ในปัจจุบันอีกหนึ่งปัญหาที่เราพบสามารถเจอได้เกี่ยวกับผม คือ ปัญหาผมร่วง ผมบาง ศีรษะล้าน ซึ่งส่งผลต่อความมั่นใจในการใช้ชีวิต เพราะฉะนั้นต้องหาวิธีแก้เพื่อเสริมความมั่นใจ ซึ่งวิธีที่นิยมคือการใช้ยาปลูกผมเพื่อช่วยลดปัญหา แต่สิ่งที่หลายคนสงสัยคือ วิธีนี้มีผลข้างเคียงอย่างไรบ้าง เห็นผลได้จริงหรือ ในบทความนี้เราจะมาหาคำตอบกัน
ยาปลูกผมคืออะไร
ยาปลูกผม คือยาที่ใช้ในการแก้ปัญหาผมร่วง ผมบาง มีส่วนผสมที่เป็นประโยชน์ต่อเส้นผม ถ้าหากยาที่ใช้ออกฤทธิ์ได้ดีจะทำให้เส้นผมสุขภาพแข็งแรงขึ้น ก็จะแก้ปัญหาได้ดีเส้นผมที่สร้างขึ้นมาใหม่จะมีความแข็งแรงและหนาขึ้นแบบเห็นได้ชัดเจน นอกจากนี้ยังป้องกันเส้นผมอื่น ๆ ไม่ให้หลุดร่วงอีกด้วย
แต่ถ้ากลัวเรื่องการกินยาปลูกผม ก็ยังมีวิธีการปลูกผมแบบใหม่ ที่ไม่ต้องกินยาเป็นสเต็มเซลล์สกัดจากรากผมที่แข็งแรง มาฉีดรักษาบริเวณที่มีผมร่วง ผมบาง ตัวสเต็มเซลล์จะทำหน้าที่ยับยั้งฮอร์โมน DHT ผมจึงหยุดร่วง และยังกระตุ้นรูขุมขนบนหนังศีรษะให้กลับมาสร้างเส้นผมใหม่อีกครั้ง
อันตรายจากยาปลูกผมปลอม
สิ่งที่น่ากลัวและอาจจะอันตรายกว่าผลข้างเคียงของยาปลูกผม นั่นคือยาปลูกผมปลอมนั่นเอง ควรระมัดระวังเป็นอย่างยิ่ง ถึงแม้จะได้รับมาตรฐาน อย. แล้วก็ตาม แต่สมัยนี้การสวม อย. ปลอมก็มีอยู่ทั่วไป ดังนั้นก่อนตัดสินใจซื้อควรตรวจเช็กทุกครั้ง เพราะมีการทำของเลียนแบบและไม่ได้มาตรฐานออกมาขายมากมาย เราควรเลือกซื้อจากสถานที่ไว้ใจได้ เพื่อป้องกันยาปลูกผมปลอม หากเลือกผลิตภัณฑ์ของปลอมมาใช้ จะทำให้เกิดอันตรายได้ อันตรายจากยาปลูกผมปลอม ที่อาจจะเกิดขึ้นมีดังนี้
- อาการแพ้ ผิวหนังแดง หรือเกิดอาการระคายเคืองผิวขั้นรุนแรง
- เวียนศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน
- หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ
- แน่นหน้าอก หายใจไม่ออก
- ใช้ยาปลูกผมเป็นเวลานาน อาจทำให้เสื่อมสมรรถภาพทางเพศได้
- หากในยาปลูกผมมีสารที่เป็นอันตรายต่อร่างกายเจือปน จะส่งผลต่อสุขภาพในระยะยาวได้
ยาปลูกผมมีกี่ชนิด
แนะนำยาปลูกผมในปัจจุบันที่เป็นที่นิยมและติดตลาดมีอยู่ด้วยกับ 2 ชนิด
ฟีแนสเตอร์ไรด์
ยาปลูกผมฟิแนสเทอไรด์ คือยาแก้ผมร่วง ผมบาง เป็นยาปลูกผมผู้ชายชนิดเม็ด ซึ่งจะออกฤทธิ์ลดเอนไซม์ที่ช่วยเปลี่ยนฮอร์โมนเพศชายเทสโทสเตอโรน (Testosterone) ให้กลายเป็นฮอร์โมน DHT ฮอร์โมนที่เป็นต้นเหตุหลักของอาการผมร่วงหัวล้านในเพศชาย ใช้ไม่ได้ในเพศหญิงเพราะมีผลข้างเคียงมาก และไม่เห็นผล ซึ่งการใช้ยาจะเริ่มเห็นผลเมื่อใช้ 4 – 6 เดือนขึ้นไป แต่จะเห็นความเปลี่ยนแปลงชัดเจนเมื่อใช้ 1 ปีขึ้นไป ข้อดีของยาที่มีส่วนผสมของฟิแนสเทอไรด์ สามารถลดปริมาณฮอร์โมน DHT ได้มากถึง 60% ทำให้ผมงอกใหม่ได้ดีขึ้น การหลุดร่วงน้อยลง รักษาได้ทั้งผมร่วงจากฮอร์โมน DHT และผมร่วงจากกรรมพันธุ์ แต่ก็รักษาได้เพียงระยะเริ่มต้นและปานกลางเท่านั้น หากหัวล้านและรากผมฝ่อไปแล้ว จะไม่สามารถรักษาได้ ข้อเสีย ในบรรดาผู้ใช้ยาไฟแนสเตอรายด์ในการรักษา มี 2-3% ที่อาจมีอาการเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ ปริมาณน้ำอสุจิลดลงได้
