สิวฮอร์โมน เกิดได้กับทุกเพศ ทุกวัย โดยสาเหตุนั้นเกิดจากความผันผวนของฮอร์โมนในร่างกาย ทำให้เกิดสิวฮอร์โมน ซึ่งอาจขึ้นได้ตามขุดต่างๆ บนร่างกาย ซึ่งหากสามารถทำความเข้าใจเกี่ยวกับลักษณะของสิวฮอร์โมน สาเหตุที่ทำให้เกิดสิวฮอร์โมน รู้วิธีป้องกันและ วิธีรักษาสิวฮอร์โมน ก็สามารถทำให้หายได้
สิวฮอร์โมนเป็นยังไง
สิวฮอร์โมนมีลักษณะคล้ายสิวอักเสบ ตุ่มแดงขนาดใหญ่ อาจมีอาการสิวเห่อขึ้นบริเวณรอบปาก คาง และแก้ม เมื่อเป็นแล้วก็ยังส่งผลให้รู้สึกปวดและเจ็บในบริเวณที่เป็นสิวอีกด้วย สิวฮอร์โมนจะเกิดขึ้นในช่วงระยะเวลาเดิมๆ ซ้ำๆ เป็นประจำ เช่น สิวประจำเดือน ที่มักเกิดขึ้นก่อน หรือ หลังมีประจำเดือน หรือช่วงที่มีความเครียดสะสม ฮอร์โมนร่างกายก็จะแปรปรวนจนเกิดเป็นสิวขึ้นได้
แต่สิวฮอร์โมนนั้นสามารถเป็นได้ทั้งสิวอุดตัน และสิวอักเสบ ดังนั้นอาการที่แสดงออกของสิวฮอร์โมนนั้นจะปรากฎแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล สำหรับผู้ที่สงสัยว่าสิวอุดตัวเป็นยังไง สามารถอ่านบทความ อุดตันคืออะไร เพิ่มเติมได้ที่นี่
สิวฮอร์โมน เกิดจากอะไร
สิวฮอร์โมน เกิดจากปริมาณฮอร์โมนที่ไม่สมดุลภายในร่างกาย ยกตัวอย่างเช่น ในช่วงวัยรุ่นร่างกายจะผลิตฮอร์โมนเพศชาย (Androgens) มากขึ้น หรือที่เรียกว่าฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน ที่เป็นตัวกระตุ้นให้ผลิตไขมันมากขึ้นจนเกิดเป็นส่วนเกิน ใบหน้าก็จะมีความมันเยิ้มมากยิ่งขึ้น ที่เป็นสาเหตุหลักในการเกิดสิว
นอกเหนือจากปัจจัยฮอร์โมนไม่สมดุลภายในร่างกายที่อาจก่อนให้เกิดสิวฮอร์โมนนั้น ก็ยังมีปัจจัยที่จะช่วยกระตุ้นสิวฮอร์โมนจากภายนอก เช่นกัน เช่น แสงแดด ฝุ่นควันและมลภาวะต่าง ๆ เป็นต้น
บริเวณที่สามารถเกิดสิวฮอร์โมนได้
ตำแหน่งสิวฮอร์โมนสามารถเกิดขึ้นได้หลายจุดในร่างกาย ซึ่งปัจจัยที่เกิดก็มีความคล้ายกัน คือ เกิดจากการผันผวนของฮอร์โมน โดยจุดที่สามารถเกิดสิวฮอร์โมนได้ มีดังนี้
ใบหน้า
สิวฮอร์โมนมักจะเกิดขึ้นบริเวณรอบริมฝีปาก คาง แนวสันกราม สำหรับเพศหญิงเเล้วส่วนใหญ่จะเป็นมากในช่วงก่อนมีประจำเดือนในเพศหญิง ช่วงตั้งครรภ์ หรือหลังคลอดบุตรแล้ว
ส่วนอื่นๆ เช่น ลำคอ แผ่นหลัง และหน้าอก
มักจะพบสิวฮอร์โมนในเพศชายในช่วงเริ่มต้นเข้าสู่วัยรุ่น ตามบริเวณลำคอ แผ่นหลัง และหน้าอก สาเหตุของการเกิดสิวฮอร์โมนนั้นมักมาจากความเครียด ฮอร์โมน การกินของทอด อากาศร้อน แพ้เหงื่อ
การรักษาสิวฮอร์โมน
