงจำนวนข้างที่ต้องการผ่าตัด เป็นต้น ดังนั้น จึงควรศึกษาข้อมูลของแต่สถานที่ก่อนเข้ารับการรักษา
ผ่าตัดลอกต้อเนื้อที่ไหนดี
เมื่อต้องการเข้ารับการผ่าตัดต้อเนื้อ สิ่งที่ควรพิจารณาเพื่อความปลอดภัยในการผ่าตัด ก็คือ สถานที่ที่เลือกเข้ารับผ่าตัด โดยควรหาข้อมูลว่าสถานที่พยาบาลมีความสะอาด ปลอดภัยหรือไม่ และควรดูว่ามีจักษุแพทย์ที่มีความสามารถและประสบการณ์ในการผ่าตัดเพื่อให้การรักษาเป็นไปได้อย่างปลอดภัย
FAQ ผ่าตัดลอกต้อเนื้อ
ผ่าตัดต้อเนื้อ พักฟื้นกี่วัน
หลังจากผ่าตัดต้อเนื้อ สามารถกลับบ้านได้เลย ไม่จำเป็นต้องนอนพักฟื้นที่โรงพยาบาล แต่จะมีระยะเวลาพักฟื้นตาประมาณ 2 สัปดาห์ โดยห้ามให้ดวงตาสัมผัสน้ำเป็นระยะเวลา 7 วัน และห้ามขยี้ตาเป็นระยะเวลา 14 วัน เพื่อป้องกันไม่ให้เยื่อหลุด หลังจากนั้นจึงสามารถใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างปกติ แต่ก็ควรหลีกเลี่ยงสถานที่ที่มีฝุ่น หรือแสงแดดเพื่อป้องกันการเกิดซ้ำ
ผ่าตัดลอกต้อเนื้อ เจ็บไหม
จะมีการฉีดยาชาไว้ก่อนผ่าตัด ทำให้ระหว่างการผ่าตัดจะไม่มีอาการเจ็บเลย แต่หลังจากที่ยาชาหมดฤทธิ์ จะมีอาการเจ็บตา รวมถึงอาการระคายเคืองตา
ข้อสรุป
ต้อเนื้อ เป็นอาการที่ไม่ได้มีความรุนแรงมาก แต่จะส่งผลกระทบถึงการมองเห็นหากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้อง ดังนั้นหากพบว่าอาการเริ่มมีความรุนแรงมากขึ้น จึงควรพิจารณาการผ่าตัดหรือลอกต้อเนื้อเป็นทางเลือก เพื่อให้ดวงตามีการมองเห็นได้ชัด และควรดูแลสุขภาพตัวเองอย่างสม่ำเสมอเพื่อให้ส่วนต่าง ๆ ของร่างกายรวมถึงตามีความแข็งแรง