ไมนอกซิดิล มีแบบกินและแบบทา
ยาไมน็อกซิดิล (Minoxidil) เป็นยาปลูกผมอีกชนิดหนึ่งที่ผู้เชี่ยวชาญด้านเส้นผมแนะนำ เพราะตัวยานี้ช่วยให้เกิดการคลายตัวของหลอดเลือดแดงเล็กน้อย ทำให้เลือดไปเลี้ยงเส้นผมได้ดี จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้รากผมและเส้นผมแข็งแรง “ยาไมน็อกซิดิล” ที่เรารู้จักกันแบ่ง ออกเป็น 2 รูปแบบ ได้แก่
- ชนิดเม็ดใช้รับประทาน
- ชนิดน้ำใช้ทาบริเวณที่มีปัญหาผมบาง
จะเห็นผลเทียบเท่ากับชนิดทา ตัวยาชนิดนี้ส่วนใหญ่แพทย์จะจ่ายควบคู่กับการปลูกผมถาวร อาการข้างเคียงของตัวยานี้จะเกี่ยวกับความดันเลือดและขนที่จะขึ้นในบริเวณอื่นตามร่างกาย เช่น บนใบหน้า ตามแขน ขา เป็นต้น โดยการกินยาปลูกผมไมนอกซิดิล (Minoxidil) แพทย์จะแนะให้ทานในขนาด 1 มก. ถึง 3 มก. รับประทานยาวันละ 1 ครั้งช่วงเวลาใดก็ได้ที่เราสะดวก ซึ่งบางคนอาจจะทานเยอะกว่านี้แล้วแต่แพทย์ประเมินอาการ โดยแพทย์จะจ่ายให้เฉพาะคนที่ไม่สามารถทานยาได้หรือไม่อยากทานยาจึงใช้เป็นวิธีทาแทน อาการข้างเคียงจะมีอาการระคายเคืองหรือเกิดรังแคในบริเวณที่ทา ถ้าใครมีผิวที่แห้งและแพ้ง่าย การทานยาตัวนี้ในรูปแบบเม็ดอาจจะดีกว่า ซึ่งแพทย์จะแนะนำเพียงแค่ฉีดหรือทายาไมน็อกซิดิลลงไปในบริเวณโคนผม สิ่งสำคัญ คือ พยายามให้โดนหนังศีรษะโดยตรงมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ และนวดวนจนกว่าตัวยาจะซึมเข้าสู่รูขุมขนและบริเวณรากผม ตัวยาจะออกฤทธิ์ช่วยขยายหลอดเลือดบริเวณหนังศีรษะทำให้เลือดไหลเวียนได้ดีขึ้น ส่งผลให้สารอาหารนั้นมาหล่อเลี้ยงบริเวณรากผมได้ง่ายขึ้น ด้วยเหตุผลนี้เองจึงทำให้เส้นผมเติบโตแข็งแรง
ยาปลูกผมไม่เหมาะกับใคร
เราได้ทราบเกี่ยวกับยาปลูกผมคืออะไรแก้ปัญหาอะไรได้บ้าง มีกี่ประเภทแล้ว ต่อไปมาดูซิว่ายาปลูกผมที่ช่วยในเรื่องผมร่วง ผมบางให้กับหลาย ๆ คน แต่ก็ยังมีข้อจำกัดและไม่เหมาะกับบุคคลที่มีปัญหาดังต่อไปนี้
- ผู้ที่มีประวัติการแพ้ยา
- ผู้ที่เป็นโรคต่าง ๆ เช่นโรคไต โรคหัวใจ มีภาวะหัวใจล้มเหลว โรคหอบหืด โรคลมชัก และไมเกรน
- ผู้ที่มีปัญหาผมบาง หรือศีรษะล้านในระดับกลางไปจนถึงรุนแรง ควรใช้วิธีรักษาแบบอื่นเช่น การปลูกผมวิธีต่าง ๆ แทน
- ผู้ที่ศีรษะล้าน เซลล์ผมเสื่อมสภาพ รากผมตาย หรือไม่มีเซลล์รากผมที่สามารถงอกใหม่ได้แล้ว การกินยาปลูกผมทั้ง ๆ ที่ไม่มีเซลล์รากผมนั้น นอกจากจะไม่ส่งผลในแง่ของการรักษาใด ๆ ยังเสี่ยงต่อการเกิดผลข้างเคียงที่ไม่จำเป็นได้
- ผู้ที่กำลังจะเข้ารับการปลูกผม ในช่วงระยะเวลา 7 วัน
- ผู้หญิงที่กำลังตั้งครรภ์ เพราะยาปลูกผมส่งผลกระทบกับทารกในครรภ์ได้
สรุป
การใช้ยาปลูกผมทั้งแบบรับประทาน และแบบใช้ทาภายนอก โดยมี 2 ชนิด ได้แก่ ฟีแนสเตอร์ไรด์ และไมนอกซิดิล ซึ่งทั้งสองตัวยามีส่วนช่วยในการชะลอการหลุดร่วงของเส้นผม และทำให้เกิดการเติบโตของเส้นผมใหม่ อย่างไรก็ตามการใช้ยาปลูกผมควรอยู่ในการดูแลของแพทย์ และไม่ควรรับประทานยาปลูกผมปลอมเพราะอาจทำให้เกิดผลข้างเคียงที่อันตรายกับร่างกายได้
ขอบคุณข้อมูลจาก