สิวฮอร์โมนนั้น สามารถรักษาให้หายขาดได้ หากว่ามีการดูแลรักษาสิวฮอร์โมนได้อย่างถูกวิธี จากแพทย์ที่มีความชำนาญและเชี่ยวชาญด้านผิวหนังโดยตรง แต่ในระยะแรกก็ยังสามารถรักษาด้วยวิธีแบบธรรมชาติก่อน หากได้ผลลัพธ์ไม่เป็นที่น่าพอใจ ก็ควรปรึกษาแพทย์เพื่อวางแผนหาวิธีรักษาสิวฮอร์โมนในขั้นตอนต่อ ๆ ไป
รักษาแบบธรรมชาติ
วิธีรักษาแบบธรรมชาตินั้น ก็คือ การพักผ่อนให้เพียงพอ เลี่ยงความเครียด และไม่กินอาหารหวาน มันดื่มน้ำสะอาด และงดกินของทอด ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ให้ทำความสะอาดและบำรุงผิวหน้าให้คงความชุ่มชื้นอยู่เสมอ ไม่แคะ แกะ เกา หรือบีบสิวเพื่อลดการอักเสบและอุดตันได้
กินยา เพื่อคุมสิวฮอร์โมนที่ไม่ใช่ยาคุมกำเนิด
วิธีนี้มีประสิทธิภาพดีสามารถลดสิวได้ประมาณ 50-100% ขึ้นกับแต่ละบุคคล ยาสามารถช่วยลดความมัน และลดโอกาสการปะทุของสิวอักเสบได้เป็นอย่างดี หลังจากรักษามาประมาณ 3 เดือน และยังไม่เป็นอันตรายแม้จะกินยาอย่างต่อเนื่อง
เลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีความอ่อนโยนต่อผิว
ควรพยายามเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ดูแลผิวหน้าที่มีสูตรอ่อนโยนต่อผิว ให้หลีกเลี่ยงจำพวกสาร สเตียรอยด์ไฮโดวควิโนน สารปรอท เพราะจะก่อให้เกิดอาการแพ้ที่ผิวหน้ามากกว่าเดิม สิวที่หายตอนแรกก็จะกลับมาใหม่ได้
กดสิวอุดตันให้ออกจากผิว
โดยส่วนใหญ่สิวที่ต้องกดออกนั้น จะเป็นสิวอักเสบร่วมกับสิวอุดตัน แพทย์อาจต้องเปิดหัวสิวอุดตันเพื่อให้การกดสิวออกนั้นง่ายขึ้น และไม่ทำให้ผิวอักเสบมากขึ้นอีกด้วย
ฉายแสงเลเซอร์ฆ่าเชื้อสิว
เป็นเทคโนโลยีฉายแสงที่ช่วยให้ผิวแข็งแรงยิ่งขึ้น สามารถลดการอักเสบ และฆ่าเชื้อสิวได้เป็นอย่างดี วิธีนี้เหมาะกับสิวที่เป็นมานานและเรื้อรัง หากรักษาด้วยการฉายแสงอย่างสม่ำเสมอ จะช่วยฟื้นฟูให้ผิวแข็งแรงกระจ่างใสยิ่งขึ้น
สิวฮอร์โมนป้องกันได้อย่างไร
ถ้าได้ทำความเข้าใจเกี่ยวกับสิวฮอร์โมน และเตรียมป้องกันตั้งแต่แรกเริ่ม ก็จะสามารถรับมือกับสิวฮอร์โมนได้ดี วิธีรับมือนั้นก็ง่าย ๆ สามารถทำได้ด้วยตัวเอง เช่น
- ล้างหน้าให้สะอาดวันละ 2 ครั้ง ตอนเช้าและตอนเย็นด้วยสบู่หรือโฟมล้างหน้าสูตรอ่อนโยนและมีคุณสมบัติในการรักษาสิว
- ไม่ควรขัดหน้าในเวลาที่เป็นสิว เพื่อลดความระคายเคือง
- ให้ทายาที่ช่วยลดการอักเสบของสิว ทุกครั้งหลังล้างหน้า
- ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกินอาหาร และดูแลตนเองให้มากขึ้น กินผักและผลไม้สด ๆ อาหารที่มีกากใย วิตามินและสารต้านอนุมูลอิสระอยู่มาก เช่น ข้าวกล้อง
- ออกกำลังกายเป็นประจำและควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม
- จัดการความเครียดและนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ อย่างน้อย 8 ชั่วโมงต่อวัน
- ลดการสัมผัสปัจจัยกระตุ้นสิว เช่น แสงแดด ฝุ่น ควัน บุหรี่ แอลกอฮอล์ อาหารรสจัด เป็นต้น
- ขจัดของเสียออกจากร่างกายและผิวหนัง พร้อมทั้งเพิ่มคอลลาเจนเพื่อสร้างความแข็งแรงให้ผิว
คำถามที่พบบ่อย
สิวฮอร์โมนชายต่างกันไหม เมื่อเทียบกับสิวฮอร์โมนปกติ
สิวฮอร์โมนชาย เมื่อเทียบกับสิวฮอร์โมนปกติ นั้นไม่แตกต่างกัน เพราะเป็นสิวที่เกิดจากฮอร์โมนเพศชายที่เรียกว่า ฮอร์โมนแอนโดรเจ้นไปกระตุ้นให้ต่อมไขมันทำงานมาก จึงผลิตน้ำมันออกมาเยอะจนเกิดหน้ามัน เกิดการอุดตันของรูขุมขน และเมื่อเจอกับเซลล์ผิวเก่าที่ตายแล้วประกอบกับแบคทีเรีย จึงเกิดการอักเสบขึ้นเป็นสิวฮอร์โมน
สิวประจำเดือน มีจริงไหม
กว่า 85% ของผู้หญิงในวัยผู้ใหญ่ มีปัญหาสิวเมื่อมีประจำเดือน เพราะมีการผลิตฮอร์โมนแอนโดรเจน เช่น เทสโทสเตอโรนซึ่งเป็นตัวควบคุมการผลิตซีบัม (น้ำมันบนผิว) เพิ่มขึ้น หากว่าในร่างกายมีฮอร์โมน เช่น เอสโตรเจน และโปรเจสเตอโรนสูง ผิวก็จะผลิตซีบัมออกมามากขึ้น ทำให้เกิดการอุดตันของรูขุมขน บวกกับเซลล์ที่ตายแล้ว ทำให้แบคทีเรียสามารถเข้าไปในร่างกายได้ จึงเอื้อต่อการเกิดสิวประจำเดือน
สิวฮอร์โมนหายตอนไหน
สิวฮอร์โมนสามารถรักษาให้หายได้ เมื่อฮอร์โมนในร่างกายสมดุล วิธีที่ช่วยให้ฮอร์โมนร่างกายสมดุลนั้นทำได้ด้วยการดูแลรักษาความสะอาดของผิว ปกป้องผิวจากแสงแดด หลีกเลี่ยงความเครียด กินอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกายที่เหมาะสม และเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ดูแลผิวหน้าที่อ่อนโยน สร้างความชุ่มชื้น และฟื้นฟูความแข็งแรงให้กับใบหน้า
ระยะเวลาในการรักษาสิวฮอร์โมนจะแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล ทั้งนี้ขึ้นกับความรุนแรงของสิวฮอร์โมน และการเลือกวิธีรักษาสิวฮอร์โมน ระยะเวลาอาจเริ่มที่ 2-3 วัน จนถึง 2-3 สัปดาห์ก็เป็นได้
ข้อสรุป
สิวฮอร์โมนเป็นปัญหากวนใจของทั้งชายและหญิง โดยเฉพาะวัยรุ่น แต่ถ้าให้ความใส่ใจและเตรียมตัวรับมืออย่างดีตั้งแต่แรกเป็น และไม่ปล่อยให้ลุกลาม ก็จะไม่ส่งผลต่อบุคลิกภาพ และความมั่นใจในการดำเนินชีวิตประจำวัน แต่สิวฮอร์โมนเป็นปัญหาที่เกิดซ้ำได้เมื่อฮอร์โมนในร่างกายขาดสมดุล
หากว่าดูแลตนเองแล้วยังไม่ดีขึ้นหรือเริ่มลุกลาม แนะนำให้เข้ารับคำปรึกษาจากแพทย์ผิวหนัง เพื่อรักษาให้ตรงจุดของแต่ละบุคคล